จำนวนการดูหน้าเว็บรวม (เริ่มนับ พฤศจิกายน 2553)

วันพุธที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2560

กิจกรรมโรงเรียน อสม.(เขต รพ.สต.แร่) ประจำเดือนธันวาคม 2560

27 ธันวาคม 2560  ชมรม อสม.ตำบลแร่ ร่วมกับ รพ.สต.แร่ ได้จัดกิจกรรมโรงเรียน อสม.(เขต รพ.สต.แร่) ประจำเดือนธันวาคม 2560  ณ โรงเรียน อสม.ตำบลแร่  โดยมี อสม.ร่วมกิจกรรม จำนวน 94 คน

สรุปกิจกรรมและสาระสำคัญ ดังนี้

1. ประชุมหารือการพัฒนาต่อเติมอาคารโรงเรียน อสม. งบประมาณ 30,000 บาท
2. ชี้แจงและเชิญชวน อสม.ทุกคน ร่วมสมัครเป็นจิตอาสา "ทำความดี ด้วยหัวใจ" ป้องกันอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2561 ตามแนวนโยบายของอำเภอพังโคนและจังหวัดสกลนคร

       # แนวทางการดำเนินป้องกันอุบัติเหตุจราจรในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2561 อำเภอพังโคน

ระดับครัวเรือน
- ผู้ปกครองเฝ้าระวังบุตรหลานเรื่องการขับขี่รถจักรยานยนต์ การสวมใส่อุปกรณ์นิรภัยการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ระดับคุ้ม/โซน
- อสม.เฝ้าระวังบุตรหลานในคุ้ม/โซนเรื่องการขับขี่รถจักรยานยนต์ การสวมใส่อุปกรณ์นิรภัยการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- อสม.ลงข้อมูลบนแผนผังโซนที่ตนเองรับผิดชอบ
- อสม.ประเมินความเสี่ยงในคุ้ม/โซนเรื่องการขับขี่ยวดยาน การสวมใส่อุปกรณ์นิรภัย การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- โดยความเสี่ยง ๓ ระดับ 
ความเสี่ยงระดับต่ำ  ได้แก่  ไม่มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  การขับขี่ปฏิบัติตามกฎแห่งความปลอดภัย  สวมใส่เครื่องป้องกัน  ไม่ขับเร็วเกินกำหนด
o ความเสี่ยงระดับปานกลาง  มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  การขับขี่ปฏิบัติตามกฎแห่งความปลอดภัย  ไม่สวมใส่เครื่องป้องกัน  ขับเร็วเกินกำหนดแต่ไม่มาก  เริ่มเอะอะโวยวาย  เปิดเพลงเสียงดัง
o ความเสี่ยงระดับ สูง  มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  ไม่ปฏิบัติตามกฎแห่งความปลอดภัย  ไม่สวมใส่เครื่องป้องกัน  ขับเร็วเกินกำหนดมาก  มีการทะเลาะวิวาท  เอะอะโวยวาย  เปิดเพลงเสียงดังมาก

- อสม.รายงานผลการประเมินความเสี่ยงฯให้ประธาน อสม.
- อสม.ให้คำแนะนำแก่กลุ่มที่มีความเสี่ยงปานกลางและเสี่ยงสูง
ระดับหมู่บ้าน
-ประธาน อสม.รวบรวมผลการประเมินจาก อสม.
-ประธาน อสม.ลงข้อมูลบนแผนผังหมู่บ้าน
-ประธาน อสม.ร่วมกับผู้นำชุมชนร่วมกันวิเคราะห์ผลการประเมินและรายงานผลการประเมินตามสายงาน
-ดำเนินการป้องกันตามมาตรการ ๓ ป ๒ ส  (ป้องกัน  ป้องปราม ปรับเปลี่ยน  สวมใส่  ส่วนควบ)
-ประธาน อสม.ร่วมกับผู้นำชุมชนให้คำแนะนำแก่กลุ่มที่มีความเสี่ยงปานกลางและเสี่ยงสูง
-ผู้ใหญ่บ้านร่วมกับประธาน อสม.ร่วมกับผู้นำชุมชนเข้าทำการควบคุมยานพาหนะและบุคคลที่กระทำผิดกฎหมาย เพื่อป้องกันเหตุ

ระดับรพ.สต.
-          จนท.รับผิดชอบหมู่บ้านรับรายงานผลการประเมินและวิเคราะห์เป็นภาพรวมหมู่บ้าน
-          ผอ.รพ.สต.ร่วมกันประเมินและวิเคราะห์เป็นภาพรวมตำบล
-          รายงานผลการประเมินและการดำเนินการให้สสอ.พังโคนทราบตามสายงาน
ระดับอำเภอ
-          เจ้าหน้าที่ปกครองและตำรวจผู้ใหญ่บ้านร่วมกับประธาน อสม.ร่วมกับผู้นำชุมชนเข้าทำการควบคุมยานพาหนะและบุคคลที่กระทำผิดกฎหมาย เพื่อป้องกันเหตุ
-          ผช.สสอ.ที่รับผิดชอบพื้นที่ตำบลรับรายงานและผลการดำเนินงาน ,เฝ้าระวังสถานการณ์
-          จนท.สสอ.ผู้รับผิดชอบงานอุบัติเหตุ สสอ.รวบรวมรายงานและผลการดำเนินงาน ,เฝ้าระวังสถานการณ์
-          สสอ.และผช.สสอ.ที่รับผิดชอบพื้นที่ตำบลออกเยี่ยมพื้นที่รับผิดชอบ
-          คณะทำงานระดับอำเภอรับรายงานและผลการดำเนินงาน และร่วมกันประเมินสถานการณ์รายวัน
-          คณะทำงานระดับอำเภอรายงานผลการดำเนินงานให้ นอภ.พังโคนและผู้บังคับบัญชาตามสายงาน

3. ชี้แจง ซักซ้อมความเข้าใจ  เตรียมความพร้อม เรื่องการจ่ายค่าป่วยการ อสม.ในระบบพร้อมเพย์
4. ประชุมหารือการจัดกิจจกรรมปีใหม่ของ อสม.และ จนท. รพ.สต.แร่ มีมติจัดกิจกรรมในการเข้าโรงเรียน อสม. ประจำเดือนมกราคม 2561 โดยจะมีกิจกรรมจับสลากแลกเปลี่ยนของขวัญปีใหม่ การรับประทานอาหารร่วมกัน การแข่งกีฬาสี อสม. (สีเหลือง = หมู่ 1 หมู่ 10 หมู่ 5, สีฟ้า = หมู่ 2 หมู่ 12 หมู่ 14, สีชมพู = หมู่ 4 หมู่ 11 หมู่ 13) ทั้งนี้ รายละเอียดจะหารือทางไลน์และแจ้งอีกครั้ง







วันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2560

วิทยากร เรื่อง การลงรหัส ICD10 โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม Y96-Y97

26 ธ.ค.2560 นายมงคล โชตแสง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ  รพ.สต.บ้านแร่  ได้รับเชิญเป็นวิทยากร เรื่อง การลงรหัส ICD10 โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม Y96-Y97 (สำหรับ รพ.สต.) ที่ห้องประชุมหนองหานหลวง โรงแรมอิมพีเรียล จ.สกลนคร





วันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ผลงานตามตัวชี้วัด QOF ปี 2561



ตัวชี้วัด ผู้รับผิดชอบ จำนวนเป้าหมาย จำนวนผลงาน ร้อยละ เกณฑ์ ผลการประเมิน
1.ร้อยละของประชากรไทยอายุ 35-74 ปี ได้รับการคัดกรองเบาหวาน (คัดกรองที่ไหนก็นับเป็นผลงานให้) ณัฐวิภา หมั่นกุล 1,660 1,301 78.37 >=80.00 ไม่ผ่านเกณฑ์
1.ร้อยละของประชากรไทยอายุ 35-74 ปี ได้รับการคัดกรองเบาหวาน (คัดกรองที่ไหนเป็นผลงานที่นั่น) ณัฐวิภา หมั่นกุล 1,660 1,293 77.89 >=80.00 ไม่ผ่านเกณฑ์
2.ร้อยละของประชากรไทยอายุ 35-74ปี ได้รับการคัดกรองความดันโลหิตสูง(คัดกรองที่ไหนก็นับเป็นผลงานให้) ณัฐวิภา หมั่นกุล 1,586 1,219 76.86 >=80.00 ไม่ผ่านเกณฑ์
2.ร้อยละของประชากรไทยอายุ 35-74ปี ได้รับการคัดกรองความดันโลหิตสูง (คัดกรองที่ไหนเป็นผลงานที่นั่น) ณัฐวิภา หมั่นกุล 1,586 1,211 76.36 >=80.00 ไม่ผ่านเกณฑ์
3.ร้อยละของหญิงมีครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกภายใน 12 สัปดาห์   / วรรณวิมล คำลือฤทธิ์ วรรณวิมล คำลือฤทธิ์ 14 14 100 >=70.00 ผ่านเกณฑ์
4.ร้อยละสะสมความครอบคลุมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรี 30-60 ปี ภายใน 5 ปี วรรณวิมล คำลือฤทธิ์ 1,003 945 94.22 >=64.75 ผ่านเกณฑ์
5.1 RDU โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน Acute Diarrhea (AD) มงคล โชตแสง 44 5 11.36 <20.00 ผ่านเกณฑ์
5.2 RDU โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจช่วงบน Respiratory Infection (RI) ณัฐวิภา หมั่นกุล 772 70 9.07 <20.00 ผ่านเกณฑ์
6. ร้อยละการลดลงของอัตราการนอนโรงพยาบาลด้วยภาวะที่ควรควบคุมด้วยบริการผู้ป่วยนอก (ACSC) ในโรคลมชัก (epilepsy) ปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) หืด (asthma) เบาหวาน (DM) และความดันโลหิตสูง (HT) ณัฐวิภา หมั่นกุล 526 380 146.01 >=6.58 ผ่านเกณฑ์
7.อัตราการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย CKD จากระยะ 3B สู่ระยะที่ 4 ขึ้นไป ณัฐวิภา หมั่นกุล 19 1 5.26 <10.00 ผ่านเกณฑ์
8. ร้อยละผู้ป่วยเตียงประเภทที่ 3 และ 4 ได้รับการเยี่ยมบ้านตามเกณฑ์ ณัฐวิภา หมั่นกุล 9 9 100 >=97.00 ผ่านเกณฑ์
9. ร้อยละทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม วรรณวิมล คำลือฤทธิ์ 12 2 16.67 <6.59 ไม่ผ่านเกณฑ์
9. ร้อยละทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม (จำนวนเด็กต่อเด็กมีน้ำหนัก) วรรณวิมล คำลือฤทธิ์ 27 12 44.44 >=90.00 ไม่ผ่านเกณฑ์

ข้อมูล ณ วันที่ 22 ธ.ค.2560
ที่มา : http://203.157.177.121/cockpit61_43/main/


คลินิกเบาหวาน #ตรวจตา #ตรวจเท้า ปีงบประมาณ 2561

22 ธ.ค.2560 รพ.สต.บ้านแร่ ร่วมกับโรงพยาบาลพังโคน โดยทีมสหวิชาชีพ ได้ให้บริการในคลินิกเบาหวาน #ตรวจวัดสายตา #ตรวจถ่ายภาพจอประสาทตา #ตรวจเท้า ประจำปีงบประมาณ 2561






วันพฤหัสบดีที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2560

หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. @บ้านหนองบัว ต.แร่

21 ธันวาคม 2560 หน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) @บ้านหนองบัว ต.แร่ อ.พังโคน  จ.สกลนคร
 


ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรม ดังนี้

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี  ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจโดยเฉพาะ
อย่างยิ่งด้านการแพทย์  และด้านสาธารณสุข  อันเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติและปวงชนชาวไทยนานับประการ  ทรงจัดตั้งสถานีรักษาพยาบาลทางวิทยุ  ทรงโปรดให้รักษาพยาบาลโรคเฉพาะทางและทันตกรรม  ทรงเป็นพระมิ่งขวัญและเป็นที่เคารพยิ่งของพสกนิกรชาวไทย  ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อความผาสุกของพสกนิกรทุกหมู่เหล่า พระองค์ท่านมีพระหฤทัยแน่วแน่ในการช่วยเหลือประชาชนให้พ้นทุกข์ และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นก่อบังเกิดคุณประโยชน์ใหญ่ไพศาลแก่ประเทศชาติ  ทั้งด้านการศึกษา  วรรณคดี  การสาธารณสุข  การสังคมสงเคราะห์ การยกระดับคุณภาพชีวิต  โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนบทที่ห่างไกลความเจริญ
   
ตามที่จังหวัดสกลนคร  ได้รับพระราชทานเป็นจังหวัดแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีลำดับที่ ๗ ของประเทศทั้งนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๒ รวมระยะเวลา ๔๘ ปี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของพื้นที่ทุกอำเภอในจังหวัดสกลนครได้จัดกิจกรรมเพื่อเป็นการสนองพระราชปณิธานในองค์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีซึ่งพระองค์ทรงห่วงใยในสุขภาพอนามัยความเป็นอยู่ตลอดจนการศึกษาและการพัฒนาศักยภาพของปวงชนชาวไทยในพื้นที่ถิ่นทุรกันดารหรือเขตพื้นที่ชายแดนและในวันนี้อำเภอพังโคนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับจังหวัด และอำเภอ  ได้รับเกียรติอันสูงยิ่ง  ในการจัดกิจกรรมให้บริการให้แก่ประชาชน  อันที่จะแสดงออกถึงความจงรักภักดีสืบสานพระปณิธานของพระองค์ท่านโดยการนำหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกให้บริการแก่ประชาชน ณ บ้านหนองบัว หมู่ที่ ๔  ตำบลแร่  อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือประชาชนในด้านการรักษาพยาบาล  การป้องกันโรค  การส่งเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสมรรถภาพและกิจกรรมที่ให้บริการในวันนี้ประกอบด้วยหน่วยแพทย์เคลื่อนที่  หน่วยทันตกรรมหน่วยสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค  หน่วยให้ความรู้และประชาสัมพันธ์  นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานทั้งภาครัฐ  เอกชน  องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้าร่วมกิจกรรมให้บริการแก่ประชาชนอีกหลายหน่วยงาน

ข้อมูลที่สำคัญของพื้นที่ตำบลแร่อำเภอ
พังโคนพอสังเขปดังนี้ ข้อมูลด้านสาธารณสุข  ตำบลแร่  มีหน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่ ๒ แห่ง คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแร่  และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกสะอาด  มีประชากรสิทธิบัตรทองจำนวน  ๕,๗๑๒ คน สิทธิข้าราชการ จำนวน ๔๗๙ คน ประกันสังคม ๓๖๘ คน  ประชาชนเข้าถึงบริการด้านสุขภาพครบถ้วนทุกกลุ่มอายุ  ในรอบปีที่ผ่านมาประชาชนมีปัญหาด้านสุขภาพและเจ็บป่วยด้วยโรคที่สำคัญได้แก่  โรคเรื้อรังได้แก่ เบาหวานและความดันโลหิตสูง โรคระบบทางเดินหายใจ โรคระบบกล้ามเนื้อ โรคระบบทางเดินอาหารและสาเหตุของการเสียชีวิตที่สำคัญคือโรคมะเร็งของอวัยวะต่างๆ



วันอังคารที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2560

การบำบัดรักษาผู้มีปัญหาจากการดื่มสุราโดยใช้วิธีการ BRIEF INTERVENTION

การบำบัดรักษาผู้มีปัญหาจากการดื่มสุราโดยใช้วิธีการ BRIEF INTERVENTION BRIEF INTERVENTION หมายถึง การบำบัดรักษา 1-4 ครั้ง นานครั้งละ 5-60 นาที ทำโดยแพทย์ทั่วไปหรือบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญใน เรื่องการรักษาผู้ติดสุราหรือสารเสพติด มักจะใช้กับผู้ป่วยที่ไม่ได้ติดสุรา แต่เป็นผู้ที่ดื่มในระดับความเสี่ยงสูงหรือระดับที่เป็นอันตราย (hazardous and harmful drinking) โดยมีเป้าหมายเพื่อลดระดับการดื่มลงให้เป็นการดื่มปานกลาง (moderate drinking) มากกว่าการให้เลิกดื่ม ได้มีการวิจัยมายมายที่ศึกษาประสิทธิผลของการทำ brief intervention ในเวชปฏิบัติทั่วไป ในสถานบริการระดับปฐมภูมิ และในห้องฉุกเฉิน รวมทั้งการศึกษาแบบมหวิเคราะห์ (meta-analysis) ซึ่งได้ผลการศึกษาสอดคล้องกันว่า brief intervention มีประสิทธิภาพ และมีความคุ้มทุนสูงในการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาจากการดื่มสุรา องค์ประกอบการดำเนินการ BRIEF INTERVENTION ต้องมีองค์ประกอบ 6 ข้อซึ่งสามารถเขียนเป็นตัวย่อได้ว่า FRAMES( Feedback, Responsibility, Advice, Menu of ways, Empathy, Self-Efficacy) นอกจากนั้นควรกำหนดเป้าหมาย (goal setting) การติดตามการรักษา (follow up) และการให้การรักษาในเวลาที่เหมาะสม (timing) ก็ยังเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ brief intervention ได้ผลดีด้วย ต่อไปนี้จะกล่าวถึงวิธีการของ brief intervention ในแต่ละองค์ประกอบ FEEDBACK OF PERSONAL RISK เมื่อจะเริ่มต้นการบำบัด แพทย์ควรจะบอกให้ผู้ป่วยทราบถึงความเสี่ยงของปัญหาจากแอลกอฮอล์ที่ผู้ป่วยมี โดยประมวลจากลักษณะการดื่มในปัจจุบัน ผลการตรวจร่างกายและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตัวอย่างเช่น แพทย์อาจจะบอกผู้ป่วยว่าปัญหาการเจ็บป่วยในปัจจุบันของเขา เช่น ความดันเลือดสูงอาจจะเป็นผลจากการดื่มแอลกอฮอล์ของเขาด้วยก็ได้ หรือการดื่มแอลกอฮอล์จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคบางอย่างที่เขาเป็น RESPONSIBILITY OF THE PATIENT วิธีการ brief intervention จะเน้นถึงความรับผิดชอบของผู้ดื่มในการเลือกวิธีการและลดการดื่มลง ทั้งนี้อาศัยหลักว่าการควบคุมตนเองเป็นแรงจูงใจที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรม เช่น แพทย์หรือพยาบาลอาจจะบอกผู้ดื่มว่า “คงไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงคุณได้หรือทำให้คุณตัดสินใจเปลี่ยนแปลงได้ การที่คุณจะลดหรือเลิกดื่มขึ้นอยู่กับตัวเอง ADVICE TO CHANG แพทย์ควรจะให้คำแนะนำอย่างชัดเจนถึงวิธีลดหรือเลิกดื่ม หรือในขณะที่พูดแสดงความห่วงใยถึงการดื่มของผู้ป่วยแพทย์หรือพยาบาลอาจจะ อธิบายถึงการดื่มแบบพอประมาณหรือความเสี่ยงต่ำไปด้วย MENU OF WAYS แพทย์หรือพยาบาลอาจจะนำเสนอวิธีการต่างๆ สำหรับลดหรือเลิกดื่มให้ผู้ป่วยเลือก เช่น การจำกัดปริมาณแอลกอฮอล์ที่จะดื่ม การเรียนรู้ที่จะรู้จักว่าเมื่อไรจะต้องดื่มและหลีกเลี่ยงสถานการณ์เสี่ยง ที่ทำให้ต้องดื่มมาก การวางแผนล่วงหน้าที่จะจำกัดการดื่ม การชะลอการดื่มให้ช้าลง เช่น ค่อยๆ จิบ ผสมให้เจือจาง หรือเว้นช่วงนานหลังดื่มแต่ละครั้ง และการเรียนรู้ที่จะจัดการกับปัญหาในชีวิตประจำวันซึ่งอาจจะทำให้ดื่มแพทย์ อาจจะทำคู่มือแนะนำเกี่ยวกับการลดหรือเลิกดื่มสุราด้วยตนเองสำหรับแจกให้กับ ผู้ป่วย ซึ่งในคู่มือก็มักจะมีสมุดบันทึกประจำวันสำหรับบันทึกการดื่มของเขาด้วย EMPATHETIC COUNSELING STYLE วิธีการให้ brief intervention ควรทำด้วยท่าทีที่อบอุ่น เข้าใจและใช้การสะท้อนกลับความคิดหรืออารมณ์ของผู้ป่วยจะได้ผลดีกว่าการใช้ ท่าทีที่แข็งกร้าว หรือต้อนให้จนมุม SELF-EFFICACY OR OPTIMISM OF THE PATIENT แพทย์ควรจะสนับสนุนให้ผู้ป่วยเห็นถึงความสามารถของตนเองในการที่จะทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลง และให้มองตนเองในแง่ดีว่าตนเองมีความสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดื่ม ของตน ESTABLISHING A DRINKING GOAL ผู้ป่วยมักจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดื่มของเขาได้สำเร็จถ้าเขามีส่วนร่วมใน การกำหนดเป้าหมายของการลดหรือเลิกดื่มของเขาเอง ผู้รักษาอาจจะให้ผู้ป่วยเขียนเป้าหมายในการเลิกหรือลดการดื่มของเขาไว้ และใช้เป็นประหนึ่งสัญญาระหว่างผู้รักษาและผู้ป่วย FOLLOW-UP ผู้รักษาจะติดตามดูการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยต่อไปโดยอาจจะเป็นการนัดให้ผู้ป่วยมาพบเป็นระยะๆ หรือโทรศัพท์ถามอาการก็ได้ TIMING การทำ brief intervention จะได้ผลดีในผู้ป่วยที่มีความพร้อมและมีความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การดื่มของเขา ผู้ป่วยอาจจะไม่พร้อมที่จะลดหรือเลิกดื่มในตอนต้นเมื่อเริ่ม brief intervention แต่อาจจะพร้อมเมื่อเขาได้เจอกับปัญหาจากการดื่มของเขา ดังนั้นก่อนเริ่มรักษาแบบ brief intervention ผู้รักษาจึงควรประเมินดูความพร้อมของผู้ป่วยก่อนและเลือกวิธีการรักษาให้ เหมาะสมกับสภาพของผู้ป่วย ขั้นตอนของ BRIEF INTERVENTION หลักการของ brief intervention ที่แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปสามารถทำได้ในระหว่างการตรวจรักษาตามปกติ เพื่อที่จะช่วยค้นหาและให้คำแนะนำผู้ที่มีปัญหาจากการดื่มสุราตั้งแต่ในระยะ แรก 1. การถาม (ASK) สำหรับผู้ป่วยทุกคนที่มาพบแพทย์ ควรจะถามว่าเขาดื่มสุรา เบียร์ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือไม่ ในผู้ป่วยที่ดื่มสุรา ควรจะถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับพฤติกรรมการดื่มของเขา ได้แก่ ปริมาณและความถี่ในการดื่ม รวมทั้งผลที่เกิดขึ้นจากการดื่มของเขา เช่น การดื่มคนเดียว ดื่มเวลาใด การดื่มเคยมีผลต่อการทำงาน ความสัมพันธ์ในครอบครัวและชีวิตประจำวันหรือไม่ เช่น ทำให้ไปทำงานสาย ขาดงาน ครอบครัวรู้สึกเป็นห่วง ลืมสิ่งที่ได้ทำหลังจากดื่มสุรา ไม่สามารถควบคุมตัวเองไม่ให้ดื่มได้ หรือมีอาการไม่สบายต่างๆ หลังจากการดื่มสุรา 2. . ประเมินปัญหาจากการดื่มสุราของผู้ป่วย (ASSESS) โดยให้ผู้ป่วยตอบแบบสอบถาม AUDIT หรือจากการซักถามผู้ป่วยเพิ่มเติม โดยให้แบ่งผู้ที่มีปัญหาจากสุราได้ 3 กลุ่ม 2.1 ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาจากการดื่มสุรา (hazardous drinking) ได้แก่ ผู้ที่ดื่มในปริมาณที่มากกว่าปกติ หรือดื่มในภาวะที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ในสตรีมีครรภ์ หรือผู้กำลังจะขับขี่ยานพาหนะหรือใช้เครื่องจักร หรือผู้ที่มีประวัติส่วนตัวหรือประวัติครอบครัวของปัญหาจากการดื่มสุรา ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรจะถามลักษณะพฤติกรรมการดื่ม เช่น ดื่มปริมาณนี้มานานเท่าไหร่ ดื่มหนักสัปดาห์ละกี่ครั้ง เคยดื่มมากที่สุดประมาณเท่าไหร่ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา และถามประวัติส่วนตัว และประวัติครอบครัวที่เกี่ยวข้องกับการดื่ม 2.2 ผู้ที่ปัญหาจากการดื่มสุราแล้ว (harmful drinking) คือ ผู้ที่เคยมีผลเสียของการดื่มข้อใดข้อหนึ่ง หรือมีลักษณะทางร่างกายหรือพฤติกรรมที่แสดงว่ามีปัญหาจากการดื่มสุราแล้ว เช่น มีรอยแผลจากอุบัติเหตุ หรือการทะเลาะวิวาทจากการดื่มสุรา ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ แพทย์ควรจะถามผู้ป่วยเกี่ยวกับปัญหาทางร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการดื่มสุรา เช่น blackouts (จำสิ่งที่เกิดขึ้นขณะดื่มสุราไม่ได้) ปวดท้องเรื้อรัง ซึมเศร้า ความดันเลือดสูง อุบัติเหตุ การทำงานของตับผิดปกติ สมรรถภาพทางเพศผิดปกติ หรือมีปัญหาในการหลับนอน 2.3 ผู้ที่น่าจะติดสุราแล้ว เป็นผู้ที่มีลักษณะตามหลักเกณฑ์การวินิจฉัยภาวะติดสุรา สำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ เช่น ไม่สามารถจะหยุดดื่มได้เมื่อได้เริ่มต้นดื่มไปแล้วต้องดื่มเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้รู้สึกดีเท่าเดิม เคยมีความต้องการอย่างรุนแรงที่จะต้องดื่มสุราให้ได้ เคยต้องเปลี่ยนแปลงแผนการทำงานหรือกิจกรรมต่างๆ เพื่อจะได้ดื่มสุราเคยต้องดื่มตอนเช้าเพื่อที่จะแก้อาการมือสั่น 3 .ให้คำแนะนำวิธีการปฏิบัติตนที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วย (ADVICE) ด้วยท่าทีที่อบอุ่น เป็นมิตร และเข้าใจผู้ป่วย เริ่มต้นจากการบอกผู้ป่วยว่าแพทย์รู้สึกเป็นห่วงเรื่องการดื่มสุราของเขา พยายามพูดให้จำเพาะเจาะจงถึงลักษณะการดื่มของผู้ป่วยและปัญหาต่อสุขภาพของ เขา อาจจะชี้ให้ผู้ป่วยเห็นว่าการดื่มสุราของเขาอาจจะมีส่วนให้เขามีอาการทาง ร่างกายต่างๆ เช่น ความดันเลือดสูง รวมทั้งถามด้วยว่าผู้ป่วยรู้สึกอย่างไรกับการดื่มของเขา เพื่อประเมินความรู้สึกและการรับรู้ของผู้ป่วยต่อปัญหาของตนเอง รวมทั้งความคิดที่จะลดหรือเลิกดื่ม แพทย์ควรตกลงร่วมกับผู้ป่วยถึงแผนการปฏิบัติตนของผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยกำหนดเป้าหมายการปฏิบัติตนของตัวเอง โดยเน้นเรื่องการดูแลสุขภาพ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ป่วยเอง ไม่ใช่ของแพทย์ผู้รักษา รวมทั้งเสนอแนะมาตรการต่างๆ ให้ผู้ป่วยใช้ในการควบคุมการดื่ม เรียนรู้ที่จะจัดการกับปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวันโดยวิธีการอื่นๆ ที่ไม่พึ่งการดื่มสุรา สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะติดสุรา และมีประวัติว่าพยายามจะลดการดื่มลงหลายครั้งแล้วแต่ไม่สำเร็จ หรือผู้ที่กำลังตั้งครรภ์หรือกำลังวางแผนจะมีบุตร หรือมีข้อห้ามทางสุขภาพหรือใช้ยาอื่นที่ทำให้ดื่มสุราไมได้ แพทย์ควรจะแนะนำให้หยุดหรือเลิกดื่มเลย ส่วนผู้ที่ดื่มในระดับ hazardous หรือ harmful drinking และยังไม่มีภาวะติดสุรา แพทย์อาจจะแนะนำให้ลดปริมาณการดื่มลงให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย หรือ responsible drinking อาจจะไม่จำเป็นต้องเลิกดื่มโดยเด็ดขาดก็ได้ สำหรับผู้ติดสุราที่ยังไม่พร้อมจะเลิกดื่ม อาจจะแนะนำให้ผู้ป่วยปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง แนะนำให้ผู้ป่วยคุยกับครอบครัวของเขาเกี่ยวกับคำแนะนำต่างๆ ที่แพทย์ให้ไป และนัดให้เขามาพบอีกพร้อมกับสมาชิกในครอบครัวของเขา 4.ดูแลติดตามการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยทุกครั้งที่ผู้ป่วยมาพบ แพทย์(MONITOR) บอกให้ผู้ป่วยทราบถึงแผนการดูแลติดตามรักษา ย้ำว่าแพทย์พร้อมเสมอที่จะให้คำแนะนำและ ความช่วยเหลือผู้ป่วยเสมอ ชมผู้ป่วยในความพยายามที่ได้ทำไป ชี้ให้ผู้ป่วยเห็นว่าเขามีการเปลี่ยนแปลงทางด้านดีขึ้น เช่น สุขภาพดีขึ้น หน้าตาสดชื่นแจ่มใส การทำงานและหน้าที่ต่างๆ ได้ดีขึ้น รวมทั้งครอบครัวก็มีความสุขมากขึ้น เป็นต้น และประเมินความตั้งใจของผู้ป่วยที่จะลดหรือเลิกดื่มต่อไป อาจจะต้องนัดผู้ป่วยบางรายที่ต้องการการดูแลรักษาเพิ่มขึ้นหรือใช้เวลานาน ขึ้นเป็นกรณีพิเศษ และอาจจะพิจารณาส่งต่อผู้ป่วยบางรายไปรับการรักษาเฉพาะทาง หากจำเป็นต้องรับการดูแลรักษาที่มากเกินกว่าที่แพทย์จะทำได้ในคลินิกเวช ปฏิบัติทั่วไป

วันพุธที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2560

เรือเล็กควรออกจากฝั่ง [ก้าวคนละก้าว#ก้าวแรกที่อีสาน]

ก้าวคนละก้าว [ก้อง ห้วยไร่] ก้าวแรกที่อีสาน ขอขอบคุณ เพลง : เรือเล็กควรออกจากฝั่ง ศิลปิน : Bodyslam สังกัด : genie records === ขอขอบคุณ ตูน + ก้อง ห้วยไร่ [และทีมงาน] พี่น้องชาวจังหวัดสกลนคร และทุกท่านที่มีส่วนสนับสนุนโครงการ "ก้าวคนละก้าว"