จำนวนการดูหน้าเว็บรวม (เริ่มนับ พฤศจิกายน 2553)

วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2554

หม่ำ-คนดีศรีอีสาน2554



ขอแสดงความยินดีกับ คุณเพ็ชรทาย วงษ์คําเหลา (หม่ำ จ๊กม๊ก) หนึ่งใน 13 คนดีศรีอีสาน ประจำปี 2554 (เข้ารับรางวัลแห่งความดี เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2554 ณ หอประชุมมหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร)
Videographer Mongkol Chotsaeng

วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การติดตามการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดย สนย. (21ธ.ค.2554)

คณะเจ้าหน้าที่จากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข  ได้มาติดตามการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของจังหวัดสกลนคร ในพื้นที่ รพ.สต.แร่ เพื่อเก็บข้อมูลการดำเนินงาน และรับฟังปัญหาอุปสรรคในพื้นที่ เพื่อนำข้อมูลไปพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในระดับชาติ และนำไปแก้ปัญหาสุขภาพของประชาชนต่อไป

ในการนี้ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงเรียนบ้านหนองบัว ตำบลแร่ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร เพื่อชื่นชมกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพในนักเรียนโดยการจัดกิจกรรมวิ่งสะสมระยะทางในนักเรียน (จัดกิจกรรมทุกวัน เวลา 15.30 น. ก่อนเลิกเรียน)  โดยได้รับการต้อนรับอย่างเป็นอย่างดี โดย ผอ.ไมตรี บนปาก









วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

หนึ่งนวัตกรรมไอโอดีน นำเสนอที่นครพนม โดย รพ.สต.แร่ และ รพ.สต.โคกศิลา

หนึ่งนวัตกรรมไอโอดีน นำเสนอที่นครพนม โดย รพ.สต.แร่ และ รพ.สต.โคกศิลา
นำทีมโดย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร









นวัตกรรม ไอโอดีนดีลิเวอรี่
วิ่งจ้าวสนาม ปิดสนามที่พังโคน 10 ธันวาคม 2554

(สนับสนุน-แจกเกลือไอโอดีนในสนามวิ่งจ้าวสนาม ทุกสนาม ระดับจังหวัด ปีละ 18 สนาม ระดับอำเภอ ปีละ 18 อำเภอ*12 สนาม = 216 สนาม  และจ้าวสนามตำบล หมู่บ้านละ 1 ครั้ง * 1,567 สนาม)

รศ.พิเศษ ทพ.ดร.สุขสมัย สมพงษ์
คนต้นคิด คนพาเฮ็ด-พาทำ
วิ่งสร้างสุขภาพ และส่งเสริมการใช้เกลือเสริมไอโอดีน (แจกเกลือเสริมไอโอดีน)
ในสนามวิ่งจ้าวสนามทุกระดับ ทั่วจังหวัดสกลนคร





วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2554

โรงเรียน อสม. 28 ตุลาคม 2554

กิจกรรมโสเหล่
- คัดเลือก อสม.ดีเด่น ระดับหมู่บ้าน
- คัดเลือก อสม.ดีเด่น ระดับตำบล
- คัดเลือกประธาน อสม. ระดับตำบล

วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2554

วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ผู้พิการแยกตามประเภทความพิการ (หน่วยงาน รพ.สต.แร่) ปี 2555

จำนวนผู้พิการแยกตามประเภทความพิการ (หน่วยงาน รพ.สต.แร่) ปี 2555

ประเภท 1 พิการทางสายตาและการมองเห็น 16
ประเภท 2 พิการทางสายตาและการสื่อความหมาย 3
ประเภท 3 พิการทางกายและการเคลื่อนไหว 49
ประเภท 4 พิการทางจิตใจและพฤติกรรม 2
ประเภท 5 พิการทางสติปัญญา 7
ประเภท 6 พิการทางการเรียนรู้ 0
ซ้ำซ้อน ตั้งแต่ 2 ประเภทขึ้นไป 3
รวม 80 คน

วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554

โรงเรียน อสม. 29 กันยายน 2554

โรงเรียน อสม. 29 กันยายน 2554
เริ่ม ลงทะเบียน 04.30 น.

กิจกรรมนอกชั้นเรียน (เวลา 05.30-08.30 น.)
- วิ่งป่วนบ้านป่วนเมือง
- ทำความสะอาดครัวเรือนตัวอย่าง 5 หลัง
- รับประทานอาหารเช้า (ข้าวต้ม)
- ภารกิจส่วนตัว (อาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้า)
- กิจกรรมหน้าเสาธง (เคารพธงชาติ สวดมนต์ไหว้พระ)

กิจกรรมในชั้นเรียน (เวลา 08.30-12.00 น.)
- ร้องเพลงมาร์ช อสม.
- กล่าวแสดงตน อสม.
- โสเหล่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบชาวบ้าน
- กิจกรรมหน้าชั้นเรียน (ฝึกพูดให้ความรู้หน้าชั้นเรียน 3 นาที หมู่บ้านละ 1 คน)
- เรียนรู้วิชาการจากเจ้าหน้าที่

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

รายงานการตรวจสอบ ผลงาน อสม. โดย สตง.

รายงานการตรวจสอบการดำเนินงาน 
โครงการส่งเสริมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เชิงรุก 
ตามแผนปฏิบัิตราชการประจำปีงบประมาณ 2553

โดยสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)
เว็บไซต์ สตง. http://www.oag.go.th/News/Upload/6.2011090007.1.pdf
http://www.oag.go.th/News/Upload/6.2011090007.1.pdf

ทดสอบสมรรถภาพของ อสม. วิ่ง 2.4 ก.ม.

16 กันยายน 2554
วิ่งทดสอบสมรรถภาพ ของ อสม. ระยะทาง 2.4 กิโลเมตร

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

Community Health & Primary Care Expo ครั้งที่ ๒

หากคุณมีนวัตกรรมดีๆ ที่จุดประกายเป็นความคิดสร้างสรรค์
ส่งเสริมระบบบริการปฐมภูมิให้ดีขึ้น

ขอเชิญส่งผลงานนวัตกรรมเข้าร่วมคัดเลือกจัดแสดงในงานมหกรรมสุขภาพชุมชน Community Health & Primary Care Expo ครั้งที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๑๒ – ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๔ ณ ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ภายใต้หัวข้อการประชุมว่า “จากความรู้สู่ระบบจัดการใหม่ จินตนาการเป็นจริงได้ไม่รู้จบ”
การส่งผลงาน
๑. หน่วยงานที่ส่งผลงาน แบ่งเป็น ๒ ระดับ ดังนี้
๑.๑ ระดับเครือข่ายบริการสุขภาพหรือ CUP (Contracted Unit of Primary Care)
๑.๒ ระดับหน่วยบริการปฐมภูมิ เช่น สถานีอนามัย, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพสต.) ศูนย์สุขภาพชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกับระบบบริการปฐมภูมิทั้งหมด
๒. ผลงานที่ส่งเข้าร่วมคัดเลือกมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับระบบการบริการปฐมภูมิ ในเรื่องต่อไปนี้
๒.๑ การบริหารจัดการเครือข่ายและการพัฒนาศักยภาพ
๒.๒ การส่งต่อผู้ป่วยและข้อมูลการบริหาร ระบบให้คำปรึกษา
๒.๓ การพัฒนาและเสริมศักยภาพบุคลากร
๒.๔ การสนับสนุนการจัดบริการและการบริหารจัดการ
๒.๕ การพัฒนาและเสริมศักยภาพชุมชน
๒.๖ การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังและโรคอื่นๆ
๒.๗ การดูแลต่อเนื่องที่บ้าน
รายละเอียดการส่งผลงานและการประกาศผลงานที่ได้รับคัดเลือก
• เปิดรับผลงานตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๔ เท่านั้น
• ส่งผลงานมาที่ สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ อาคารคลังพัสดุ ชั้น ๓ ซอยสาธารณสุข ๖ กระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี ๑๑๐๐๐
• ผลงานที่ได้รับการคัดเลือกจะแจ้งผลให้ทราบในวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๔ ทาง www. Shi.or.th หรือทางโทรศัพท์
• สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ทาง E-mail. suksala@gmail.com หรือโทร ๐ ๒๕๙๐ ๒๓๖๔

สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.shi.or.th

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

โรงเรียน อสม. 31 สิงหาคม 2554

โรงเรียน อสม.ตำบลแร่ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร
ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2553 มีกิจกรรมสำคัญ ประกอบด้วย
1) วิ่งป่วนบ้านป่วนเมือง*
2) ทำความสะอาดครัวเรือน* 
3) โสเหล่*
4) เรียนรู้ตามความต้องการของ อสม., เจ้าหน้าที่ และนโยบายของภาครัฐ
*ต้นคิด-พัฒนากิจกรรม/รูปแบบโรงเรียน อสม.โดย รศ.(พิเศษ) ทพ.ดร.สุขสมัย สมพงษ์ นักวิขาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ (ด้านส่งเสริมพัฒนา) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร


ถ่ายวีดีโอ-เทคนิค-ตัดต่อ โดย นายมงคล โชตแสง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ รพ.สต.บ้านแร่

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมโรงเรียน อสม. 29 กรกฎาคม 2554

เนื่องจากอาคารที่ทำการโรงเรียน อสม. ซึ่งตั้งอยู่ที่บริเวณสถานีอนามัย/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแร่ อยู่ระหว่างการปรับปรุง  ดังนั้นการจัดกิจกรรมโรงเรียน อสม.ประจำเดือนกรกฎาคม 2554 จึงไปขอความอนุเคราะห์ใช้ศาลาเอนกประสงค์บ้านด่านพัฒนา หมู่ที่ 10 ตำบลแร่

ภาพกิจกรรม






หลักสูตร-กิจกรรมโรงเรียน อสม.ตำบลแร่

ตารางเรียน / กิจกรรม
โรงเรียน อสม.ตำบลแร่ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร
(ปรับปรุง ตามมติที่ประชุมโรงเรียน อสม. วันที่ 29 ก.ค. 2554)

หลักสูตร กิจกรรมหลัก (ตามหลักสูตรของ รศ.พิเศษ ทพ.ดร.สุขสมัย สมพงษ์)
-          ออกกำลังกาย วิ่งป่วนบ้านป่วนเมือง
-          ทำความสะอาดครัวเรือน
-          แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โสเหล่
กิจกรรม
ผู้รับผิดชอบ
05.00 น.
ลงทะเบียน
ประธาน อสม. ทุกหมู่บ้าน
05.30 น.
ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
นายชาญ คุยบุตร
นางอำไพ ชาติชำนิ
05.50 น.
แบ่งกลุ่มทำความสะอาดครัวเรือน
นายสวัสดิ์  พลสวัสดิ์
06.00 น.
วิ่งป่วนบ้านป่วนเมือง 1 ชั่วโมง /
ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
นายประสิทธิ์ บุตรแสน
นายสมานชัย ลีทอง
07.00 น.
ทำความสะอาดครัวเรือน (ตามกลุ่มที่แบ่งไว้)
นายสวัสดิ์  พลสวัสดิ์


อาบน้ำ / รับประทานอาหาร
และเจ้าของครัวเรือน
08.00 น.
เข้าแถวหน้าเสาธง / เคารพธงชาติ / สวดมนต์ไห้พระ
นายสมานชัย ลีทอง


- ร้องเพลง วันเวลานาที - ร้องเพลง มาร์ช อสม.
นายจอมไพร ชาติชำนิ




นายชาญ คุยบุตร


- ปรบมืออุดมการณ์
นายชาญ คุยบุตร


- การแสดงพลังและความมุ่งมั่นในการทำงาน
นางอำไพ ชาติชำนิ


- กล่าวบทบาท อสม.


08.20 น.
ครู 3 นาที (หมู่บ้านละ 1 คน * 9 หมู่บ้าน)
ให้สุขศึกษาหน้าชั้นเรียน
ผู้อำนวยการโรงเรียน อสม.
09.00 น.
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (โดยการโสเหล่)
เลือกเดือนละ 
1 ประเด็น
ผู้อำนวยการโรงเรียน อสม.
09.30 น.
วิชาการรักษาพยาบาล
พยาบาลวิชาชีพ
10.00
วิชาการสาธารณสุขมูลฐาน (14 กิจกรรม)
นักวิชาการสาธารณสุข
10.30 น.
สรุป อสม.ที่ไม่มาร่วมกิจกรรม
(วิ่ง
, ทำความสะอาด, เข้าชั้นเรียน)
และกำหนดวันเวลาในการทำกิจกรรมซ่อมเสริม
ผู้อำนวยการโรงเรียน อสม.
11.00 น.
รับค่าป่วยการ / เลิกเรียน
จนท.การเงิน รพ.สต.แร่

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

รับนิเทศงานระบาดวิทยา ไข้เลือดออก

28 กรกฎาคม 2554
ทีมนิเทศจาก สสจ.สกลนคร
 เสนอกลยุทธ์ "ขัดไข่"ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
- สำรวจพื้นที่เกิดโรคซ้ำซาก (วิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลัง)
- ดำเนินการ Reset ระบบ (รณรงค์ขัดไข่ในพื้นที่เกิดโรคซ้ำซาก)


 
*** พังโคน ต้องแสดงศักยภาพ-รักษามาตรฐานอำเภอป้องกันและควบคุมโรคเข้มแข็งดีเด่นระดับเขต (ลดอัตราป่วย ไม่ให้ตาย ใช้คณะกรรมการทุกระดับที่มีให้เกิดประโยชน์)

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


สธ.เผยมีผู้ป่วยไข้เลือดออก2.3หมื่นคนตาย13
มีรายงานว่า น.พ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ขณะนี้ ประเทศไทยมีฝนตกชุก เป็นฤดูกาลการระบาดของโรคไข้เลือดออก ซึ่งสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ในปี 2554 ทั่วประเทศ มีรายงานผู้ป่วยสะสมตั้งแต่เดือนมกราคม จนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน จำนวน 23,324 คน มีผู้เสียชีวิตรวม 13 คน จากการสอบสวนโรค พบว่า ทั้งผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตกว่าร้อยละ 80 ถูกยุงลายในบ้านกัด ในเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม ทุกปี เป็นช่วงที่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสูงที่สุด กระทรวงสาธารณสุข มีมาตรการดำเนินการ 2 เรื่องหลัก คือ การดูแลรักษาผู้ป่วยให้หายขาด ป้องกันการเสียชีวิตให้ได้มากที่สุด โดยได้กำชับให้แพทย์ในโรงพยาบาลในสังกัด ตรวจผู้ป่วยทุกวัยอย่างละเอียด ทางด้านมาตรการป้องกันโรค เน้นวิธีการป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยเฉพาะผู้ที่นอนกลางวัน ต้องนอนในมุ้ง หรือ นอนในห้องที่มีมุ้งลวด และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ทั้งที่อยู่ในภายในบ้านและรอบๆ บ้านทุก 7 วัน
โดยได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) รณรงค์ให้บ้านทุกหลังทุกชุมชน ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

เชิดชูผู้ทำความดี ปีที่ 3 จังหวัดสกลนคร ปี 2554


แพทย์และบุคลากรสาธารณสุขที่ได้รับรางวัล
- นายกิตตินาถ ติยะไพบูลย์ไชยา
- นางวรรณพร พึ่งวร
- นายชวน โทอิ้ง
- นายณัฐวุฒิ อุตนาม
- นางสาวสุวัฒนา ไชยรบ
- นายสินธุวัช ศิริคุณ
- นายพูนศักดิ์ บุดดีด้วง
- นางสุพรรณี หน่อแก้ว
- นางอุดร สมณะ
- นายพรศักดิ์ ฤาไกรศรี
- พญ.อมรลักษณ์ กระแสลาภ



โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแร่ ร่วมจัดบู๊ทแสดงผลงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ลดโลกร้อน (GREEN)










โรงพยาบาลพังโคน จัดบูทแสดงผลงาน การจัดการขยะลดภาะโลกร้อน (Reduce Reuse Recycle)