จำนวนการดูหน้าเว็บรวม (เริ่มนับ พฤศจิกายน 2553)

วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554

วันคุ้มครองโลก (Earth Day)

วันคุ้มครองโลก (Earth Day) ถือเป็นวันสำคัญของขบวนอนุรักษ์ธรรมชาติทั่วโลก ตรงกับวันที่ 22 เมษายน ของทุกปี
        วันคุ้มครองโลกถือกำเนิดในสหรัฐอเมริกาเมื่อ 27 ปีก่อน ในวันที่ 22 เมษายน 2513 นักอนุรักษ์ธรรมชาติกลุ่มหนึ่งได้จัดให้มีการแสดงพลังครั้งใหญ่ เพื่อปลุกเร้าจิตสำนึกเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งนับวันยิ่งถูกมนุษย์ทำลาย ในการแสดงพลังครั้งนั้นมีผู้เข้าร่วมกว่า 20 ล้านคนและปรากฏขึ้นตามเมืองใหญ่ ๆ เกือบทั้งสหรัฐ
        หลังจากนั้นความห่วงใยปัญหาสภาพแวดล้อมของสหรัฐก็เพิ่มพูนขึ้น มีการออกกฎหมายควบคุมการกระทำที่สร้างความเสียหายให้กับธรรมชาติ สำหรับประเทศไทยเริ่มพูดถึงวันคุ้มครองโลกครั้งแรก เมื่อปี 2533 ถือเป็นการเริ่มต้นของสังคมไทยยุคเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะหลังจากสืบ นาคะเสถียร หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งกระทำอัตวินิบาตกรรม และเมื่ออาจารย์และนักศึกษาร่วมกัน 16 สถาบันได้จัดงานวันคุ้มครองโลกขึ้นเพื่อรณรงค์ให้คนไทยเห็นความสำคัญของป่าอนุรักษ์ และตระหนักถึงวิกฤตการทำลายสัตว์ป่าและป่าไม้ประเทศไทย ยังมีการจัดงานเพื่อหาทุนเข้ามูลนิธิสืบนาคะเสถียร เพื่อใช้ในการปกป้องรักษาผืนป่า ที่เป็นมรดกของโลกอีกด้วย

ความเป็นมาของวันคุ้มครองโลก
          ชนวนความคิดเรื่องวันคุ้มครองโลกเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 โดยสมาชิกวุฒิสภา เกย์ลอร์ด เนลสัน (Senator Gaylord Nelson) ซึ่งต่อมาก็เป็นผู้ที่ก่อตั้งวันคุ้มครองโลกได้สำเร็จ
          ก่อนที่ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมจะเข้าไปสู่ความสนใจของประชาคมโลก พลเมืองโลกระดับรากหญ้า ได้ตระหนักถึงปัญหาความเสื่อมโทรมทางสิ่งแวดล้อม ที่ปรากฏให้เห็นโดยทั่วไปอย่างเด่นชัดเป็นอย่างดี ในทางกลับกันนักการเมืองระดับประเทศกลับมองไม่เห็น ดังนั้นจึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า หัวข้อเรื่องสิ่งแวดล้อมดังกล่าว จะไม่เคยได้รับการบรรจุเข้าไปในวาระการประชุมทางการเมืองระดับชาติเลย
          อย่างไรก็ตาม แนวคิดเรื่องการกำหนดให้มีวันคุ้มครองโลกขึ้นก็มีความผันแปรเรื่อยมา จากครั้งแรกที่มีการนำเสนอตลอดระยะเวลา 7 ปีของการรณรงค์ จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2512 วุฒิสมาชิกเนลสัน ได้ตัดสินใจจัดให้มีการชุมนุมประชากรระดับรากหญ้าทั่วประเทศขึ้น เพื่อแสดงความคิดเห็นในปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม และได้เชิญชวนทุกๆ คนให้เข้าร่วมในการชุมนุมดังกล่าว ผลจากความห่วงใยเรื่องวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่เป็นอยู่ของคนในสังคมขณะนั้น ทำให้กลุ่มคนจำนวนมากเข้าร่วมการชุมนุมในครั้งนั้น ซึ่งเป็นที่ปรากฏชัดว่า กิจกรรมชุมนุมดังกล่าวเป็นการนำไปสู่ความสำเร็จอันงดงามของการก่อตั้งวันคุ้มครองโลกขึ้น
ในที่สุด วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2513 “วันคุ้มครองโลก” ก็ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก นิตยสาร อเมริกัน เฮริเทจ (American Heritage Magazine) ฉบับเดือนตุลาคม พ.ศ. 2536 ได้หวนรำลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่า “เป็นเหตุการณ์ที่โดดเด่นที่สุดเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ของประชาธิปไตย”


เป้าหมายของวันคุ้มครองโลก
            1. เพื่อลดอัตราการเกิดคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีอยู่อย่างหนาแน่นในบรรยากาศ
            2. เพื่อกำจัดคลอโรฟลูออโรคาร์บอนซึ่งเป็นตัวทำลายสภาพโอโซนและก่อให้เกิดการสะสมความร้อนให้หมดสิ้นไป
            3. เพื่ออนุรักษ์สภาพป่าที่เหลืออยู่ ทั้งที่เป็นป่าเบญจพรรณและป่าดงดิบ
            4. เพื่อห้ามการซื้อ-ขายสิ่งมีชีวิตที่อาจทำให้ภาวะการเจริญพันธุ์ลดลงหรือหมดสิ้นไป
            5. เพื่อคงสภาพระดับประชากรไว้ให้อยู่ในสภาพที่สมดุลกับทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่
            6. เพื่อสร้างพลังอำนาจจากองค์กรต่างๆ ทั่วโลกให้ร่วมกันปกป้องบรรยากาศ น้ำ และสภาพอื่นๆ ให้พ้นจากการกระทำที่มิชอบของมนุษย์
            7. เพื่อสร้างสำนึกในอันที่จะรักษาโลกไว้ทั้งบุคคล ชุมชนและชาติ
อ้างอิง
http://www.lib.ru.ac.th/journal/apr/apr22-EarthDay.html
http://www.dhammakaya.or.th/events/490422_earthday_th.php
http://www.deqp.go.th/info/envDayDetail.jsp?id=20&languageID=th

วันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2554

วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2554

Carbon Footprint (CF) คืออะไร

Carbon Footprint (CF) คืออะไร
Carbon Footprint (CF) คืออะไร
 จากความตื่นตระหนกถึงผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ทำให้หลายหน่วยงานเริ่มให้ความสนใจในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ Carbon Footprint เริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น

Carbon Footprint (CF: รอยเท้าคาร์บอน) หรือที่บางท่านเรียกว่า carbon profile (ข้อมูลรวมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์) คือ ปริมาณรวมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และ ก๊าซเรือนกระจก อื่นๆ อาทิ ก๊าซมีเทน ก๊าซหัวเราะ เป็นต้น ที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์หรือบริการ (ตามข้อกำหนด ISO 14040) ตลอดวัฏจักรชีวิต ทั้งนี้ แหล่งกำเนิดของก๊าซดังกล่าวมาจากกิจกรรมต่างๆ อาทิ การใช้ไฟฟ้า การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล กระบวนการในภาคอุตสาหกรรม กสิกรรม เป็นต้น
Carbon Footprint (CF) คืออะไร
จากความตื่นตระหนกถึงผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ทำให้หลายหน่วยงานเริ่มให้ความสนใจในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ Carbon Footprint เริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น

Carbon Footprint (CF: รอยเท้าคาร์บอน) หรือที่บางท่านเรียกว่า carbon profile (ข้อมูลรวมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์) คือ ปริมาณรวมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และ ก๊าซเรือนกระจก อื่นๆ อาทิ ก๊าซมีเทน ก๊าซหัวเราะ เป็นต้น ที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์หรือบริการ (ตามข้อกำหนด ISO 14040) ตลอดวัฏจักรชีวิต ทั้งนี้ แหล่งกำเนิดของก๊าซดังกล่าวมาจากกิจกรรมต่างๆ อาทิ การใช้ไฟฟ้า การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล กระบวนการในภาคอุตสาหกรรม กสิกรรม เป็นต้น

รอยเท้าคาร์บอน เป็น"การวัด"ผลกระทบของผลิตภัณฑ์และบริการจากกิจกรรมของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมเชิงปริมาณ โดยใช้ตัวบ่งชี้ โอกาสในการเกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming Potential, GWP) ทั้งนี้องค์กร Intergovernmental Panel on Climate Change; IPCC ได้กำหนดค่า GWP ของก๊าซต่างๆ โดยเปรียบเทียบกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในระยะเวลาที่กำหนด อาทิ 20, 100, 500 ปี ทั้งนี้ โดยทั่วไปจะใช้ค่า GWP ของก๊าซเรือนกระจก ที่ระยะเวลา 100 ปี ดังแสดงในตารางด้านล่าง
 

Species
Chemical formula
GWP100
Carbon dioxide
CO2
1
Methane
CH4
21
Nitrous oxide
N2O
310
Hydrofluorocarbon
HFCs
140 – 11,700
Sulphur hexafluoride
SF6
23,900
Perfluorocarbon
PFCs
6,500 – 9,200

การตรวจวัด รอยเท้าคาร์บอน ทำได้อย่างไร ?????
สามารถคำนวณ / วัดโดยใช้หลักการการประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment: LCA) ซึ่งเป็นหลักการตามมาตรฐานสกล ISO 14040, 14044 ที่ใช้สำหรับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมตลอดวัฏจักรชีวิต โดยรอยเท้าคาร์บอน จัดเป็นหัวข้อหนึ่งของหลักการการประเมินวัฎจักรชีวิต
ข้อควรระวัง!!!!
รอยเท้าคาร์บอนเป็นการวัดโดยให้ความสนใจในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียงอย่างเดียว ดังนั้น ผู้เกี่ยวข้องต้องระวังในการวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล เนื่องจากอาจเกิด Burden shift หรือการโอนย้ายผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นผลให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการให้ลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านอื่นสูงขึ้นเพื่อชดเชยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
* สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในเอกสารเผยแพร่ของศูนย์เฉพาะทางการประเมินวัฏจักรชีวิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศเศรษฐกิจ
เอกสารอ้างอิง :
Carbon Footprint – what it is and how to measure it, European Platform on LCA, IES, JRC รอยเท้าคาร์บอน จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศึกษาดูงานการต่อหัวแก๊สชีวภาพ

12 เมษายน 2554
ศึกษาดูงานที่ รพ.สต.ปลาโหล









 

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

รายงาน Online ชุดกิจกรรมอำเภอท้าทาย ปี 2554

รายงาน Online ชุดกิจกรรมอำเภอท้าทาย ปี 2554
1. สุขภาพดีวิถีไทย
2. เมืองน่าอยู่
3. ผู้พิการ
4. โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
5. ประเมินผลหมู่บ้านสายใยรัก
6. ศูนย์สามวัยในสถานบริการ

ชี้แจง
เนื่องจากผู้บริหารระดับอำเภอ (สาธารณสุขอำเภอพังโคน และผู้อำนวยการโรงพยาบาลพังโคน) เร่งรัดและให้ความสำคัญในงานอำเภอท้าทายเป็นอย่างมาก จึงขอให้ดำเนินการดังนี้
** ขอความกรุณาให้ผู้รับผิดชอบงานแต่ละงาน (จนท.สังกัด รพ.สต.แร่) เข้าไปกรอกข้อมูล Online ตามลิงค์ข้างบนนี้ ให้เสร็จภายในวันที่ 8 เมษายน 2554 (เพราะเมื่อเสร็จงานนี้ก็จะมีงานเข้ามาอีก)
จึงขอให้ทุกท่านรีบดำเนินการในส่วนที่ตนเกี่ยวข้องต่อไป (ส่วนใดลงไม่ได้เนื่องจากเหตุสุดวิสัย หรือตนไม่ได้รับผิดชอบก็ให้เว้นไว้ หรืออาจจะเขียนเหตุผลไว้ท้ายหัวข้อนั้นๆ ไว้ด้วยก็ได้)
**เมื่อดำเนินการเรียบร้อย จะได้ประมวลผลรายงานให้ผู้บริหารทราบต่อไป (จะทำการรวบรวมรายงานผลระบุแยกเป็นผลงานรายบุคคล ตามงานที่แต่ละคนรับผิดชอบ เช่น อ้อมใจ ก็จะประมวลผลงานเฉพาะในส่วนที่เป็นงานทันตะ สายสุดา ก็จะประมวลผลสรุปในส่วนที่เกี่ยวข้องเช่น ผู้พิการ สายใยรัก เป็นต้น )
ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความร่วมมือ  และขอให้มีความสุขในวันปีใหม่ไทย ซึ่งกำลังจะถึงนี้
Happy Thai New Year 2554
(นายมงคล โชตแสง) >>

วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2554

แผนปฎิบัติการด้านส่งเสริมสุขภาพ ปีงบประมาณ 2554

แผนปฎิบัติการด้านส่งเสริมสุขภาพ ปีงบประมาณ 2554
กองทุนระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลแร่
อำเภอพังโคน  จังหวัดสกลนคร
งบประมาณทั้งสิ้น.........................บาท
ประชุมพิจารณาแผน เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2554 ณ ห้องประชุม อบต.แร่

ลำดับโครงการงบประมาณผู้รับผิดชอบ
1ประกวดหมู่บ้านสุขภาพดี วิถีพอเพียง อบต.
2มหกรรมส่งเสริมสุขภาพ "สุขภาพดี 100 ปี ชีวีมีสุข" อบต.
3ส่งเสริมสุขภาพเด็กและเยาวชน โภชนาการดีชีวีมีสุข อบต.
4บริหารจัดการกองทุน อบต.
5ประกวดหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย รพ.สต.แร่
6พัฒนาศักยภาพกองทุนเกลือเสริมไอโอดีน รพ.สต.แร่
7วิ่งทดสอบสมรรถภาพ 2.4 กม. อสม.
8ส่งเสริมการออกกำลังกายอย่างยั่งยืน อสม.
9พัฒนานักกรีฑาผู้สูงอายุ(35 ปีขึ้นไป) เพื่อการแข่งขันสูความเป็นเลิศ ชมรมวิ่ง
10หมู่บ้านปลอดเหล้าในงานบุญ อสม.
11การออกกำลังกายเดินวิ่งทดสอบสมรรถภาพเชิงสร้างสรรค์ ในเขต รพ.สต.โคกสะอาด อสม.
12ใส่ใจป้องกันมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม รพ.สต.โคกฯ