จำนวนการดูหน้าเว็บรวม (เริ่มนับ พฤศจิกายน 2553)

วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555

ประมวลภาพวิ่งนิเทศงาน-อำลาตำแหน่ง 120 วัน 18 อำเภอ



# วีดีโอบันทึกภาพการเดินทาง โดยการวิ่ง ตลอดระยะทาง 1748 กม. [บนถนนสายสร้างสุขภาพที่เชื่อมต่อในพื้นที่จังหวัดสกลนคร 18 อำเภอ 120 ตำบล] วิ่งนิเทศงานสร้างสุขภาพและอำลาตำแหน่ง ของ รศ.พิเศษ ทันตแพทย์ ดอกเตอร์ สุขสมัย สมพงษ์ (นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ ด้านส่งเสริมพัฒนา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร)

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

ความสำคัญของแฟ้ม PERSON

ความสำคัญของแฟ้ม PERSON ในการกำหนดเป้าหมายของงานบริการสาธารณสุข

ตามเงื่อนไขของ TYPEAREA ที่ต้องบันทึกให้ถูกต้อง คือ
1 = มีชื่ออยู่ตามทะเบียนบ้านในเขตรับผิดชอบและอยู่จริง
2 = มีชื่ออยู่ตามทะเบีบนบ้านในเขตรับผิดชอบแต่ตัวไม่อยู่จริง
3 = มาอาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบแต่ทะเบียนบ้านอยู่นอกเขตรับผิดชอบ
4 = ที่อาศัยอยู่นอกเขตรับผิดชอบและเข้ามารับบริการ
0 = มาอาศัยในเขตรับผิดชอบแต่ไม่ได้อยู่ตามทะเบียนบ้านในเขตรับผิดชอบ เช่น คนเร่ร่อน ไม่มีที่พักอาศัย เป็นต้น

ดังนั้น เมื่อต้องการอยากทราบว่าในเขตรับผิดชอบมีประชาชนอยู่อาศัยจริง มีจำนวนเท่าไร จึงนับจำนวนคนที่มี TypeArea = 1 และ 3 มารวมกัน และนำไปคิดเป้าหมายของงานต่าง ๆ เช่น
กลุ่มอายุ 0 - 1 ปี เป็นเป้าหมายงาน EPI ,ANC
กลุ่มอายุ 0 - 5 ปี เป็นเป้าหมายงาน โภชนาการ
กลุ่มอายุ 6 - 14 ปี เป็นเป้าหมายงาน โภชนาการ
กลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไป เป็นเป้าหมายงาน คัดกรอง DM ,HT
กลุ่มอายุ 15 - 49 ปี (หญิง)เป็นเป้าหมายงาน FP
และเป้าหมายอื่น ๆ โดยเฉพาะ การคิด อัตราการใช้บริการ OP ของคนในเขตรับผิดชอบ

ถ้าระบุ TypeArea ไม่ถูกต้องเป้าหมายก็ผิดเพี้ยน พอนำผลงานการบันทึกข้อมูลมาเปรียบเทียบกับเป้าหมาย ค่าที่ได้ก็จะผิดเพียนตาม ซึ่งถ้าเป็นจำนวนที่มากก็ส่งผลให้ถูกระงับการเงินได้ เช่น

กรณี มีการบันทึกกลุ่มเป้าหมายอายุ 15 ปีขึ้นไปในเขต = 3,000 คน แต่มีการคัดกรอง DM HT เป็นจำนวนถึง 5,000 คน หรือคัดกรองเพียง 500 คน
กรณีแรกถูก pending เนื่องจากผลงานสูงกว่าเป้าหมายมาก คำถามคือ คัดกรองใคร จากที่ไหน เพราะในมาตรฐานของงานกำหนดให้คัดกรองเพาะคนในเขตเท่านั้น
กรณีที่สอง ผลงานต่ำกว่าเป้าหมายมาก คำถามคือ เป้าหมายอาจกำหนดไม่ถูกต้อง person มีปัญหาหรือไม่?

ในปี 2556 จะนำ TypeArea 1 + 3 ในแฟ้ม person มาวิเคราะห์ทุกแฟ้มที่เป็นงานบริการและจะนำมากำหนดเป็นเป้าหมายของทุกหน่วยงาน โดยจะประกาศให้ทราบว่าหน่วยงานบันทึกเป้าหมายของตนเองมาจำนวนเท่าใด จะได้วางแผนการดำเนินงานได้ถูกต้อง

ทั้งนี้ มีคำแนะนำสำหรับการส่งแฟ้ม person คือ ควรส่งแฟ้ม person แยกต่างหากจากแฟ้มงานอื่น ๆ และจดบันทึกให้ดีว่าส่งเมื่อใด ในแฟ้มชื่ออะไร เนื่องจากถ้าเกิดมีปัญหาจะได้แก้ไขเฉพาะแฟ้ม person เพียงแฟ้มเดียว ไม่กระทบแฟ้มงานอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องครับ
--------------------------
ที่มา : ชัยวัฒน์ ดลยวัฒนา, 19 กรกฎาคม 2555 เวลา 22:50:37 น.
http://op.nhso.go.th/op/webboard/eBoardView.do?id=5160 สืบค้นวันที่ 25 กันยายน 2555

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

ปัญหาสุขภาพที่สำคัญ 5 ลำดับแรก

ปัญหาสุขภาพที่สำคัญ 5 ลำดับแรกคือ  (ข้อมูล ปี 2554) รพ.สต.แร่

1.             โรคระบบหายใจ.......Diseases of the respiratory system
1,125
2.             โรคระบบย่อยอาหาร รวมโรคในช่องปาก........Diseases  of the digrestive  system
788
3.             อาการ, อาการแสดงและสิ่งผิดปกติที่พบได้จากการตรวจทางคลินิกและทาห้อปฏิบัติการที่ไม่สามารถจำแนกโรคในกลุ่มอื่นได้
491
4.             โรคระบบกล้ามเนื้อ รวมโครงร่าง และเนื้อยึดเสริม..........Diseases of the musculoskeletal system and  connective tissue
322
5.             โรคระบบไหลเวียนเลือด........Diseases of the  circulatory  system
148

แบบรายงานการดำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพดีวิถีชีวิตไทย ตำบลแร่ ปี 2555


แบบรายงานการดำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพดีวิถีชีวิตไทย ปี  2555
**********************
                ตำบลจัดการสุขภาพดีวิถีชีวิตไทย หมายถึง ตำบลที่มีกระบวนการสร้างสุขภาพดีวิถีชีวิตไทยที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบทบาทภาคประชาชน ท้องถิ่น และทุกๆ ภาคส่วนในท้องถิ่น ที่มีการบูรณาการร่วมกัน ช่วยกันค้นหาหรือกำหนดปัญหาสุขภาพ กำหนดอนาคต ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาด้านสุขภาพและมาตรการทางสังคม รวมทั้งนวัตกรรมต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ด้วยความตั้งใจ เต็มใจ มีจิตสำนึกสาธารณะ โดยเน้นกระบวนการการมีส่วนร่วมและเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อลดปัจจัยเสี่ยง (๓อ. ๒ส.) และ โรควิถีชีวิต ๕ โรค ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ หลอดเลือดสมอง และมะเร็ง
ชื่อตำบลแร่   อำเภอพังโคน   จังหวัดสกลนคร
ตำบลจัดการสุขภาพดีวิถีชีวิตไทย ประกอบด้วย  6  ส่วน       
ส่วนที่ 1.  ข้อมูลทั่วไปของตำบล                                        ส่วนที่ 2.  ทีมงานตำบลจัดการสุขภาพ    
ส่วนที่ 3.  กระบวนการพัฒนาตำบลจัดการสุขภาพ         ส่วนที่ 4.  ผลการดำเนินงานพัฒนาตำบลจัดการสุขภาพ
ส่วนที่ 5.  ปัจจัยแห่งความสำเร็จ   ปัญหา   อุปสรรคและข้อเสนอแนะ 
ส่วนที่ ๖.  ผลการประเมินเพื่อการพัฒนาตำบลจัดการสุขภาพ
ส่วนที่ 1. ข้อมูลทั่วไปของตำบล




                ๑.๑ ด้านภูมิศาสตร์
·    แผนที่แสดงพื้นที่รับผิดชอบของตำบลแร่
      

ที่ตั้งและอาณาเขต

                               ตำบลแร่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอพังโคน        และทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดสกลนคร    ห่างจากตัวอำเภอพังโคนประมาณ  8   กิโลเมตร  และห่างจากจังหวัดสกลนครประมาณ   54  กิโลเมตร     มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลและอำเภอข้างเคียง   ดังนี้
                                ทิศเหนือ               จรดตำบลไฮหย่อง              อำเภอพังโคน
                                ทิศตะวันออก       จรดตำบลช้างมิ่ง                 อำเภอพรรณานิคม
                                ทิศใต้                     จรดตำบลนาใน                   อำเภอพรรณานิคม
                                                                จรดตำบลปลาโหล              อำเภอวาริชภูมิ
                                ทิศตะวันออก       จรดตำบลพังโคน                อำเภอพังโคน
                                ตำบลแร่มีพื้นที่ทั้งหมด  35,025  ไร่  หรือ  56.04  ตารางกิโลเมตร  มีพื้นที่เพื่อการเกษตร  18,887 ไร่  คิดเป็น 54 %  ของพื้นที่ทั้งหมด เกษตรกร  92  % มีพื้นที่ทำกินเป็นของตนเอง
                สภาพภูมิประเทศ  
พื้นที่ตำบลแร่มีลักษณะเป็นพื้นที่ลาดจากที่ราบเชิงเขาภูพานทางทิศใต้ตอนกลางของตำบลด้านทิศเหนือของตำบลสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ  180 210  เมตร  จากสภาพดังกล่าวสามารถแบ่งออกเป็นสองเขตย่อยตามพื้นที่ออกเป็น  3  เขต  คือ
1.  เขตที่  1  เขตที่สูง  มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนตื้นอยู่ตอนกลางของตำบลดินที่ดอนเป็นดินปนทราย  มีปัญหาการชะล้างสูงและดินเหนียวปนลูกรัง  ความอุดมสมบูรณ์ต่ำเขตนี้ยังสามารถแบ่งออกเป็นสองเขตย่อยตามพื้นที่ที่ได้รับน้ำชลประทาน
2.  เขตที่  2  เขตที่ดอนที่ได้รับน้ำชลประทาน  ได้แก่  พื้นที่หมู่บ้านหนองไฮใหญ่  บ้านหนองบัว  บ้านหนองบัวหลวง  บ้านหนองไฮน้อย  ตำบลแร่  อำเภอพังโคน  จังหวัดสกลนคร
3.  เขตที่  3  เขตที่ราบลุ่ม  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่ม  อยู่บริเวณตอนกลางถึงด้านเหนือของตำบล  ดินมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย  ดินร่วนเหนียว  พื้นที่เขตนี้ส่วนใหญ่ได้รับน้ำชลประทาน ได้แก่ พื้นที่ หมู่ที่  1  บ้านแร่ หมู่ที่ 2  บ้านสมสะอาด หมู่ที่  12  บ้านสมสะอาด 2   หมู่ที่  10 บ้านด่านพัฒนา หมู่ที่  14  บ้านแร่
สภาพภูมิอากาศ  
ตำบลแร่จัดอยู่ในเขตที่มีฝนดี  ทั้งปริมาณน้ำฝนและการกระจายการตกของฝนมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย  1,861  มิลลิเมตร / ปี  มีจำนวนฝนตกเฉลี่ย  123 ครั้ง / ปี 
                ข้อมูลด้านแหล่งน้ำเพื่ออุปโภคและบริโภค
1. แหล่งน้ำธรรมชาติ
- ห้วย  มีลำห้วยลำน้ำอูน  ห้วยกุดแร่  ห้วยคำไพ  ห้วยหินลาด  ห้วยจิบแจบ  ห้วยยาง  (ห้วยคำโพธิ์)
- หนองน้ำธรรมชาติ   มีหนองเหมือด  หนองไฮ  หนองแร่  หนองแวง  หนองยาง  หนองแคน   
                                2. อ่างเก็บน้ำน้ำอูน  เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่  พื้นที่อ่างเก็บน้ำ  85  ตารางกิโลเมตร  หรือประมาณ  53,125  ไร่  แผ่กระจายไปพื้นที่อำเภอวาริชภูมิ  อำเภอนิคมน้ำอูน  อำเภอกุดบาก  และอำเภอพรรณนานิคม  อยู่ในพื้นที่อำเภอพังโคน (ตำบลแร่)  ประมาณ  18  ตารางกิโลเมตร  หรือประมาณ  11,250  ไร่  อ่างเก็บน้ำมีประโยชน์มหาศาล  เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญให้ประโยชน์ทั้งด้านการเกษตร การประมง  และเป็นแหล่งท่องเที่ยวด้วย กักเก็บน้ำได้ถึง  520 767  ล้านลูกบาศก์เมตร 
                                3. คลองชลประทาน  เป็นคลองชลประทานที่ต่อเนื่องจากเขื่อนน้ำอูนและอ่างเก็บน้ำน้ำอูนคลองชลประทานจะเริ่มจากตำบลแร่ ไปถึงตำบลไฮหย่อง และตำบลต้นผึ้ง (บางหมู่บ้าน)  ไปถึงพื้นที่อำเภอพรรณนานิคม และอำเภอเมืองสกลนคร  รวมพื้นที่ชลประทานในฤดูฝน (ส่งน้ำเสริมน้ำฝน) ประมาณ  185,800 ไร่ และในฤดูแล้ง  พื้นที่  63,000  ไร่  สำหรับในพื้นที่ตำบลแร่  มีหมู่บ้านได้รับผลประโยชน์  7  หมู่บ้าน มีคลองชลประทานสายใหญ่ สายซอย สายย่อย  รวม   7   สาย
ข้อมูลด้านทรัพยากร
                                                ตำบลแร่ มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย ที่สำคัญได้แก่  น้ำ  ปลาธรรมชาติ  กก  น้ำตกแม่อูน  และเขื่อนน้ำอูน  ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของตำบลแร่  นอกจากนั้นยังมีสิ่งเหลือใช้จากผลผลิตทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก เช่น ฟางข้าว  ซังข้าวโพด  เป็นต้น
                ข้อมูลด้านสาธารณูปการในตำบล
-                    มีน้ำประปาขนาดใหญ่  1  แห่ง
-                     มีระบบประปาขนาดเล็ก    10    แห่ง
-                    ตู้โทรศัพท์สาธารณะ     13     ตู้
-                     สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า         1     แห่ง
-                    ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข   1      แห่ง
-                     ฉางข้าวในหมู่บ้าน         14     แห่ง
-                    ถนนลาดยาง                     5       สาย
-                    ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กภายในหมู่บ้าน  มีประมาณ     60  %   ของทุกหมู่บ้าน
-                    มีไฟฟ้าให้ทุกครัวเรือน
-                    มีพาหนะในการเดินทาง(รถจักรยาน , รถจักรยานยนต์ , รถยนต์)  และพาหนะในการทำการเกษตร(รถไถนา)   ทุกครัวเรือน
ข้อมูลด้านสถานศึกษาของตำบล
-                    โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน                   5              แห่ง
-                     ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก                       จำนวน                   2              แห่ง
-                    แหล่งการเรียนรู้ชุมชน จำนวน                   2              แห่ง
-                    สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรสกลนคร (คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิยาเขตสกลนคร)      จำนวน         1      แห่ง
ข้อมูลด้านสาธารณสุข
-                    สถานีอนามัย                   จำนวน                 2              แห่ง
-                    ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน  จำนวน    14           แห่ง

                         ๑.๒ ด้านปกครอง
·    หมู่บ้านที่รับผิดชอบ จำนวน 9 หมู่บ้าน
-                   หมู่ 1 บ้านแร่
-                   หมู่ 2 บ้านสมสะอาด
-                   หมู่ 4 บ้านหนองบัว
-                   หมู่ 5 บ้านบะแต้
-                   หมู่ 10 บ้านด่านพัฒนา
-                   หมู่ 11 บ้านหนองบัวหลวง
-                   หมู่ 12 บ้านสมสะอาด
-                   หมู่ 13 บ้านเจริญสุข
-                   หมู่ 14 บ้านแร่
·         ข้อมูลของประชากรที่รับผิดชอบ
 
                       จำนวนประชากรที่รับผิดชอบทั้งหมด 6,580 คน เพศชาย 3,179 คน เพศหญิง 3,401 คน  ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก มีการทำนาปรัง  ปลูกผัก  พืชสวน  พืชฤดูแล้ง  และเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพเสริม เนื่องจากอยู่ในเขตชลประทานน้ำอูน จึงมีน้ำสำหรับทำการเกษตรตลอดทั้งปี
รายได้รวมและเฉลี่ยต่อครัวเรือน/ต่อคน/ต่อปี ในหมู่บ้าน
รายได้จากการประกอบอาชีพของประชากร
จำนวนรายได้เฉลี่ย(บาท)
1.รายได้รวมทั้งตำบล
2.รายได้เฉลี่ย/ครัวเรือน/ปี
3.รายได้เฉลี่ย/คน/ปี
274,115,510
127,555
32,501
จำนวนประชากร จำแนกตามเพศ รายหมู่บ้าน
หมู่ที่ 
ชื่อหมู่บ้าน
จำนวนประชากร (คน)
ชาย
หญิง
รวม
1
แร่
362
367
729
2
สมสะอาด
476
486
962
4
หนองบัว
623
672
1295
5
บะแต้
181
216
397
10
ด่านพัฒนา
392
432
824
11
หนองบัวหลวง
303
322
625
12
สมสะอาด
375
389
764
13
เจริญสุข
162
186
348
14
แร่
305
331
636
รวม
3179
3401
6580




๑.๓ ด้านสังคม (โรงเรียน สถานีตำรวจ วัด กลุ่มสังคม ทุนทางสังคม)

ข้อมูลด้านสังคมประเพณีและวัฒนธรรม

                                ประชากรประมาณ  99 %  ของตำบลแร่นับถือศาสนาพุทธ  มีวัดในตำบลแร่ทั้งสิ้น 13  แห่ง มีสำนักสงฆ์    2   แห่ง   วัฒนธรรมและประเพณีส่วนใหญ่เหมือนกับชุมชนภาคอีสานทั่วไป  เช่น   บุญผเวช  (บุญมหาชาติ)  งานสงกรานต์    และพิธีรดน้ำดำหัว  ทำบุญเข้าพรรษา  บุญข้าวประดับดิน  บุญข้าวสาก บุญออกพรรษา ประเพณีที่เกี่ยวกับศาสนา  บุญกฐิน และลอยกระทง  ส่วนชุมชนที่เป็นกลุ่มชุนชนไทยโซ่ยังคงมีการนับถือผีสางอย่างเหนียวแน่นและมีประเพณีโซ่ทั่งบั้ง ซึ่งเป็นประเพณีเฉพาะของชนเผ่า

                ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวและโบราณคดี                            

                                แหล่งท่องเที่ยว

-                   อ่างเก็บน้ำเขื่อนน้ำอูน

-                   น้ำตกแม่อูน

-                   น้ำตกอินจิ๋ว

                                แหล่งโบราณคดี

-                   ศิลาจารึกที่วัดธาตุร้าง  (อยู่หน้าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแร่)

-                   ศิลาจารึกที่หน้าพระอุโบสถ วัดเหนือศรีสะอาด  บ้านแร่

-                   พระธาตุ  (อยู่หน้าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแร่)

-                   วัดร้าง  2  แห่ง  คือ บริเวณที่ตั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแร่ และบริเวณที่ตั้งสำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลแร่ และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านด่าน

-                   สิมกลางน้ำ ที่กุดสิม  และศาลาลงสานที่โนนกลางริมหนองเหมือด

                ข้อมูลร้านค้าและสถานบริการในตำบล

-                   มีร้านค้าในหมู่บ้านทั้งตำบล              จำนวน     45           แห่ง

-                   มีสถานที่บริการที่พัก(รีสอร์ท)          จำนวน      1             แห่ง 

-                   มีห้องสมุดประชาชน                           จำนวน                   2             แห่ง

ข้อมูลกลุ่มองค์กรชุมชน/ปราชญ์ชาวบ้าน

                                กลุ่มองค์กรชุมชน

1.  กลุ่มพัฒนาสตรี                                                               จำนวน                   14           กลุ่ม

2.  กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร                                                     จำนวน                   14           กลุ่ม

3.  กลุ่มแปรรูปสมุนไพร (หมู่ 7)                                        จำนวน                   1              กลุ่ม

4.  กลุ่มทอเสื่อกก (หมู่ 14)                                  จำนวน                   1              กลุ่ม

5.  กลุ่มหลวดหนาม                                                             จำนวน                   2              กลุ่ม

6.  กลุ่มผลิตปุ๋ยชีวภาพชุมชนตำบลแร่                              จำนวน                   1              กลุ่ม

7.  ชมรมผู้สูงอายุ                                                  จำนวน                   15           ชมรม

8.  กลุ่มเพาะเห็ด (หมู่ 2)                                                       จำนวน                   1              กลุ่ม

9.  กลุ่มเกษตรกรทำนาแร่                                                   จำนวน                   1              กลุ่ม

10. กลุ่มเลี้ยงสัตว์ตำบลแร่                                  จำนวน                   1              กลุ่ม

11. ธนาคารหมู่บ้านเจริญสุข                                              จำนวน                   1              แห่ง

                12. กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงตำบลแร่                   จำนวน                   1              กลุ่ม

                13. ศูนย์พัฒนาครอบครัวตำบลแร่                                     จำนวน                   1              กลุ่ม



            อัตลักษณ์ (จุดเด่นของตำบลแร่)

1.      อยู่ใกล้สถานศึกษาคือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน  วิทยาเขตสกลนคร  และสถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรสกลนคร 

2.      มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติคือ  เขื่อนน้ำอูน  น้ำตกแม่อูน  น้ำตกอินจิ๋ว และวัดดอยเนรมิต 

3.      มีสภาพภูมิทัศน์ที่สวยงามเพราะอยู่ในพื้นที่ลาดจากที่ราบสูงเชิงเขาภูพาน มองเห็นเทือกเขาภูพานเป็นบางส่วน

4.      มีชนเผ่าไทโซ่ (ไทบลู)  อาศัยอยู่พื้นที่ตำบลแร่ และมีวัฒนธรรมประจำชนเผ่าคือ การแสดงโซ่ทั่งบั้ง

5.      ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี  มีงานบุญประเพณีที่ยังคมสืบต่อกันมาทุกหมู่บ้านคือ บุญเผวช(บุญมหาชาติ)  บุญข้าวประดับดิน  งานสงกรานต์  และพิธีรดน้ำรดหัว  ทำบุญเข้าพรรษา  บุญกฐิน  และประเพณีลอยกระทง

6.      ด้านการชลประทาน  มีคลองส่งน้ำชลประทานจากเขื่อนน้ำอูนผ่านพื้นที่ตำบลแร่ไปยังพื้นที่ต่าง ๆ

7.      ด้านกลุ่มอาชีพต่าง ๆ  คือ กลุ่มเพาะเห็ดและกลุ่มแปรรูปผลผลิตการเกษตร , กลุ่มแปรรูปสมุนไพร , กลุ่มผลิตลวดหนาม , กลุ่มจักสาน , กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ , 
กลุ่มผู้เลี้ยงปลา ,กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต , กลุ่มทอเสื่อกก ทุกกลุ่มมีความเข้มแข็ง  และดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

8.      ด้านการปศุสัตว์ มีการเลี้ยงโค กระบือ เป็นจำนวนมากในบริเวณรอบเขื่อนน้ำอูน

9.      ชมรมผู้สูงอายุตำบลแร่  และชมรมผู้สูงอายุในหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน

10.         แหล่งโบราณคดี

-                   ศิลาจารึกที่วัดธาตุร้าง 

-                   ศิลาจารึกที่หน้าพระอุโบสถ วัดเหนือศรีสะอาด 

-                   พระธาตุร้าง 

-                   วัดร้าง  2  แห่ง

-                   สิมกลางที่กุดสิม  และศาลาลงสานที่โนนกลางริมหนองเหมือด

11.         มีป่าชุมชนในพื้นที่ตำบลแร่

12.         มีกลุ่มกลองยาวพื้นบ้าน







                1.4 ข้อมูลด้านสุขภาพ

กลุ่มเป้าหมาย
จำนวน (คน)
ชาย
หญิง
รวม
สัดส่วน %
เด็กก่อนวัยเรียน (อายุ 0-6 ปี)
232
202
434
6.48
เด็กวัยเรียน (อายุ 7-18 ปี)
574
587
1,161
17.33
วัยทำงาน (อายุ 19-60 ปี)
2,104
2,283
4,387
65.48
ผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป)
334
384
718
10.72

- จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวาน 209  คน                            - จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง   143  คน

- จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อน   17    คน แยกเป็น

                                1. ตา    จำนวน  3   คน    
                                                2. ไต    จำนวน  7
   คน           
                                3. หัวใจ    จำนวน  5   คน
                                               4. ทางเดินหายใจ จำนวน  2   คน

- จำนวนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน – โรคความดันโลหิตสูง  225  คน

- จำนวนผู้ด้อยโอกาสในชุมชน (ผู้พิการ, ผู้สูงอายุที่และผู้ป่วยเรื้อรังที่ขาดผู้ดูแล)  0  คน 

- จำนวน อสม 120   คน                   - จำนวน ศสมช  0  แห่ง

- จำนวน กสค. 1,147คน                                  - จำนวน รพ.สต.(ในตำบล)  2  แห่ง



1.5 ข้อมูลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  

1.5.1 ขนาดของ อปท.  (    )เล็ก  (  P  ) กลาง  (   )ใหญ่

1.5.2 งบประมาณที่ สนับสนุนงานด้านสุขภาพปีงบประมาณ 2555

(  P ) 1. งบสาธารณสุขมูลฐาน (10,000.-บาทต่อหมู่บ้าน/ชุมชน)

(  P ) 2. กองทุนสุขภาพระดับพื้นที่ จำนวน  265,475 บาท สนับสนุนประเด็นสุขภาพ ดังนี้

2.1 ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
= 35,000 บาท
2.2 การควบคุมป้องกันโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
=  68,750 บาท
2.3 การดูแล ส่งเสริมสุขภาพกลุ่มผู้ด้อยโอกาส (ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ฯลฯ)
= 0    บาท
2.4 งานคุ้มครองผู้บริโภค
= 22,125 บาท
2.5 งานอนามัยแม่และเด็ก
= 46,500 บาท
2.6 อื่น ๆ ระบุ............................................................................................
= 93,100 บาท

 (   ) 3. งบประมาณเพิ่มเติมจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(นอกเหนือจากข้อ 1 และ 2)

          จำนวน........................บาท สนับสนุนโครงการด้านสุขภาพเรื่อง

1.เรื่อง..................................................จำนวน....................บาท

2.เรื่อง..................................................จำนวน....................บาท

3.เรื่อง..................................................จำนวน....................บาท


ส่วนที่ 2. .  ทีมงานตำบลจัดการสุขภาพดีวิถีชีวิตไทย ประกอบด้วย







เครือข่าย
ชื่อ - นามสกุล
ตำแหน่ง
สถานที่ปฏิบัติงาน/
ที่อยู่
ช่องทางการติดต่อประสานงาน
(โทรศัพท์/โทรสาร/E- Mail)
ภาครัฐ
นางสุพรรณี หน่อแก้ว
ผอ.รพ.สต.แร่
รพ.สต.แร่
Mc20079@gmail.com
นายมงคล โชตแสง
นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
รพ.สต.แร่
ภาคประชาชน
นายสุพัฒ ฮ้อเถาว์
ผอ.โรงเรียน อสม. ตำบลแร่
นายชาญ คุยบุตร
ประธานชมรม อสม. ตำบลแร่
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
นางพัชรินทร์ บุตรแสน
ปลัด อบต.แร่
อบต.แร่
นายปราโมทย์ แกมนิรัตน์
นักวิชาการศึกษา อบต.แร่
อบต.แร่
อื่น ๆ
นายไมตรี บนปาก
ผอ.โรงเรียนบ้านหนองบัว
โรงเรียนบ้านหนองบัว
นายจอมไพร ชาติชำนิ
ประธานชมรมวิ่งเพื่อสุขภาพตำบลแร่







ส่วนที่ 3. กระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินงานพัฒนาตำบลจัดการสุขภาพดีวิถีชีวิตไทย






3.1. การสร้างและพัฒนาทีมตำบลจัดการสุขภาพ  (ระบุวิธีการ และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

(P  ) 3.1.1โดยการพูดคุยประสานงาน /ประชาสัมพันธ์ 

(P  ) 3.1.2 มีการจัดประชุมชี้แจงทำความเข้าใจ /ระดมความคิดเห็น

( P ) 3.1.3 มีคัดเลือกทีมงาน ( ระบุวิธีการได้มา) เสนอชื่อบุคคลที่สมาชิกเห็นว่าเหมาะสม ลงมติเพื่อคัดเลือก

(P  ) 3.1.4 มีการจัดตั้งคณะทำงาน /กำหนดบทบาทหน้าที่

( P ) 3.1.5 การอบรม /สัมมนา เรื่อง พัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพและการจัดทำแผนหมู่บ้าน

(P  )  3.1.6 การศึกษาดูงาน เรื่อง งานสาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ดูงานที่เทศบาลเมืองหนองคาย)

(P  ) 3.1.7 มีการอบรมความรู้ อสม.ในเรื่องการจัดทำแผนสุขภาพตำบล โดยใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์และอื่นๆโดยใช้การโสเหล่  และการประชุมประชาคม

(P )3.1.8  มีการอบรมความรู้ อสม. ในเรื่องตามนโยบายเร่งด่วน 5 โรค คือ โรคเบาหวาน / ความดันโลหิตสูง / โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และโรคมะเร็ง

(P ) 3.1.9  อื่นๆโปรดระบุ  อบรมความรู้ในเรื่อง   อุบัติเหตุ, โรคติดต่ออุบัติใหม่ โรคมือเท้าปาก

3.2 การพัฒนากระบวนการจัดทำแผนสุขภาพตำบล(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อและอธิบายวิธีการแต่ละกระบวนการ)

(  P ) 3.2.1 การเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วมในการจัดทำแผนสุขภาพตำบล ระบุ ในเวทีการประชุมจัดทำแผนสุขภาวะตำบลแร่ (จัดทำยุทธศาสตร์ตำบล)
(
P  ) 3.2.2 มีการสร้างการรับรู้ให้เกิดการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนสุขภาพตำบล  ระบุ

( P ) 3.2.3 มีและใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพของชุมชน ระบุ ข้อมูลสถานะสุขภาพ (ข้อมูลผลการคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง) ข้อมูลรายงานการเจ็บป่วย 21 กลุ่มโรค (รายงาน 504) ข้อมูลรายงาน 506  และข้อมูลปัญหาสุขภาพจากการประชุมโสเหล่ของชาวบ้าน

(P  ) 3.2.4 มีการจัดทำแผนสุขภาพตำบลโดยใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ หรืออื่นๆโดยใช้ การอบรมและจัดทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์  การประชุมโสเหล่เพื่อจัดทำแผนชุมชน

( P ) 3.2.5 มีการระดมทรัพยากรและทุนจากชุมชนมาใช้ ( กองทุนหลักประกันสุขภาพ / องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/ ทรัพยากรจากแหล่งอื่น ๆระบุ กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล, อบต.แร่, ผ้าป่า)

(  )  3.2.6อื่นๆ ( โปรดระบุ)  .................................................................................................................


ส่วนที่ 4. ผลการดำเนินงานพัฒนาตำบลจัดการสุขภาพดีวิถีชีวิตไทย







4.1 การขับเคลื่อนแผนสุขภาพตำบลสู่การปฏิบัติ  ( ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ )

       (P ) 4.1.1 มีทีมงานด้านสุขภาพระดับหมู่บ้าน         

(P ) 4.1.2 ชุมชน/ท้องถิ่นเป็นแกนนำขับเคลื่อนแผนสุขภาพตำบล/โครงการ/กิจกรรม 

               (P ) 4.1.3 มีการดำเนินกิจกรรมตามแผนสุขภาพตำบล/โครงการสุขภาพชุมชน

(P) 4.1.4  มีการดำเนินงานเชิงรุกในชุมชน เช่นการส่งเสริมสุขภาพ (๓ อ.๒ส)  การเฝ้าระวังโรค /เฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพวิถีชีวิต  การคัดกรอง การคุ้มครองผู้บริโภค การดำเนินมาตรการทางสังคมของชุมชน ฯลฯ

              (P) 4.1.5 มีแผนปฏิบัติการเตรียมความพร้อมของระบบเฝ้าระวังและการจัดการโรควิถีชีวิตเพื่อรองรับกรณีภาวะฉุกเฉินและภัยพิบัติของชุมชน ฯลฯ


4.2 แผนงาน  / โครงการพัฒนาด้านสุขภาพของตำบล ปี 2555   โปรดระบุอย่างน้อย 3 โครงการ

ชื่อโครงการ
กิจกรรมหลัก
กลุ่มเป้าหมาย
พื้นที่ดำเนินการ
(ระบุหมู่บ้าน)
แหล่งทุน
จำนวน (บาท)
องค์กรหลักที่รับผิดชอบ
1.โครงการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรค
ความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
1. ออกบริการเชิงรุกตรวจคัดกรองเบาหวาน
ความดันโลหิตสูง และหลอดเลือดหัวใจ ประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป
2. ให้สุขศึกษาเกี่ยวกับโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และหลอดเลือดหัวใจ
ประชาชน 15 ปีขึ้นไป
หมู่บ้านในตำบลแร่ ทุกหมู่บ้าน (14 หมู่บ้าน)
กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลแร่
11,600
รพ.สต.แร่ และ รพ.สต.โคกสะอาด
1.โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
1. ให้ความรู้เรื่องการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้เลือดออกทางหอกระจายข่าว
2. เดินรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
ทุกหมู่บ้านในตำบลแร่
หมู่บ้านในตำบลแร่ ทุกหมู่บ้าน (14 หมู่บ้าน)
กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลแร่
35,000
ชมรม อสม.ตำบลแร่
โครงการออกกำลังกายสร้างสุขภาพเพื่อลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
  - วิ่งสร้างสุขภาพหมุนเวียนทุกหมู่บ้าน เดือนละ 1 ครั้ง
ประชาชนทั่วไป
หมู่บ้านในตำบลแร่ ทุกหมู่บ้าน (14 หมู่บ้าน)
กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลแร่
42,000
ชมรม อสม.ตำบลแร่


4.3 ระบบการจัดการสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

       ( P ) 4.3.1 มีข้อมูลที่จำเป็นเพื่อการติดตามประเมินผล  ได้แก่ ข้อมูลผลการตรวจคัดกรองเบาหวานความดันโลหิตสูง (เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง ประวัติพฤติกรรมสุขภาพรายบุคคล การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา การออกกำลังกาย เป็นต้น)  ผลการประเมินความสะอาดครัวเรือน สรุปการจัดกิจกรรมโครงการต่างๆ

       (  P ) 4.3.2 มีกระบวนการติดตามการบริหารจัดการและการควบคุมกำกับอย่างสม่ำเสมอเชื่อมไปสู่เป้าหมายหรือวิสัยทัศน์ของชุมชน / ท้องถิ่น(บุคลากร งบประมาณ ทรัพยากรและเทคโนโลยี)ระบุวิธีการติดตามประเมินผล โดยการลงติดตามในชุมชน ติดตามในเวทีประชุม อสม. และโรงเรียน อสม. โดยการสัมภาษณ์แกนนำในชุมชน เช่น ผู้ใหญ่บ้าน ประธาน อสม. สมาชิก อบต.เป็นต้น

       (P ) 4.3.3 จำนวนหมู่บ้านที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานหมู่บ้านจัดการสุขภาพ จำนวน 9 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ  100

(ของหมู่บ้านทั้งหมด)

      (  P ) 4.3.4 จำนวนหมู่บ้านผ่านเกณฑ์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ  จำนวน 9 หมู่บ้าน

      ( P  ) 4.3.5 จำนวนหมู่บ้านผ่านเกณฑ์ชุมชนลดเสี่ยงลดโรค จำนวน 2 หมู่บ้าน

      (     ) 4.3.6 จำนวนหมู่บ้านผ่านเกณฑ์ชุมชนไร้พุง จำนวน ........หมู่บ้าน

      (P) 4.3.7 มีการประกาศใช้มาตรการทางสังคมชุมชนอย่างจริงจัง เรื่อง (ระบุ)  การปรับเงินสำหรับหลังคาเรือนที่ตรวจพบลูกน้ำยุง

4.4 ข้อมูลผู้ป่วยเบาหวาน – โรคความดันโลหิตสูง(หลังดำเนินงานแล้ว) เป้าหมาย  5,551 คน

- จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน –โรคความดันโลหิตสูง   4,462 คน (ร้อยละ 80.38)

- จำนวนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน – โรคความดันโลหิตสูง  225 คน

- จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวาน(รายใหม่)   1  คน                          

- จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง(รายใหม่) 0   คน

- จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อน 17  คน แยกเป็น

                1. แทรกซ้อนทางตา    จำนวน 3  คน

                2. แทรกซ้อนทางไต    จำนวน 7  คน
                               
3. แทรกซ้อนทางหัวใจ  จำนวน  5  คน      

                4. แทรกซ้อนทางเดินหายใจ  จำนวน  2  คน        

- จำนวนผู้ด้อยโอกาสในชุมชน (ผู้พิการ, ผู้สูงอายุที่และผู้ป่วยเรื้อรังที่ขาดผู้ดูแล)  0   คน              

4.5 การจัดการสุขภาพสุขภาพดีวิถีชีวิตไทยต้นแบบ

               (    ) 4.5.1 มีการถอดบทเรียนเพื่อการพัฒนาและการจัดการความรู้ในเรื่อง (ระบุ) โรงเรียน อสม.(สไตล์ ดร.สุขสมัย), กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและจัดการสุขภาพชุมชน

              (    ) 4.5.2 มีการจัดการนวัตกรรม (นวัตกรรมกระบวนการ และนวัตกรรมผลผลิต) ที่นำไปสู่การส่งเสริม ป้องกันโรคและการฟื้นฟูสุขภาพ  ในเรื่อง (ระบุ) กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและจัดการสุขภาพชุมชน,  นวัตกรรมโรงเรียน อสม.(สไตล์ ดร.สุขสมัย), ไอโอดีนดีลิเวอรี่


               (    ) 4.5.3 มีศูนย์เรียนรู้ /เป็นที่ศึกษาดูงาน / แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชน มีการถ่ายทอดความรู้ในชุมชนโดยพัฒนาเป็น

                                            ( P ) 1)โรงเรียน อสม.  ในเรื่อง (ระบุ) การจัดการสุขภาพชุมชน โรงเรียน อสม.สไตล์ ดร.สุขสมัย

                                           (P) 2)โรงเรียนนวัตกรรม ในเรื่อง (ระบุ) ไอโดดีนลิเวอรี่

                                           ( P) 3) ศูนย์การเรียนรู้ ในเรื่อง (ระบุ) กิจกรรมสนับสนุนการลดภาวะโลกร้อน, การจัดการสุขภาพชุมชน

                                           ( P) 4)เป็นที่ศึกษาดูงาน ในเรื่อง (ระบุ) กิจกรรมโรงเรียน อสม., กิจกรรมสนับสนุนการลดภาวะโลกร้อน

              ( P ) 4.5.4 มีการสร้างเครือข่ายการพัฒนาความร่วมมือระหว่างตำบลในเรื่อง (ระบุ) การให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยง การตรวจสุขภาพประจำปี, การจัดกิจกรรมวิ่งจ้าวสนามตำบล

                ( P ) 4.5.5 ผลงานเด่น/ที่ภาคภูมิใจ
 
                 - นำเสนอผลงาน (Oral Presentation) นวัตกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างยั่งยืนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนระดับตำบลแร่ (รางวัลชนะเลิศอันดับ 1)  วันที่   30 พฤษภาคม 2555 (จังหวัดในพื้นที่ สปสช.เขต 8 อุดรธานี)


                  - เป็นแหล่งเรียนรู้และศึกษาดูงานของพื้นที่อื่นๆ ทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด ในเรื่องกิจกรรมโรงเรียน อสม.  และกิจกรรมสนับสนุนการลดภาวะโรคร้อน

                  - ได้รับเชิญไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีการประชุม KM เบาหวานความดันโลหิตสูง ตลาดนัดความรู้...สู่พฤติกรรมใหม่จัดโดยสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ วันที่  16-17 สิงหาคม 2555

  
ส่วนที่ 5 . ปัจจัยแห่งความสำเร็จ / ปัญหา  / อุปสรรค  และข้อเสนอแนะข้อเสนอแนะในการดำเนินงานประชาชน ปี 2551




5.1        ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

                - ความร่วมมือของภาคีเครือข่ายในชุมชน ทั้งด้านงบประมาณ คณะกรรมการ กำลังคน (อสม. และแกนนำในชุมชน)
       - มีบุคลากรสาธารณสุขและ อสม.เป็นแบบอย่างในด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
               - มีการจัดการความรู้โดยสรุปบทเรียนหลังการทำงาน และเผยแพร่ผลงานทั้งภายในตำบลและนอกตำบลผ่านเว็บไซต์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

5.2 ปัญหา  /  อุปสรรค

                - ยังขาดห้องทำงานของคณะกรรมการโรงเรียน อสม. และชมรม อสม.ตำบลแร่ ที่เป็นเอกเทศ  ซึ่งปัจจุบันยังใช้ห้องประชุม รพ.สต.แร่ เป็นที่ทำงาน เดือนละ 1 ครั้ง

5.3 ข้อเสนอแนะ

                - การจัดการสุขภาพชุมชน ควรให้ทุกหมู่บ้าน (ในรูปแบบคณะกรรมการ) เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกิจกรรมร่วมกับเจ้าหน้าที่  ไม่ควรให้ชุมชนดำเนินการเพียงลำพัง เพราะการจัดการสุขภาพชุมชนไม่ใช่หน้าที่ของชุมชนเพียงฝ่ายเดียว แต่เป็นของทุกภาคีเครือข่ายที่มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน ทั้งภาครัฐและภาคประชาชน



ส่วนที่ 6 . ผลการประเมินตำบลจัดการสุขภาพดีวิถีชีวิตไทย







ระดับการประเมิน
เกณฑ์การประเมิน
ผลการประเมิน
มี
ไม่มี
ระดับพื้นฐาน
๑.การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ(ทีมงาน)
P
๑.๑ องค์ประกอบเครือข่ายที่เข้าร่วมในทีมจัดการสุขภาพตำบล
P
๑.๒ มีการสร้างและพัฒนาทีมเครือข่ายสุขภาพตำบล
P
๑.๓ มีการอบรมความรู้ อสม. ในเรื่องการจัดทำแผนสุขภาพตำบลโดยใช้ แผนที่ทางเดิน
      ยุทธศาสตร์หรือกระบวนการจัดทำแผนอย่างมีส่วนร่วมด้วยวิธีอื่นๆ
P
๑.๔ มีการอบรมความรู้ อสม. ในเรื่องโรควิถีชีวิต  ๕ โรค คือ โรคเบาหวาน
      ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง
P




ระดับการประเมิน
เกณฑ์การประเมิน
ผลการประเมิน
มี
ไม่มี
ระดับพัฒนา
การพัฒนากระบวนการจัดทำตามแผนสุขภาพตำบล (ต้องผ่านเกณฑ์ระดับพื้นฐาน)
     ๒.๑ เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วมในการจัดทำแผนสุขภาพตำบล     
P
............
     ๒.๒ มีการสร้างการรับรู้ให้เกิดมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนสุขภาพตำบล
P
............
     ๒.๓ มีและใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพชุมชนและจัดทำแผนสุขภาพตำบล
           โดยใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ หรือวิธีอื่นๆที่เป็นแนวทางการมีส่วนร่วม
P
............
    ๒.๕ มีการระดมทรัพยากรและทุนจากชุมชนมาใช้ (กองทุนหลักประกันสุขภาพ /
          องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น /ภูมิปัญญาท้องถิ่น / ทรัพยากรจากแหล่งอื่นๆ)
P
………
ระดับดี
การขับเคลื่อนแผนสุขภาพตำบลสู่การปฏิบัติ (ต้องผ่านเกณฑ์ระดับพัฒนา)
    ๓.๑ ชุมชน/ท้องถิ่นเป็นแกนนำ จัดทำแผนสุขภาพ /โครงการ /กิจกรรม
P
............
    ๓.๒ มีการดำเนินกิจกรรมตามแผนสุขภาพตำบล / โครงการสุขภาพตำบล
P
............
    ๓.๓ มีกิจกรรมดำเนินงานเชิงรุกในชุมชน เช่น การส่งเสริมสุขภาพ( ๓ อ. ๒ ส. )การเฝ้าระวังโรค เฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพวิถีชีวิต การคัดกรอง การคุ้มครอง ผู้บริโภค การดำเนินมาตรการทางสังคมของชุมชน ฯลฯ
P
............
   ๓.๔ มีแผนปฏิบัติการเตรียมความพร้อมของระบบเฝ้าระวังและการจัดการโรควิถีชีวิต 
         เพื่อรองรับกรณีภาวะฉุกเฉินและภัยพิบัติของชุมชน ฯลฯ
P
............
ระดับดีมาก
ตำบลที่มีระบบการจัดการอย่างต่อเนื่อง(ต้องผ่านเกณฑ์ระดับดี)
    ๔.๑ มีข้อมูลที่จำเป็นเพื่อการติดตามประเมินผล
P
............
    ๔.๒ มีกระบวนการติดตามการบริหารจัดการและการควบคุมกำกับอย่างสม่ำเสมอเชื่อมไปสูเป้าหมายหรือวิสัยทัศน์ของชุมชน/ ท้องถิ่น (บุคลากร งบประมาณ  ทรัพยากรและเทคโนโลยี)
P
............
    ๔.๓ มีหมู่บ้านจัดการสุขภาพวิถีชีวิตไทยที่ผ่านเกณฑ์การประเมินหมู่บ้านจัดการสุขภาพ/หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ/ชุมชนลดเสี่ยงลดโรค/ชุมชนไร้พุง ผ่านเกณฑ์ อย่างน้อย ๒ หมู่บ้าน
P
...........
    ๔.๔ มีการประกาศใช้มาตรการทางสังคมอย่างจริงจัง
P
...........
ระดับดีเยี่ยม
ความพร้อมและศักยภาพในการเป็นโรงเรียนนวัตกรรมสุขภาพชุมชน (ต้องผ่านเกณฑ์ระดับดีมาก)
    ๕.๑ มีการถอดบทเรียนเพื่อการพัฒนาและการจัดการความรู้   
P
...........
    ๕.๒ มีการจัดการนวัตกรรม (นวัตกรรมกระบวนการ และนวัตกรรมผลผลิต) ที่นำไปสู่
          การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและการฟื้นฟูสุขภาพ
P
...........
    ๕.๓ มีศูนย์เรียนรู้ /เป็นที่ศึกษาดูงาน / แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชน
          เช่น โรงเรียนนวัตกรรม /โรงเรียน อสม. ฯลฯ
P
...........
    ๕.๔ มีการสร้างเครือข่ายการพัฒนาความร่วมมือระหว่างตำบล
P
...........

ผลการประเมินการพัฒนาตำบลจัดการสุขภาพดีวิถีชีวิตไทย

Ÿ ระดับพื้นฐาน                Ÿ ระดับพัฒนา             Ÿ ระดับดี            Ÿ ระดับดีมาก        þ ระดับดีเยี่ยม


ผู้รายงาน ชื่อ นายมงคล  โชตแสง  ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ   สถานที่ปฏิบัติงาน  รพ.สต.แร่

โทรศัพท์ .................................มือถือ ............................E-MAIL   mc20079@gmail.com

กรุณาส่ง        ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาสุขภาพภาคประชาชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 89 ถ.อนามัย ต.ในเมือง อ.เมือง

                      จ.ขอนแก่น  ( 40000 )  ก่อนวันที่  30  สิงหาคม  2555 หรือทาง email ที่  ge_haslo@yahoo.com