จำนวนการดูหน้าเว็บรวม (เริ่มนับ พฤศจิกายน 2553)

วันพุธที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2557

รพ.สต.แร่ รับการตรวจราชการ รอบที่ 1/2557

วันนี้ (26 มีนาคม 2557) รพ.สต.แร่ ได้รับการตรวจราชการ รอบที่ 1/2557 โดยมี ดร.นพ.ณรงค์ วงษ์บา  ผู้ทรงคุณวุฒิ (สำนักงานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ) เป็นประธาน พร้อมคณะ และทีมผู้บริหารจาก สสจ.สกลนคร ในการนี้ นายเพทย์วรรณกร เล่าสุอังกูร ประธาน คปสอ.พังโคน , นายแสวง พิมพ์สมแดง สาธารณสุขอำเภอพังโคน, นางสุพรรณี หน่อแก้ว ผอ.รพ.สต.แร่  และคณะเจ้าหน้าที่ในสังกัด คปสอ.พังโคน ได้ให้การต้อนรับ พร้อมกับนำเสนอผลการปฏิบัติงาน-บรรยายสรุป ให้คณะตรวจราชการทราบ  ซึ่งในการรับการตรวจราชการครั้งนี้ รพ.สต.แร่ และ คปสอ.พังโคน ได้รับคำชื่นชมและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนางานด้านต่างๆ เป็นอย่างดี














วันจันทร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2557

สรุปผลงานประจำปี 2556 : 2 ปิรามิดประชากร

 ข้อมูลประชากรจำแนกตามกลุ่มอายุ

ตารางที่ 5
 

                    พื้นที่ความรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแร่ มีประชากร 4,428 คน ร้อยละ      ของประชากรแยกตามกลุ่มอายุที่สำคัญในการดำเนินการพัฒนาด้านสาธารณสุข คือ กลุ่มอายุ 0-4 ปี จำนวน 223 คน คิดเป็นร้อยละ 5.04 กลุ่มอายุ 05-09 ปี จำนวน 316 คน คิดเป็นร้อยละ 7.14 กลุ่มอายุ 10-14 ปี จำนวน 317 คน คิดเป็นร้อยละ 8.38 กลุ่มอายุ 15-19 ปี จำนวน 384 คิดเป็นร้อยละ 8.68 กลุ่มอายุ 20-24 ปี จำนวน 264 คน คิดเป็นร้อยละ 5.97 กลุ่มอายุ 25-29 ปี จำนวน 199 คน คิดเป็นร้อยละ 4.50 กลุ่มอายุ 30-34 ปี จำนวน 263 คน คิดเป็นร้อยละ 5.94 กลุ่มอายุ 35-39 ปี จำนวน 312 คน คิดเป็นร้อยละ 6.95   กลุ่มอายุ 40-44 ปี จำนวน 384 คน คิดเป็นร้อยละ 8.67 กลุ่มอายุ 45-49 ปี จำนวน 415 คน คิดเป็นร้อยละ 9.37 กลุ่มอายุ 50-54 ปี จำนวน 323 คน คิดเป็นร้อยละ 7.30 กลุ่มอายุ 55-59 ปี จำนวน 312 คน คิดเป็นร้อยละ 7.05 กลุ่มอายุ 60-64 ปี จำนวน 217 คน คิดเป็นร้อยละ 4.90 กลุ่มอายุ 65-69 ปี จำนวน 151 คน คิดเป็นร้อยละ 3.41 กลุ่มอายุ 70-74 ปี จำนวน 132 คน คิดเป็นร้อยละ 2.98 กลุ่มอายุ 75-79 ปี จำนวน    87 คน คิดเป็นร้อยละ 1.87 กลุ่มอายุ 80 ปีขึ้นไป จำนวน 75 คน คิดเป็นร้อยละ 1.69 กลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์ จำนวน 1,181 คน คิดเป็นร้อยละ 26.67   



          อัตราส่วนพึ่งพิง  วัยเด็ก (อายุ 0-14  ปี)     จำนวน     910 คน       คิดเป็นร้อยละ 20.55      
                          วัยชรา (อายุ 60 ปี ขึ้นไป)    จำนวน    662 คน          คิดเป็นร้อยละ 14.95    
          อัตราส่วนพึ่งพิงรวม (วัยเด็กและวัยชรา)      จำนวน   1,572 คน      คิดเป็นร้อยละ 35.50

หมายเหตุ : วิธีคิด สูตร = วัยพึ่งพิง x 100 / ประชากรกลางปีทั้งหมด

สรุปผลงานประจำปี 2556 : 1 ข้อมูลทั่วไป

ข้อมูลทั่วไป


ประวัติตำบลแร่

          เมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว กลุ่มไทโย้ยจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ที่บ้านแฮ่  สาเหตุที่ตั้งชื่อว่า บ้านแฮ่ เพราะในสมัยก่อนผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่าได้มีขบวนแห่ช้างเผือกผ่านมาในหมู่บ้านนี้จึงได้ตั้งชื่อว่าบ้านแฮ่ ตามภาษาอีสาน ต่อมาจึงได้เป็นบ้านแร่ในปัจจุบัน

  กลุ่มไทโย้ยเหล่านี้ได้ร่วมกันสร้างบ้านแปงเมืองเป็นปึกแผ่นจนกระทั่งถึงปีใดไม่ปรากฏ ได้เกิดเหตุเภทภัย (บ้านเดือด)  ผู้คนล้มตายกันมากชาวบ้านจึงพากัน อพยพหนีภัยกันไปอยู่ที่อำเภอวานรนิวาส จึงมีชื่อเล่าขานกัน เมื่ออ้างถึงไทโย้ยบ้านแร่ และไทโย้ยวานรนิวาส ว่า บ้านแร่เมืองวาเพราะยังมีไทโย้ยบางส่วนยังอาศัยอยู่ที่บ้านแฮ่ ไม่ได้อพยพไปทั้งหมด ต่อมาเมื่อประมาณ 150 200 ปี  มาแล้วไทลาวได้อพยพมาจากเมืองอุบลมาอยู่ร่วมกับไทโย้ยที่บ้านแฮ่ร่วมกันสร้างบ้านสร้างเมือง จนเป็นบ้านแร่ในปัจจุบัน ซึ่งในปัจจุบันชาวบ้านแร่หลายคนก็จะมีเชื้อสายไทโย้ยและลาวอุบล

  หมู่บ้านแร่เป็นหมู่บ้านที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นหมู่บ้านที่ถูกต้องตามกฎหมายเมื่อราวปีพุทธศักราช 2460  โดยมีหลวงศรีชมพู เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก บ้านแร่มีฐานะเป็นตำบลตั้งแต่เมื่อมีการปกครองกับอำเภอพรรณนานิคม ต่อมาได้มีการตั้งอำเภอพังโคนขึ้น ตำบลแร่จึงได้ขึ้นตรงต่อการปกครองของอำเภอพังโคน ในเวลาต่อมา

ประวัติสถานีอนามัย - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแร่

           สถานีอนามัยบ้านแร่ เป็นหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.2510 ตามแบบแปลนเลขที่ 1365 ของกระทรวงสาธารณสุข ด้วยเงินงบประมาณ 30,000 บาท ก่อสร้างในเนื้อที่ 2 ไร่ 2 งาน 95 ตารางวาและตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1 ตำบลแร่ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร สถานีอนามัยแห่งนี้เดิมชื่อสถานีอนามัยชั้น 2   บ้านแร่ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสถานีอนามัยบ้านแร่ ศูนย์สุขภาพชุมชนบ้านแร่ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแร่ ตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามแผนพัฒนาสาธารณสุขระยะ 5 ปี แต่ละฉบับ ดังนี้
ปี พ.ศ. 2530 : ได้รับงบประมาณก่อสร้างทดแทนจากกระทรวงสาธารณสุข ตามแบบ แปลนเลขที่ 3803 (ต)/26 งบประมาณ 300,000 บาท
           ปี พ.ศ. 2541 : ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารสถานีอนามัยทดแทนจากกระทรวง สาธารณสุข โดย ก่อสร้างตามแบบแปลน อาคาร 150 แบบเลขที่ 8170/2536 งบประมาณ 1,805,932 บาท
           ปี พ.ศ. 2552 : ได้รับการพัฒนาเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแร่




 ทำเนียบผู้ดำรงดำแหน่งหัวหน้าหน่วยบริการ
ปฐมภูมิ

           ลำดับที่ 1 นางปัทมา พรหมสาขา ณ สกลนคร (พ.ศ.2510 – 2543)
           ลำดับที่ 2 นางสุพรรณี หน่อแก้ว (พ.ศ.2543 - ปัจจุบัน)


แผนที่แสดงพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยบริการปฐมภูมิ

                                          ภาพที่ 1 แผนที่ตำบลแร่

พื้นที่รับผิดชอบ 9 หมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ 1 บ้านแร่                    หมู่ 2 บ้านสมสะอาด
หมู่ 4 บ้านหนองบัว             หมู่ 5 บ้านบะแต้
หมู่ 10 บ้านด่านพัฒนา         หมู่ 11 บ้านหนองบัวหลวง
หมู่ 12 บ้านสมสะอาด          หมู่ 13 บ้านเจริญสุข
หมู่ 14 บ้านแร่


ข้อมูลของประชากรที่รับผิดชอบ

           จำนวนประชากรที่รับผิดชอบจากการสำรวจ มีชื่อ และอยู่จริง (ประมวลผลจากฐานข้อมูล JHCIS) ทั้งหมด 4,428 คน เพศชาย 2,107 คน เพศหญิง 2,321 คน ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก มีการทำนาปรัง ปลูกผัก พืชสวน พืชฤดูแล้ง และเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพเสริม เนื่องจากอยู่ในเขตชลประทานน้ำอูน จึงมีน้ำสำหรับทำการเกษตรตลอดทั้งปี

ตารางที่ จำนวนประชากร จำแนกตามเพศ รายหมู่บ้าน

หมู่ที่ 

ชื่อหมู่บ้าน
จำนวนประชากร (คน)
ชาย
หญิง
รวม
1
แร่
242
246
488
2
สมสะอาด
355
365
720
4
หนองบัว
355
384
739
5
บะแต้
107
129
236
10
ด่านพัฒนา
241
299
540
11
หนองบัวหลวง
202
219
421
12
สมสะอาด
293
304
597
13
เจริญสุข
95
116
211
14
แร่
217
259
476
รวม

2,107
2,321
4,428


พื้นที่การปกครอง และทรัพยากร

ที่ตั้งและอาณาเขต


                    ตำบลแร่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอพังโคน และทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดสกลนคร ห่างจากตัวอำเภอพังโคนประมาณ 8 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดสกลนครประมาณ 54 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลและอำเภอข้างเคียง ดังนี้
                   ทิศเหนือ          จรดตำบลไฮหย่อง         อำเภอพังโคน
                   ทิศตะวันออก     จรดตำบลช้างมิ่ง           อำเภอพรรณานิคม
                   ทิศใต้             จรดตำบลปลาโหล         อำเภอวาริชภูมิ
                   ทิศตะวันออก     จรดตำบลพังโคน          อำเภอพังโคน
                   ตำบลแร่มีพื้นที่ทั้งหมด 35,025 ไร่ หรือ 56.04 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่เพื่อการเกษตร 18,887 ไร่ คิดเป็น 54% ของพื้นที่ทั้งหมด เกษตรกร 92% มีพื้นที่ทำกินเป็นของตนเอง


ข้อมูลด้านการปกครอง

                   ตำบลแร่แบ่งการปกครองออกเป็น 14 หมู่บ้าน มี อบต. 1 แห่ง
                             -    หมู่บ้านในเขต รพ.สต. แร่ 9 หมู่บ้าน
-          หมู่บ้านในเขต รพ.สต. โคกสะอาด 5 หมู่บ้าน

สภาพภูมิประเทศ  

พื้นที่ตำบลแร่มีลักษณะเป็นพื้นที่ลาดจากที่ราบเชิงเขาภูพานทางทิศใต้ตอนกลางของตำบลด้านทิศเหนือของตำบลสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 180210 เมตร จากสภาพดังกล่าวสามารถแบ่งออกเป็นสองเขตย่อยตามพื้นที่ออกเป็น 3 เขต คือ
1.  เขตที่ 1 เขตที่สูง มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนตื้นอยู่ตอนกลางของตำบลดินที่ดอนเป็นดินปนทราย มีปัญหาการชะล้างสูงและดินเหนียวปนลูกรัง ความอุดมสมบูรณ์ต่ำเขตนี้ยังสามารถแบ่งออกเป็นสองเขตย่อยตามพื้นที่ที่ได้รับน้ำชลประทาน
2.  เขตที่ 2 เขตที่ดอนที่ได้รับน้ำชลประทาน ได้แก่ พื้นที่หมู่บ้านหนองไฮใหญ่  บ้านหนองบัว บ้านหนองบัวหลวง บ้านหนองไฮน้อย ตำบลแร่ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร
3.  เขตที่ 3 เขตที่ราบลุ่ม พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่ม อยู่บริเวณตอนกลางถึงด้านเหนือของตำบล ดินมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว พื้นที่เขตนี้ส่วนใหญ่ได้รับน้ำชลประทาน ได้แก่ พื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านแร่ หมู่ที่ 2 บ้านสมสะอาด หมู่ที่ 12 บ้านสมสะอาด 2 หมู่ที่ 10 บ้านด่านพัฒนา หมู่ที่ 14 บ้านแร่

สภาพภูมิอากาศ  

ตำบลแร่จัดอยู่ในเขตที่มีฝนดี ทั้งปริมาณน้ำฝนและการกระจายการตกของฝนมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,861 มิลลิเมตร/ปี มีจำนวนฝนตกเฉลี่ย 123 ครั้ง/ปี 

          ข้อมูลด้านแหล่งน้ำเพื่ออุปโภคและบริโภค

1. แหล่งน้ำธรรมชาติ
- ห้วย มีลำห้วยลำน้ำอูน ห้วยกุดแร่ ห้วยคำไพ ห้วยหินลาด ห้วยจิบแจบ  ห้วยยาง(ห้วยคำโพธิ์)
- หนองน้ำธรรมชาติ  มีหนองเหมือด หนองไฮ หนองแร่ หนองแวง หนองยาง หนองแคน   
                   2. อ่างเก็บน้ำน้ำอูน เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ พื้นที่อ่างเก็บน้ำ 85 ตารางกิโลเมตร  หรือประมาณ 53,125 ไร่ แผ่กระจายไปพื้นที่อำเภอวาริชภูมิ อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอกุดบาก และอำเภอพรรณนานิคม อยู่ในพื้นที่อำเภอพังโคน(ตำบลแร่) ประมาณ 18 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 11,250 ไร่ อ่างเก็บน้ำมีประโยชน์มหาศาล เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญให้ประโยชน์ทั้งด้านการเกษตร การประมง และเป็นแหล่งท่องเที่ยวด้วย กักเก็บน้ำได้ถึง 520767  ล้านลูกบาศก์เมตร 


                   3. คลองชลประทาน เป็นคลองชลประทานที่ต่อเนื่องจากเขื่อนน้ำอูนและอ่างเก็บน้ำน้ำอูนคลองชลประทานจะเริ่มจากตำบลแร่ ไปถึงตำบลไฮหย่อง และตำบลต้นผึ้ง (บางหมู่บ้าน)  ไปถึงพื้นที่อำเภอพรรณนานิคม และอำเภอเมืองสกลนคร รวมพื้นที่ชลประทานในฤดูฝน (ส่งน้ำเสริมน้ำฝน) ประมาณ 185,800 ไร่ และในฤดูแล้ง พื้นที่ 63,000 ไร่ สำหรับในพื้นที่ตำบลแร่ มีหมู่บ้านได้รับผลประโยชน์ 7 หมู่บ้าน มีคลองชลประทานสายใหญ่ สายซอย สายย่อย รวม 7 สาย

ข้อมูลด้านทรัพยากร

                   ตำบลแร่ มีทรัพยากรธรรมชาติมากมายที่สำคัญได้แก่ น้ำ ปลาธรรมชาติ        น้ำตกแม่อูน และเขื่อนน้ำอูน ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของตำบลแร่ นอกจากนั้นยังมีสิ่งเหลือใช้จากผลผลิตทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก เช่น ฟางข้าว ซังข้าวโพด เป็นต้น

          ข้อมูลด้านสาธารณูปการในตำบล

-                   มีน้ำประปาขนาดใหญ่         1        แห่ง
-                    มีระบบประปาขนาดเล็ก      10      แห่ง
-                   ตู้โทรศัพท์สาธารณะ            13      ตู้
-                    สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า         1        แห่ง
-                   ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข      1        แห่ง
-                    ฉางข้าวในหมู่บ้าน             14      แห่ง
-                   ถนนลาดยาง                    5        สาย
-                   ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กภายในหมู่บ้าน มีประมาณ 60% ของทุกหมู่บ้าน
-                   มีไฟฟ้าให้ทุกครัวเรือน
-                   มีพาหนะในการเดินทาง(รถจักรยาน, รถจักรยานยนต์, รถยนต์) และพาหนะ ในการทำการเกษตร(รถไถนา) ทุกครัวเรือน

ข้อมูลด้านสถานศึกษาของตำบล

-                   โรงเรียนประถมศึกษา                    จำนวน            5        แห่ง
-                    ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก                      จำนวน            2        แห่ง
-                   แหล่งการเรียนรู้ชุมชน                   จำนวน            2        แห่ง
-                   มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขต สกลนคร (คณะทรัพยากรธรรมชาติ)       จำนวน           1                        แห่ง
ข้อมูลด้านสาธารณสุข
-                   สถานีอนามัย / รพ.สต.                  จำนวน           2        แห่ง
-                   ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน           จำนวน           14      แห่ง



ข้อมูลด้านสังคมประเพณีและวัฒนธรรม

                   ประชากรประมาณ 99% ของตำบลแร่นับถือศาสนาพุทธ มีวัดในตำบลแร่ทั้งสิ้น 13 แห่ง มีสำนักสงฆ์ 2 แห่ง วัฒนธรรมและประเพณีส่วนใหญ่เหมือนกับชุมชนภาคอีสานทั่วไป เช่น   บุญผเวช (บุญมหาชาติ) งานสงกรานต์ และพิธีรดน้ำดำหัว ทำบุญเข้าพรรษา บุญข้าวประดับดิน   บุญข้าวสาก บุญออกพรรษา ประเพณีที่เกี่ยวกับศาสนา บุญกฐิน และลอยกระทง ส่วนชุมชนที่เป็นกลุ่มชุนชนไทยโซ่ยังคงมีการนับถือผีสางอย่างเหนียวแน่นและมีประเพณีโซ่ทั่งบั้ง ซึ่งเป็นประเพณีเฉพาะของชนเผ่า
          ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวและโบราณคดี
                  
                   แหล่งท่องเที่ยว

-                   อ่างเก็บน้ำเขื่อนน้ำอูน
-                   น้ำตกแม่อูน
-                   น้ำตกอินจิ๋ว

                   แหล่งโบราณคดี

-                   ศิลาจารึกที่วัดธาตุร้าง (อยู่หน้าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแร่)
-                   ศิลาจารึกที่หน้าพระอุโบสถ วัดเหนือศรีสะอาด บ้านแร่
-                   พระธาตุ (อยู่หน้าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแร่)
-                   วัดร้าง 2 แห่ง คือ บริเวณที่ตั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแร่ และบริเวณที่ตั้งสำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลแร่ และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านด่าน
-                   สิมกลางน้ำ ที่กุดสิม และศาลาลงสานที่โนนกลางริมหนองเหมือด

          ข้อมูลร้านค้าและสถานบริการในตำบล

-                   มีร้านค้าในหมู่บ้านทั้งตำบล    จำนวน           45      แห่ง
-                   มีสถานที่บริการที่พัก(รีสอร์ท)  จำนวน           1        แห่ง 
-                   มีห้องสมุดประชาชน           จำนวน           2        แห่ง

ข้อมูลกลุ่มองค์กรชุมชน/ปราชญ์ชาวบ้าน

                   กลุ่มองค์กรชุมชน

1.  กลุ่มพัฒนาสตรี                           จำนวน           14      กลุ่ม
2.  กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร                     จำนวน           14      กลุ่ม
3.  กลุ่มแปรรูปสมุนไพร (หมู่ 7)             จำนวน           1        กลุ่ม
4.  กลุ่มทอเสื่อกก (หมู่ 14)                   จำนวน           1        กลุ่ม
5.  กลุ่มลวดหนาม                            จำนวน           2        กลุ่ม
6.  กลุ่มผลิตปุ๋ยชีวภาพชุมชนตำบลแร่       จำนวน           1        กลุ่ม
7.  ชมรมผู้สูงอายุ                             จำนวน           15      ชมรม
8.  กลุ่มเพาะเห็ด (หมู่ 2)                     จำนวน           1        กลุ่ม
9.  กลุ่มเกษตรกรทำนาแร่                   จำนวน           1         กลุ่ม
10. กลุ่มเลี้ยงสัตว์ตำบลแร่                    จำนวน           1        กลุ่ม
11. ธนาคารหมู่บ้านเจริญสุข                 จำนวน           1        แห่ง
          12. กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงตำบลแร่ จำนวน           1        กลุ่ม
          13. ศูนย์พัฒนาครอบครัวตำบลแร่           จำนวน           1        กลุ่ม

อัตลักษณ์ (จุดเด่นของตำบลแร่)

                       1. อยู่ใกล้สถานศึกษาคือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร และสถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรสกลนคร 
                       2. มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติคือ เขื่อนน้ำอูน น้ำตกแม่อูน น้ำตกอินจิ๋ว และวัดดอยเนรมิต 
                       3. มีสภาพภูมิทัศน์ที่สวยงามเพราะอยู่ในพื้นที่ลาดจากที่ราบสูงเชิงเขาภูพาน มองเห็นเทือกเขาภูพานเป็นบางส่วน
                       4. มีชนเผ่าไทโส้ (ไทบลู) อาศัยอยู่พื้นที่ตำบลแร่ และมีวัฒนธรรมประจำชนเผ่าคือ การแสดงโซ่ทั่งบั้ง
                       5. ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี มีงานบุญประเพณีที่ยังคมสืบต่อกันมาทุกหมู่บ้านคือ บุญเผวช(บุญมหาชาติ) บุญข้าวประดับดิน งานสงกรานต์ และพิธีรดน้ำรดหัว ทำบุญเข้าพรรษา  บุญกฐิน และประเพณีลอยกระทง
                       6. ด้านการชลประทาน มีคลองส่งน้ำชลประทานจากเขื่อนน้ำอูนผ่านพื้นที่ตำบลแร่ไปยังพื้นที่ต่าง ๆ
                       7. ด้านกลุ่มอาชีพต่างๆ คือ กลุ่มเพาะเห็ดและกลุ่มแปรรูปผลผลิตการเกษตร,  กลุ่มแปรรูปสมุนไพร,กลุ่มผลิตลวดหนาม,กลุ่มจักสาน,กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ, กลุ่มผู้เลี้ยงปลา ,กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต , กลุ่มทอเสื่อกก ทุกกลุ่มมีความเข้มแข็ง และดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
                       8. ด้านการปศุสัตว์ มีการเลี้ยงโค กระบือ เป็นจำนวนมากในบริเวณรอบเขื่อนน้ำอูน
                       9. ชมรมผู้สูงอายุตำบลแร่ และชมรมผู้สูงอายุในหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน
                       10. แหล่งโบราณคดี
-                   ศิลาจารึกที่วัดธาตุร้าง 
-                   ศิลาจารึกที่หน้าพระอุโบสถ วัดเหนือศรีสะอาด 
-                   พระธาตุร้าง  และ วัดร้าง  2  แห่ง
-                   สิมกลางที่กุดสิม  และศาลาลงสานที่โนนกลางริมหนองเหมือด
                           11. มีป่าชุมชนในพื้นที่ตำบลแร่
                           12. มีกลุ่มกลองยาวพื้นบ้าน


อัตรากำลังของบุคลากรแต่ละประเภทต่อจำนวนประชากร

ตารางที่ 2 อัตรากำลังของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแร่
ลำดับที่
ชื่อ – สกุล
ตำแหน่ง
1
นางสุพรรณี    หน่อแก้ว
นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
2
นายมงคล      โชตแสง
นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
3
นางณัฐวิภา    หมั่นกุล
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
4
น.ส. อ้อมใจ    ศรีสร้อย
เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขชำนาญงาน
5
น.ส. พรรณทิภา  แสนศรีแก้ว
เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน
6
นางพิอินทนา   ลีทอง
ลูกจ้างชั่วคราว (ผู้ช่วยเหลือคนไข้)
7
นางจิราภรณ์    ศรีสร้อย
ลูกจ้างชั่วคราว (ผู้ช่วยเหลือคนไข้)
8
นายเสถียน      โคตรจักร์
ลูกจ้างชั่วคราว (คนงานทั่วไป)
9
นายประสิทธิ์    บุตรแสน
ลูกจ้างชั่วคราว (พนักงานขับรถยนต์)

ตารางที่ 3 อัตรากำลังของบุคลากรแต่ละประเภทต่อจำนวนประชากร
ประเภทบุคลากร
จำนวน
(คน)
อัตราต่อประชากร
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
1
1 : 4,428
นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
2
1 : 2,214
เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน
1
1 : 4,428
เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขชำนาญงาน
1
1 : 4,428
ลูกจ้างชั่วคราว
4
1 : 1,107
รวม
9
1 : 492
หมายเหตุ  จำนวนประชากร  4,428 คน (เฉพาะในเขตรับผิดชอบ ของ รพ.สต.แร่)

หมู่
บ้าน
จำนวน
หลังคาเรือน
ประชากร
( คน )
โรงเรียน / วัด

จนท.ผู้รับผิดชอบ
โรงเรียน
วัด/
ที่พักสงฆ์

1
แร่
157
488
1
1
นางณัฐวิภา     หมั่นกุล
2
สมสะอาด
190
720
1
2
นางสุพรรณี    หน่อแก้ว
4
หนองบัว
251
739
1
1
นายมงคล      โชตแสง
5
บะแต้
82
236
-
1
น.ส.อ้อมใจ     ศรีสร้อย
10
ด่านพัฒนา
172
540
-
1
น.ส.พรรณทิภา แสนศรีแก้ว
11
หนองบัวหลวง
118
421
-
1
นางณัฐวิภา     หมั่นกุล
12
สมสะอาด
133
597
-
1
นางสุพรรณี    หน่อแก้ว
13
เจริญสุข
71
211
-
1
นายมงคล      โชตแสง
14
แร่
139
476
-
1
น.ส.พรรณทิภา แสนศรีแก้ว

รวม
1,313
4,428
3
10

ตารางที่ 4 การแบ่งหมู่บ้านรับผิดชอบ