จำนวนการดูหน้าเว็บรวม (เริ่มนับ พฤศจิกายน 2553)

วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2558

กิจกรรมโรงเรียน อสม.ตำบลแร่ จังหวัดสกลนคร [15 ธันวาคม 2558]

กิจกรรมโรงเรียน อสม.ตำบลแร่ จังหวัดสกลนคร [15 ธันวาคม 2558]






สาระสำคัญการประชุม
1. แจ้งการชำระเงินสมาชิกชมรมฌาปนกิจสงเคราะห์ อสม.อำเภอพังโคน
2. แจ้งระเบียบกองทุนพัฒนา อสม.เขต รพ.สต.แร่ (แก้ไขปรับปรุง ปีงบประมาณ 2559)
3. การจัดตั้งชมรมสมุนไพรเพื่อสุขภาพตำบลแร่

4. แจ้งผลการคัดเลือก อสม.ดีเด่นระดับอำเภอพังโคน (ประจำปีงบประมาณ 2559) สาขา การดูแลผู้พิการและผู้สูงอายุ คือ นางเลื่อน แสงศร  (อสม. บ้านเจริญสุข หมู่ที่ 13 ตำบลแร่)
5. การจัดทำแผนงานโครงการพัฒนาสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2559
6. การจัดทำเอกสารสรุปโครงการพัฒนาสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2558
7. หารือการจัดกิจกรรมตุ้มโฮมปีใหม่ 2559 (มติ จัดกิจกรรมวันที่ 10 มกราคม 2559 มีการแลกเปลี่ยนของขวัญรางวัล รับประทานอาหารร่วมกันพาแลง)
8. หารือการจัดกิจกรรมทำบุญเพื่อระดมทุนพัฒนางานสาธารณสุข (มติ ไม่จัดกิจกรรม)
9. แจ้งเรื่อง อธิบดีกรมอนามัย นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ และคณะ จะมาปฏิบัติราชการในเขตพื้นที่จังหวัดสกลนคร ในวันที่ 19 ธันวาคม 2558  (ณ เทศบาลตำบลพังโคน)
10. อื่นๆ

.................






วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ระบบการบันทึกข้อมูลและรายงานโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม (การให้รหัสโรครอง Y96, Y97)

ระบบการบันทึกข้อมูลและรายงานโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแร่  อำเภอพังโคน  จังหวัดสกลนคร

          มงคล โชตแสง
นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

บทนำ
การบันทึกข้อมูลการวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวเนื่องจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม (รหัสโรค Y96, Y97) ของ รพ.สต.แร่ ในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปี 2557 ยังขาดการเก็บบันทึกข้อมูลการวินิจฉัยโรคฯ ในโปรแกรม JHCIS เนื่องจากผู้ปฏิบัติยังขาดความรู้และความเข้าใจในการบันทึกข้อมูล นอกจากนี้ยังพบว่าระบบฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานอาชีวอนามัยยังไม่มีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ
          ในปี 2558 จึงได้เริ่มทำการจัดเก็บและบันทึกข้อมูลฯ ของผู้ป่วยรายบุคคลในโปรแกรม JHCIS เพิ่มเติม (มีการวินิจฉัยโรคหลักพร้อมกับการให้รหัสโรคร่วม Y96, Y97 ในกรณีที่พบผู้ป่วยที่มีผลจากการซักประวัติเป็นโรคที่เกี่ยวเกี่ยวเนื่องจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม)  พร้อมทั้งมีการจัดทำระบบฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานอาชีวอนามัยให้เป็นระบบ โดยได้รับการให้คำปรึกษาและการสนับสนุนวิชาการจากอาจารย์ศศินัดดา สุวรรณโณ หัวหน้าศูนย์โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 อุบลราชธานี และคณะ ประกอบกับการสนับสนุนวิชาการและงบประมาณจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร โดยนายแพทย์ปรเมษฐ์ กิ่งโก้ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสกลนคร ได้กำหนดให้งานอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของจังหวัดสกลนคร
          จากการจัดเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องในปีงบประมาณ 2558 ทำให้ รพ.สต.แร่ มีข้อมูลจำนวนหนึ่งที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้อย่างสมเหตุสมผล สามารถนำไปจัดทำข้อมูลสารสนเทศ ทำให้ทราบสถานการณ์ของโรคที่พบในพื้นที่ และสามารถนำไปใช้ประกอบการวางแผนพัฒนาและแก้ไขปัญหางานอาชีวอนามัยในพื้นที่ได้
          ระบบการบันทึกข้อมูลและรายงานที่พึงประสงค์นั้น จะต้องไม่สร้างภาระในการจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลใหม่ แต่ควรเป็นการนำเอาข้อมูลในฐานข้อมูลที่มีอยู่ตามปกติมาประมวลผลให้ได้ข้อมูลสารสนเทศที่ใช้สนับสนุนการทำงาน
          โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแร่ เชื่อมั่นว่าระบบการบันทึกข้อมูลและรายงานที่ได้ดำเนินการใน รพ.สต.แร่ น่าจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ใน รพ.สต.อื่นๆ ได้  จึงได้จัดทำเอกสารฉบับนี้ขึ้น เพื่อเป็นแนวทางสำหรับ รพ.สต.ที่สนใจ  อนึ่ง หากพบข้อบกพร่องของเอกสารฉบับนี้ หรือมีข้อเสนอแนะในการปรับปรุงเอกสาร หรือปรับปรุงกระบวนการทำงานของเราให้ดีขึ้น กรุณาให้คำแนะนำได้ที่ mc20079@gmail.com หรือ  ไลน์ไอดี mongkolsoft


กรอบแนวปฏิบัติในการจัดการข้อมูลในงานอาชีวอนามัย ใน รพ.สต.แร่1.       สำรวจและจัดทำข้อมูลพื้นฐาน (ประชากรกลุ่มเป้าหมาย มีกลุ่มอาชีพใดบ้าง แต่ละกลุ่มอาชีพมีสภาพการทำงานและลักษณะการทำงานเป็นอย่างไร บันทึกตำแหน่งที่ตั้งครอบครัวของกลุ่มเป้าหมายและสถานที่ประกอบการ ลงในแผนที่ชุมชน)2.       ใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลที่เป็นระบบที่มีอยู่แล้ว  (โปรแกรม JHCIS / HosXP) ไม่ต้องลงทุนเพิ่ม ประหยัดทรัพยากร (ข้อมูลหลังคาเรือน, ประชากร, สถิติชีพ, สาเหตุการป่วย, สาเหตุการตาย, การวินิจฉัยโรค Z10.0, Y96, Y97)
3.       บันทึก-ปรับปรุงข้อมูลในระบบที่มีอยู่แล้วให้เป็นปัจจุบัน ครบถ้วน
   ดำเนินการตรวจประเมินความเสี่ยง นบก.1-56 และบันทึกผลการตรวจประเมินในโปรแกรม JHCIS  ให้รหัสวินิจฉัยโรค Z10.0
  การตรวจรักษาโรค มีการให้รหัส ICD 10 ในโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม (วินิจฉัยโรคหลัก + โรคเสริม Y96, Y97)
4.       ส่งข้อมูลรายงานตามมาตรฐาน 43 แฟ้ม อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง (หรือตามนโยบายของแต่ละจังหวัด)
5.       จัดทำฐานข้อมูลใหม่เพิ่มเติม (กรณีที่ไม่มีข้อมูลใน JHCIS)
6.       พัฒนาโปรแกรมเชื่อมโยง หรืออ่านข้อมูลจากฐานข้อมูล JHCIS ตามความต้องการใช้ข้อมูลรายงานของผู้ใช้ข้อมูลใน รพ.สต.  (โดยไม่ปรับแก้ข้อมูลและโครงสร้างของฐานข้อมูลเดิม แต่เป็นการเชื่อมโยงข้อมูลมาประมวลผลเท่านั้น)
7.       นำข้อมูลรายงาน 43 แฟ้ม ไปวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เครื่องมือที่ใช้ในการจัดเก็บ-บันทึก-ประมวลผลข้อมูล          คู่มือที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
                   คู่มือการจัดบริการอาชีวอนามัยสำหรับ จนท.สธ. คลินิกสุขภาพเกษตรกร                   แนวทางการวินิจฉัยโรคและภัยจากการประกอบอาชีพเบื้องต้นสำหรับหน่วยบริการสาธารณสุข                   คู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเรื่องอันตรายและสิ่งคุกคามสุขภาพในเกษตรกร                   เอกสารวิชาการเกี่ยวกับสารเคมีทางการเกษตรที่มีอันตรายร้ายแรง                   แนวทางการจัดการปัญหาด้านสภาพการทำงาน และข้อแนะนำในการยืดเหยียดกล้ามเนื้อให้แก่เกษตรกรเพื่อป้องกันการบาดเจ็บระบบโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อจากการทำงาน                   คู่มือการลงรหัส ICD-10 สำหรับโรคจากการประกอบอาชีพ (วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์)                   ความรู้จากเว็บไซต์สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
จัดทำฐานข้อมูล/แบบฟอร์มจัดเก็บข้อมูล (Hard Copy และ อิเลคทรอนิกไฟล์)
                   ฐานข้อมูลเกษตรกร
                   ฐานข้อมูลสารเคมีในการเกษตร
                   ฐานข้อมูลกลุ่มอาชีพเกษตรกร (แยกชนิดพืชที่ปลูก)
                   ฐานข้อมูลกลุ่มอาชีพอื่นๆดำเนินงานจัดบริการเชิงรุกในชุมชน-หมู่บ้าน
                   ประเมินความเสี่ยงเกษตรกร (นบก.1-56)
                   ประเมินความเสี่ยงกลุ่มอาชีพอื่นๆ (ประเมินสภาพการทำงาน, ความเสี่ยง)
                   ประเมินความเสี่ยงสถานที่ทำงานภาคเกษตร (แบบประเมิน WIND)
                   ประเมินความเสี่ยงสถานที่ทำงานกลุ่มอาชีพอื่นๆบันทึกข้อมูลและประมวลผลรายงานในโปรแกรมคอมพิวเตอร์                   โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับบันทึก-ประมวลผลข้อมูล JHCIS / Hos-XP
                   แนวทางการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลโรคที่เกี่ยวเนื่องจากการประกอบอาชีพ (Y96) และสิ่งแวดล้อม (Y97)
                   แนวทางการบันทึกข้อมูลการตรวจคัดกรองประเมินความเสี่ยง (นบก.1-56) ใน JHCIS
                   แนวทางการวินิจฉัยโรคหลัก  (01-Principle Diagnosis) และการวินิจฉัยโรครอง
ที่เกี่ยวเนื่องจากการประกอบอาชีพ (
Y96) และสิ่งแวดล้อม (Y97)
ที่เกี่ยวเนื่องจากการประกอบอาชีพ (Y96) และสิ่งแวดล้อม (Y97) ที่เกี่ยวเนื่องจากการประกอบอาชีพ (Y96) และสิ่งแวดล้อม (Y97)การดำเนินกิจกรรมของคลินิกสุขภาพเกษตรกร เชิงรุก และ เชิงรับ1.       สำรวจกลุ่มแรงงานและสภาพปัญหาสุขภาพ (ฐานข้อมูลกลุ่มแรงงาน, ฐานข้อมูลโรงงาน, โรงสีข้าว, โรงผลิตน้ำดื่ม, ฐานข้อมูลสารเคมีกำจัดศัตรูพืช, สภาพปัญหาของแรงงานแต่ละกลุ่ม)2.       ผู้ป่วย : ซักประวัติการเจ็บป่วย (แบบซักประวัติโรคจากอาชีพ) (เชิงรับ)3.       กลุ่มแรงงานภาคเกษตร ประเมินความเสี่ยงด้วยแบบ นบก.1-56 (เชิงรุก, แก้ไขปัญหาตามสภาพความเสี่ยงในชุมชนโดยการมีส่วนร่วม)4.       วินิจฉัย-รักษาเบื้องต้น / ส่งต่อเพื่อรักษาที่เหมาะสม5.       บันทึกและรายงานโรคลงในระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ (รหัสโรคY96, Y97 ในโปรแกรม JHCIS หรือ Hos XP)6.       การสื่อสารความเสี่ยง เช่น การให้อาชีวสุขศึกษา, คืนข้อมูลให้ชุมชน หรือประสานขอสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการปัญหา

การจัดทำรายงาน ประมวลผล-วิเคราะห์ข้อมูล และการคืนข้อมูลให้ชุมชน
1.   ทำการประเมินตนเองตามแบบประเมินตนเองตามมาตรฐานการจัดบริการอาชีวอนามัยสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (เพื่อทราบสถานการณ์ของตนเองว่ามีผลการประเมินอยู่ในระดับใด จากนั้นจึงพัฒนาตนเองโดยใช้เกณฑ์ประเมินเป็นแนวทางในการพัฒนา)
2.   ส่งรายงาน 43 แฟ้มข้อมูล สัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือตามแนวทางของแต่ละจงหวัด (ส่งออกข้อมูลและอัพโหลดเข้าเว็บไซต์ฐานข้อมูล HDC ตามระบบปกติของแต่ละจังหวัด)
3.   รายงานผลการดำเนินงานตามแบบรายงานการดำเนินงานจัดบริการอาชีวอนามัยฯ (OCC-นบ 01 Rev.58)  ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม ของทุกปี
4.   จัดทำเอกสารสรุปผลการดำเนินงานประจำปี โดยนำข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลของหน่วยงานที่ได้บันทึกไว้ (โปรแกรม JHCIS / Hos-XP) ไปทำการประมวลผลข้อมูลทำให้สามารถทราบสถานการณ์ของโรคที่พบในพื้นที่ เพื่อทราบการเกิดของโรคจากการประกอบอาชีพ (สรุปจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคหลักที่มีการให้รหัสโรคร่วมเป็น Y96, Y97 จำแนกรายโรค หรือรายกลุ่มโรค) ทำการสรุปวิเคราะห์เชิงพรรณนาตามลักษณะของบุคคล (Person) พื้นที่ (Place) เวลา (Time) นำผลการวิเคราะห์ข้อมูลไปแปลผลและคืนข้อมูลให้แก่ชุมชนในเวทีการประชุม อสม., รวมทั้งการเสนอต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรับทราบสถานการณ์หรือความรุนแรงของโรคร่วมกัน และนำข้อมูลเสนอต่อที่ประชุม (โรงเรียน อสม., เวทีรับฟังปัญหาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, เวทีประชาคมหมู่บ้านเกี่ยวกับการจัดทำโครงการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขประจำปี) เพื่อเป็นการเตือนภัยและหาแนวทางหรือมาตรการแก้ไขหรือป้องกันปัญหาร่วมกัน






วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ทดสอบคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำ ระบบประปาของเทศบาลตำบลแร่

วันนี้ (3 ธันวาคม 2558) ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอพังโคน (นายเทอดศักดิ์ จุลนีย์) พร้อมทีมนักวิชาการสาธารณสุข ออกตรวจทดสอบคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำ  ที่โรงผลิตน้ำประปาของเทศบาลตำบลแร่  ตั้งอยู่ที่บ้านหนองบัว หมู่ที่ 11 ต.แร่ อ.พังโคน จังหวัดสกลนคร ทั้งนี้เพื่อเตรียมการพัฒนาระบบประปาให้เป็นประปาดื่มได้









ประชุมประธาน อสม.ประจำเดือนธันวาคม 2558

สรุปสาระสำคัญการประชุม อสม.ประจำเดือนธันวาคม 2558 (3ธ.ค.2558) ณ ห้องประชุม รพ.สต.แร่
1. จัดตั้งชมรมสมุนไพรและสุขภาพ มติที่ประชุม รับทราบและมีการจัดตั้งชมรมฯ
2. แจ้งระเบียบกองทุนพัฒนา อสม. (ชมรม อสม.) ปี 2559 (ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมจากระเบียบปี 2558) มติที่ประชุม รับทราบ
3.แจ้งสรุปผลการดำเนินงานประจำปี 2558 ของกองทุนพัฒนา อสม. มติที่ประชุม รับทราบ  (จะจัดทำเอกสารสรุปให้ที่ประชุมอีกครั้งในการประชุมเดือนมกราคม 2559)
4. แจ้งหารือการคัดเลือก อสม. ดีเด่น ระดับตำบล 12 สาขา  มติที่ประชุม เห็นชอบให้เจ้าหน้าที่พิจารณาคัดเลือกตามที่เห็นสมควร
5. ปรึกษาหารือการกำหนดวันเปิดโรงเรียน อสม. ประจำเดือนธันวาคม 2558 มติที่ประชุม กำหนดวันเปิดโรงเรียน อสม. ประจำเดือนธันวาคม 2558 ในวันที่ 15 ธันวาคม 2558
5. ปรึกษาหารือการจัดกิจกรรมตุ้มโฮมปีใหม่  มติที่ประชุม รับทราบ แต่ขอหารือที่ประชุมใหญ่ในโรงเรียน อสม. วันที่ 15 ธันวาคม 2558 เพื่อลงมติว่าจะจัดหรือไม่จัด
6. ปรึกษาหารือการจัดกิจกรรมจัดหาทุน-งบประมาณพัฒนาโรงเรียน อสม.  มติที่ประชุม รับทราบ แต่ขอหารือที่ประชุมใหญ่ในโรงเรียน อสม. วันที่ 15 ธันวาคม 2558 เพื่อลงมติว่าจะจัดหรือไม่จัด
****เลิกประชุมเวลา  12.25 น.***


วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558

คลินิกเบาหวานบ้านไกล เดือนธันวาคม 2558

คลินิกเบาหวานบ้านไกล เดือนธันวาคม 2558
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 (หมู่ 2 และหมู่ 12)
วันที่ 1 ธันวาคม 2558 (หมู่ที่ 4, 11 และหมู่ 13)
วันที่ 2 ธันวาคม 2558 (หมู่ที่ 1, 10 และหมู่ 14)
วันที่ 3 ธันวาคม 2558 (หมู่ 5)




1 ธันวาคม วันเอดส์โลก

ประวัติวันเอดส์โลก

ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกา มีผู้ป่วยโรคเอดส์เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ ทั้งๆที่เมื่อก่อนโรคเอดส์ ก่อตัวขึ้นในบางส่วนของโลกและเป็นอยู่ในหมู่ชนบางกลุ่มเท่านั้นแต่ในปัจจุบันมีการตรวจพบโรคนี้ทั่วโลก ซึ่งโรคเอดส์เริ่มเป็นที่รู้จักครั้งแรกในปี พ.ศ.2524

จำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคเอดส์มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่เริ่มมีโรคเอดส์เกิดขึ้นในประเทศไทยปี พ.ศ.2527 จนถึงปี พ.ศ.2533 แม้รัฐบาลจะประกาศเจตนารมณ์ที่จะแก้ไขปัญหาโรคเอดส์แต่ก็ยังมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมาก โดยมอบให้กระทรวงสาธารณสุขรับผิดชอบและให้มีคณะกรรมการประสานงานเกี่ยวกับโรคเอดส์แห่งชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2528 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน

ซึ่งย้อนไปเมื่อ ปี พ.ศ.2524 มีการพบโรคเอดส์พบครั้งแรกในเดือนมิถุนายน ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ป่วยเป็นชายรักร่วมเพศป่วยเป็นปอดบวมจากเชื้อ นิวโมซีสตีส แครินิอาย ทั้งที่เป็นคนแข็งแรงมากมาก่อน และไม่เคยใช้ยากดภูมิต้านทาน ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติ พบว่าเซลล์ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง กับภูมิต้านทานไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ และทำให้เสียชีวิตในที่สุด และหากมีโรคแทรกซ้อน ก็จะทำให้เสียชีวิตเร็วขึ้น

สำหรับผู้ป่วยเอดส์รายแรกในประเทศไทย มีพฤติกรรมรักร่วมเพศเป็นชายอายุ 28 ปี เดินทางไปศึกษาต่อที่อเมริกา เริ่มมีอาการในปี พ.ศ.2526ได้รับการตรวจและรักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในอเมริกา พบว่าปอดอักเสบ แพทย์ลงความเห็นว่าเป็นโรคเอดส์ จึงกลับมารักษาตัวที่ประเทศไทย และเสียชีวิตในเวลาต่อมา ทำให้มีการตื่นตัวเรื่องโรคเอดส์ และจากนั้นก็มีการแพร่เชื้อมาอีกหลายต่อหลายคน ด้วยวิธีการต่างๆ  ซึ่งแม้จะมีผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์ให้เห็น จนกระทั่งผลร้ายแรง และไม่มียาที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่กระนั้น ก็ยังมีผู้คนยอมเสี่ยงแบบตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ จนกระทั่งได้รับเชื้อนี้