จำนวนการดูหน้าเว็บรวม (เริ่มนับ พฤศจิกายน 2553)

วันพุธที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2560

กิจกรรมโรงเรียน อสม.(เขต รพ.สต.แร่) ประจำเดือนธันวาคม 2560

27 ธันวาคม 2560  ชมรม อสม.ตำบลแร่ ร่วมกับ รพ.สต.แร่ ได้จัดกิจกรรมโรงเรียน อสม.(เขต รพ.สต.แร่) ประจำเดือนธันวาคม 2560  ณ โรงเรียน อสม.ตำบลแร่  โดยมี อสม.ร่วมกิจกรรม จำนวน 94 คน

สรุปกิจกรรมและสาระสำคัญ ดังนี้

1. ประชุมหารือการพัฒนาต่อเติมอาคารโรงเรียน อสม. งบประมาณ 30,000 บาท
2. ชี้แจงและเชิญชวน อสม.ทุกคน ร่วมสมัครเป็นจิตอาสา "ทำความดี ด้วยหัวใจ" ป้องกันอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2561 ตามแนวนโยบายของอำเภอพังโคนและจังหวัดสกลนคร

       # แนวทางการดำเนินป้องกันอุบัติเหตุจราจรในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2561 อำเภอพังโคน

ระดับครัวเรือน
- ผู้ปกครองเฝ้าระวังบุตรหลานเรื่องการขับขี่รถจักรยานยนต์ การสวมใส่อุปกรณ์นิรภัยการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ระดับคุ้ม/โซน
- อสม.เฝ้าระวังบุตรหลานในคุ้ม/โซนเรื่องการขับขี่รถจักรยานยนต์ การสวมใส่อุปกรณ์นิรภัยการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- อสม.ลงข้อมูลบนแผนผังโซนที่ตนเองรับผิดชอบ
- อสม.ประเมินความเสี่ยงในคุ้ม/โซนเรื่องการขับขี่ยวดยาน การสวมใส่อุปกรณ์นิรภัย การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- โดยความเสี่ยง ๓ ระดับ 
ความเสี่ยงระดับต่ำ  ได้แก่  ไม่มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  การขับขี่ปฏิบัติตามกฎแห่งความปลอดภัย  สวมใส่เครื่องป้องกัน  ไม่ขับเร็วเกินกำหนด
o ความเสี่ยงระดับปานกลาง  มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  การขับขี่ปฏิบัติตามกฎแห่งความปลอดภัย  ไม่สวมใส่เครื่องป้องกัน  ขับเร็วเกินกำหนดแต่ไม่มาก  เริ่มเอะอะโวยวาย  เปิดเพลงเสียงดัง
o ความเสี่ยงระดับ สูง  มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  ไม่ปฏิบัติตามกฎแห่งความปลอดภัย  ไม่สวมใส่เครื่องป้องกัน  ขับเร็วเกินกำหนดมาก  มีการทะเลาะวิวาท  เอะอะโวยวาย  เปิดเพลงเสียงดังมาก

- อสม.รายงานผลการประเมินความเสี่ยงฯให้ประธาน อสม.
- อสม.ให้คำแนะนำแก่กลุ่มที่มีความเสี่ยงปานกลางและเสี่ยงสูง
ระดับหมู่บ้าน
-ประธาน อสม.รวบรวมผลการประเมินจาก อสม.
-ประธาน อสม.ลงข้อมูลบนแผนผังหมู่บ้าน
-ประธาน อสม.ร่วมกับผู้นำชุมชนร่วมกันวิเคราะห์ผลการประเมินและรายงานผลการประเมินตามสายงาน
-ดำเนินการป้องกันตามมาตรการ ๓ ป ๒ ส  (ป้องกัน  ป้องปราม ปรับเปลี่ยน  สวมใส่  ส่วนควบ)
-ประธาน อสม.ร่วมกับผู้นำชุมชนให้คำแนะนำแก่กลุ่มที่มีความเสี่ยงปานกลางและเสี่ยงสูง
-ผู้ใหญ่บ้านร่วมกับประธาน อสม.ร่วมกับผู้นำชุมชนเข้าทำการควบคุมยานพาหนะและบุคคลที่กระทำผิดกฎหมาย เพื่อป้องกันเหตุ

ระดับรพ.สต.
-          จนท.รับผิดชอบหมู่บ้านรับรายงานผลการประเมินและวิเคราะห์เป็นภาพรวมหมู่บ้าน
-          ผอ.รพ.สต.ร่วมกันประเมินและวิเคราะห์เป็นภาพรวมตำบล
-          รายงานผลการประเมินและการดำเนินการให้สสอ.พังโคนทราบตามสายงาน
ระดับอำเภอ
-          เจ้าหน้าที่ปกครองและตำรวจผู้ใหญ่บ้านร่วมกับประธาน อสม.ร่วมกับผู้นำชุมชนเข้าทำการควบคุมยานพาหนะและบุคคลที่กระทำผิดกฎหมาย เพื่อป้องกันเหตุ
-          ผช.สสอ.ที่รับผิดชอบพื้นที่ตำบลรับรายงานและผลการดำเนินงาน ,เฝ้าระวังสถานการณ์
-          จนท.สสอ.ผู้รับผิดชอบงานอุบัติเหตุ สสอ.รวบรวมรายงานและผลการดำเนินงาน ,เฝ้าระวังสถานการณ์
-          สสอ.และผช.สสอ.ที่รับผิดชอบพื้นที่ตำบลออกเยี่ยมพื้นที่รับผิดชอบ
-          คณะทำงานระดับอำเภอรับรายงานและผลการดำเนินงาน และร่วมกันประเมินสถานการณ์รายวัน
-          คณะทำงานระดับอำเภอรายงานผลการดำเนินงานให้ นอภ.พังโคนและผู้บังคับบัญชาตามสายงาน

3. ชี้แจง ซักซ้อมความเข้าใจ  เตรียมความพร้อม เรื่องการจ่ายค่าป่วยการ อสม.ในระบบพร้อมเพย์
4. ประชุมหารือการจัดกิจจกรรมปีใหม่ของ อสม.และ จนท. รพ.สต.แร่ มีมติจัดกิจกรรมในการเข้าโรงเรียน อสม. ประจำเดือนมกราคม 2561 โดยจะมีกิจกรรมจับสลากแลกเปลี่ยนของขวัญปีใหม่ การรับประทานอาหารร่วมกัน การแข่งกีฬาสี อสม. (สีเหลือง = หมู่ 1 หมู่ 10 หมู่ 5, สีฟ้า = หมู่ 2 หมู่ 12 หมู่ 14, สีชมพู = หมู่ 4 หมู่ 11 หมู่ 13) ทั้งนี้ รายละเอียดจะหารือทางไลน์และแจ้งอีกครั้ง







วันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2560

วิทยากร เรื่อง การลงรหัส ICD10 โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม Y96-Y97

26 ธ.ค.2560 นายมงคล โชตแสง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ  รพ.สต.บ้านแร่  ได้รับเชิญเป็นวิทยากร เรื่อง การลงรหัส ICD10 โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม Y96-Y97 (สำหรับ รพ.สต.) ที่ห้องประชุมหนองหานหลวง โรงแรมอิมพีเรียล จ.สกลนคร





วันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ผลงานตามตัวชี้วัด QOF ปี 2561



ตัวชี้วัด ผู้รับผิดชอบ จำนวนเป้าหมาย จำนวนผลงาน ร้อยละ เกณฑ์ ผลการประเมิน
1.ร้อยละของประชากรไทยอายุ 35-74 ปี ได้รับการคัดกรองเบาหวาน (คัดกรองที่ไหนก็นับเป็นผลงานให้) ณัฐวิภา หมั่นกุล 1,660 1,301 78.37 >=80.00 ไม่ผ่านเกณฑ์
1.ร้อยละของประชากรไทยอายุ 35-74 ปี ได้รับการคัดกรองเบาหวาน (คัดกรองที่ไหนเป็นผลงานที่นั่น) ณัฐวิภา หมั่นกุล 1,660 1,293 77.89 >=80.00 ไม่ผ่านเกณฑ์
2.ร้อยละของประชากรไทยอายุ 35-74ปี ได้รับการคัดกรองความดันโลหิตสูง(คัดกรองที่ไหนก็นับเป็นผลงานให้) ณัฐวิภา หมั่นกุล 1,586 1,219 76.86 >=80.00 ไม่ผ่านเกณฑ์
2.ร้อยละของประชากรไทยอายุ 35-74ปี ได้รับการคัดกรองความดันโลหิตสูง (คัดกรองที่ไหนเป็นผลงานที่นั่น) ณัฐวิภา หมั่นกุล 1,586 1,211 76.36 >=80.00 ไม่ผ่านเกณฑ์
3.ร้อยละของหญิงมีครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกภายใน 12 สัปดาห์   / วรรณวิมล คำลือฤทธิ์ วรรณวิมล คำลือฤทธิ์ 14 14 100 >=70.00 ผ่านเกณฑ์
4.ร้อยละสะสมความครอบคลุมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรี 30-60 ปี ภายใน 5 ปี วรรณวิมล คำลือฤทธิ์ 1,003 945 94.22 >=64.75 ผ่านเกณฑ์
5.1 RDU โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน Acute Diarrhea (AD) มงคล โชตแสง 44 5 11.36 <20.00 ผ่านเกณฑ์
5.2 RDU โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจช่วงบน Respiratory Infection (RI) ณัฐวิภา หมั่นกุล 772 70 9.07 <20.00 ผ่านเกณฑ์
6. ร้อยละการลดลงของอัตราการนอนโรงพยาบาลด้วยภาวะที่ควรควบคุมด้วยบริการผู้ป่วยนอก (ACSC) ในโรคลมชัก (epilepsy) ปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) หืด (asthma) เบาหวาน (DM) และความดันโลหิตสูง (HT) ณัฐวิภา หมั่นกุล 526 380 146.01 >=6.58 ผ่านเกณฑ์
7.อัตราการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย CKD จากระยะ 3B สู่ระยะที่ 4 ขึ้นไป ณัฐวิภา หมั่นกุล 19 1 5.26 <10.00 ผ่านเกณฑ์
8. ร้อยละผู้ป่วยเตียงประเภทที่ 3 และ 4 ได้รับการเยี่ยมบ้านตามเกณฑ์ ณัฐวิภา หมั่นกุล 9 9 100 >=97.00 ผ่านเกณฑ์
9. ร้อยละทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม วรรณวิมล คำลือฤทธิ์ 12 2 16.67 <6.59 ไม่ผ่านเกณฑ์
9. ร้อยละทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม (จำนวนเด็กต่อเด็กมีน้ำหนัก) วรรณวิมล คำลือฤทธิ์ 27 12 44.44 >=90.00 ไม่ผ่านเกณฑ์

ข้อมูล ณ วันที่ 22 ธ.ค.2560
ที่มา : http://203.157.177.121/cockpit61_43/main/


คลินิกเบาหวาน #ตรวจตา #ตรวจเท้า ปีงบประมาณ 2561

22 ธ.ค.2560 รพ.สต.บ้านแร่ ร่วมกับโรงพยาบาลพังโคน โดยทีมสหวิชาชีพ ได้ให้บริการในคลินิกเบาหวาน #ตรวจวัดสายตา #ตรวจถ่ายภาพจอประสาทตา #ตรวจเท้า ประจำปีงบประมาณ 2561






วันพฤหัสบดีที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2560

หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. @บ้านหนองบัว ต.แร่

21 ธันวาคม 2560 หน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) @บ้านหนองบัว ต.แร่ อ.พังโคน  จ.สกลนคร
 


ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรม ดังนี้

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี  ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจโดยเฉพาะ
อย่างยิ่งด้านการแพทย์  และด้านสาธารณสุข  อันเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติและปวงชนชาวไทยนานับประการ  ทรงจัดตั้งสถานีรักษาพยาบาลทางวิทยุ  ทรงโปรดให้รักษาพยาบาลโรคเฉพาะทางและทันตกรรม  ทรงเป็นพระมิ่งขวัญและเป็นที่เคารพยิ่งของพสกนิกรชาวไทย  ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อความผาสุกของพสกนิกรทุกหมู่เหล่า พระองค์ท่านมีพระหฤทัยแน่วแน่ในการช่วยเหลือประชาชนให้พ้นทุกข์ และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นก่อบังเกิดคุณประโยชน์ใหญ่ไพศาลแก่ประเทศชาติ  ทั้งด้านการศึกษา  วรรณคดี  การสาธารณสุข  การสังคมสงเคราะห์ การยกระดับคุณภาพชีวิต  โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนบทที่ห่างไกลความเจริญ
   
ตามที่จังหวัดสกลนคร  ได้รับพระราชทานเป็นจังหวัดแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีลำดับที่ ๗ ของประเทศทั้งนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๒ รวมระยะเวลา ๔๘ ปี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของพื้นที่ทุกอำเภอในจังหวัดสกลนครได้จัดกิจกรรมเพื่อเป็นการสนองพระราชปณิธานในองค์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีซึ่งพระองค์ทรงห่วงใยในสุขภาพอนามัยความเป็นอยู่ตลอดจนการศึกษาและการพัฒนาศักยภาพของปวงชนชาวไทยในพื้นที่ถิ่นทุรกันดารหรือเขตพื้นที่ชายแดนและในวันนี้อำเภอพังโคนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับจังหวัด และอำเภอ  ได้รับเกียรติอันสูงยิ่ง  ในการจัดกิจกรรมให้บริการให้แก่ประชาชน  อันที่จะแสดงออกถึงความจงรักภักดีสืบสานพระปณิธานของพระองค์ท่านโดยการนำหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกให้บริการแก่ประชาชน ณ บ้านหนองบัว หมู่ที่ ๔  ตำบลแร่  อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือประชาชนในด้านการรักษาพยาบาล  การป้องกันโรค  การส่งเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสมรรถภาพและกิจกรรมที่ให้บริการในวันนี้ประกอบด้วยหน่วยแพทย์เคลื่อนที่  หน่วยทันตกรรมหน่วยสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค  หน่วยให้ความรู้และประชาสัมพันธ์  นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานทั้งภาครัฐ  เอกชน  องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้าร่วมกิจกรรมให้บริการแก่ประชาชนอีกหลายหน่วยงาน

ข้อมูลที่สำคัญของพื้นที่ตำบลแร่อำเภอ
พังโคนพอสังเขปดังนี้ ข้อมูลด้านสาธารณสุข  ตำบลแร่  มีหน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่ ๒ แห่ง คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแร่  และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกสะอาด  มีประชากรสิทธิบัตรทองจำนวน  ๕,๗๑๒ คน สิทธิข้าราชการ จำนวน ๔๗๙ คน ประกันสังคม ๓๖๘ คน  ประชาชนเข้าถึงบริการด้านสุขภาพครบถ้วนทุกกลุ่มอายุ  ในรอบปีที่ผ่านมาประชาชนมีปัญหาด้านสุขภาพและเจ็บป่วยด้วยโรคที่สำคัญได้แก่  โรคเรื้อรังได้แก่ เบาหวานและความดันโลหิตสูง โรคระบบทางเดินหายใจ โรคระบบกล้ามเนื้อ โรคระบบทางเดินอาหารและสาเหตุของการเสียชีวิตที่สำคัญคือโรคมะเร็งของอวัยวะต่างๆ



วันอังคารที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2560

การบำบัดรักษาผู้มีปัญหาจากการดื่มสุราโดยใช้วิธีการ BRIEF INTERVENTION

การบำบัดรักษาผู้มีปัญหาจากการดื่มสุราโดยใช้วิธีการ BRIEF INTERVENTION BRIEF INTERVENTION หมายถึง การบำบัดรักษา 1-4 ครั้ง นานครั้งละ 5-60 นาที ทำโดยแพทย์ทั่วไปหรือบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญใน เรื่องการรักษาผู้ติดสุราหรือสารเสพติด มักจะใช้กับผู้ป่วยที่ไม่ได้ติดสุรา แต่เป็นผู้ที่ดื่มในระดับความเสี่ยงสูงหรือระดับที่เป็นอันตราย (hazardous and harmful drinking) โดยมีเป้าหมายเพื่อลดระดับการดื่มลงให้เป็นการดื่มปานกลาง (moderate drinking) มากกว่าการให้เลิกดื่ม ได้มีการวิจัยมายมายที่ศึกษาประสิทธิผลของการทำ brief intervention ในเวชปฏิบัติทั่วไป ในสถานบริการระดับปฐมภูมิ และในห้องฉุกเฉิน รวมทั้งการศึกษาแบบมหวิเคราะห์ (meta-analysis) ซึ่งได้ผลการศึกษาสอดคล้องกันว่า brief intervention มีประสิทธิภาพ และมีความคุ้มทุนสูงในการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาจากการดื่มสุรา องค์ประกอบการดำเนินการ BRIEF INTERVENTION ต้องมีองค์ประกอบ 6 ข้อซึ่งสามารถเขียนเป็นตัวย่อได้ว่า FRAMES( Feedback, Responsibility, Advice, Menu of ways, Empathy, Self-Efficacy) นอกจากนั้นควรกำหนดเป้าหมาย (goal setting) การติดตามการรักษา (follow up) และการให้การรักษาในเวลาที่เหมาะสม (timing) ก็ยังเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ brief intervention ได้ผลดีด้วย ต่อไปนี้จะกล่าวถึงวิธีการของ brief intervention ในแต่ละองค์ประกอบ FEEDBACK OF PERSONAL RISK เมื่อจะเริ่มต้นการบำบัด แพทย์ควรจะบอกให้ผู้ป่วยทราบถึงความเสี่ยงของปัญหาจากแอลกอฮอล์ที่ผู้ป่วยมี โดยประมวลจากลักษณะการดื่มในปัจจุบัน ผลการตรวจร่างกายและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตัวอย่างเช่น แพทย์อาจจะบอกผู้ป่วยว่าปัญหาการเจ็บป่วยในปัจจุบันของเขา เช่น ความดันเลือดสูงอาจจะเป็นผลจากการดื่มแอลกอฮอล์ของเขาด้วยก็ได้ หรือการดื่มแอลกอฮอล์จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคบางอย่างที่เขาเป็น RESPONSIBILITY OF THE PATIENT วิธีการ brief intervention จะเน้นถึงความรับผิดชอบของผู้ดื่มในการเลือกวิธีการและลดการดื่มลง ทั้งนี้อาศัยหลักว่าการควบคุมตนเองเป็นแรงจูงใจที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรม เช่น แพทย์หรือพยาบาลอาจจะบอกผู้ดื่มว่า “คงไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงคุณได้หรือทำให้คุณตัดสินใจเปลี่ยนแปลงได้ การที่คุณจะลดหรือเลิกดื่มขึ้นอยู่กับตัวเอง ADVICE TO CHANG แพทย์ควรจะให้คำแนะนำอย่างชัดเจนถึงวิธีลดหรือเลิกดื่ม หรือในขณะที่พูดแสดงความห่วงใยถึงการดื่มของผู้ป่วยแพทย์หรือพยาบาลอาจจะ อธิบายถึงการดื่มแบบพอประมาณหรือความเสี่ยงต่ำไปด้วย MENU OF WAYS แพทย์หรือพยาบาลอาจจะนำเสนอวิธีการต่างๆ สำหรับลดหรือเลิกดื่มให้ผู้ป่วยเลือก เช่น การจำกัดปริมาณแอลกอฮอล์ที่จะดื่ม การเรียนรู้ที่จะรู้จักว่าเมื่อไรจะต้องดื่มและหลีกเลี่ยงสถานการณ์เสี่ยง ที่ทำให้ต้องดื่มมาก การวางแผนล่วงหน้าที่จะจำกัดการดื่ม การชะลอการดื่มให้ช้าลง เช่น ค่อยๆ จิบ ผสมให้เจือจาง หรือเว้นช่วงนานหลังดื่มแต่ละครั้ง และการเรียนรู้ที่จะจัดการกับปัญหาในชีวิตประจำวันซึ่งอาจจะทำให้ดื่มแพทย์ อาจจะทำคู่มือแนะนำเกี่ยวกับการลดหรือเลิกดื่มสุราด้วยตนเองสำหรับแจกให้กับ ผู้ป่วย ซึ่งในคู่มือก็มักจะมีสมุดบันทึกประจำวันสำหรับบันทึกการดื่มของเขาด้วย EMPATHETIC COUNSELING STYLE วิธีการให้ brief intervention ควรทำด้วยท่าทีที่อบอุ่น เข้าใจและใช้การสะท้อนกลับความคิดหรืออารมณ์ของผู้ป่วยจะได้ผลดีกว่าการใช้ ท่าทีที่แข็งกร้าว หรือต้อนให้จนมุม SELF-EFFICACY OR OPTIMISM OF THE PATIENT แพทย์ควรจะสนับสนุนให้ผู้ป่วยเห็นถึงความสามารถของตนเองในการที่จะทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลง และให้มองตนเองในแง่ดีว่าตนเองมีความสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดื่ม ของตน ESTABLISHING A DRINKING GOAL ผู้ป่วยมักจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดื่มของเขาได้สำเร็จถ้าเขามีส่วนร่วมใน การกำหนดเป้าหมายของการลดหรือเลิกดื่มของเขาเอง ผู้รักษาอาจจะให้ผู้ป่วยเขียนเป้าหมายในการเลิกหรือลดการดื่มของเขาไว้ และใช้เป็นประหนึ่งสัญญาระหว่างผู้รักษาและผู้ป่วย FOLLOW-UP ผู้รักษาจะติดตามดูการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยต่อไปโดยอาจจะเป็นการนัดให้ผู้ป่วยมาพบเป็นระยะๆ หรือโทรศัพท์ถามอาการก็ได้ TIMING การทำ brief intervention จะได้ผลดีในผู้ป่วยที่มีความพร้อมและมีความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การดื่มของเขา ผู้ป่วยอาจจะไม่พร้อมที่จะลดหรือเลิกดื่มในตอนต้นเมื่อเริ่ม brief intervention แต่อาจจะพร้อมเมื่อเขาได้เจอกับปัญหาจากการดื่มของเขา ดังนั้นก่อนเริ่มรักษาแบบ brief intervention ผู้รักษาจึงควรประเมินดูความพร้อมของผู้ป่วยก่อนและเลือกวิธีการรักษาให้ เหมาะสมกับสภาพของผู้ป่วย ขั้นตอนของ BRIEF INTERVENTION หลักการของ brief intervention ที่แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปสามารถทำได้ในระหว่างการตรวจรักษาตามปกติ เพื่อที่จะช่วยค้นหาและให้คำแนะนำผู้ที่มีปัญหาจากการดื่มสุราตั้งแต่ในระยะ แรก 1. การถาม (ASK) สำหรับผู้ป่วยทุกคนที่มาพบแพทย์ ควรจะถามว่าเขาดื่มสุรา เบียร์ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือไม่ ในผู้ป่วยที่ดื่มสุรา ควรจะถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับพฤติกรรมการดื่มของเขา ได้แก่ ปริมาณและความถี่ในการดื่ม รวมทั้งผลที่เกิดขึ้นจากการดื่มของเขา เช่น การดื่มคนเดียว ดื่มเวลาใด การดื่มเคยมีผลต่อการทำงาน ความสัมพันธ์ในครอบครัวและชีวิตประจำวันหรือไม่ เช่น ทำให้ไปทำงานสาย ขาดงาน ครอบครัวรู้สึกเป็นห่วง ลืมสิ่งที่ได้ทำหลังจากดื่มสุรา ไม่สามารถควบคุมตัวเองไม่ให้ดื่มได้ หรือมีอาการไม่สบายต่างๆ หลังจากการดื่มสุรา 2. . ประเมินปัญหาจากการดื่มสุราของผู้ป่วย (ASSESS) โดยให้ผู้ป่วยตอบแบบสอบถาม AUDIT หรือจากการซักถามผู้ป่วยเพิ่มเติม โดยให้แบ่งผู้ที่มีปัญหาจากสุราได้ 3 กลุ่ม 2.1 ผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาจากการดื่มสุรา (hazardous drinking) ได้แก่ ผู้ที่ดื่มในปริมาณที่มากกว่าปกติ หรือดื่มในภาวะที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ในสตรีมีครรภ์ หรือผู้กำลังจะขับขี่ยานพาหนะหรือใช้เครื่องจักร หรือผู้ที่มีประวัติส่วนตัวหรือประวัติครอบครัวของปัญหาจากการดื่มสุรา ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรจะถามลักษณะพฤติกรรมการดื่ม เช่น ดื่มปริมาณนี้มานานเท่าไหร่ ดื่มหนักสัปดาห์ละกี่ครั้ง เคยดื่มมากที่สุดประมาณเท่าไหร่ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา และถามประวัติส่วนตัว และประวัติครอบครัวที่เกี่ยวข้องกับการดื่ม 2.2 ผู้ที่ปัญหาจากการดื่มสุราแล้ว (harmful drinking) คือ ผู้ที่เคยมีผลเสียของการดื่มข้อใดข้อหนึ่ง หรือมีลักษณะทางร่างกายหรือพฤติกรรมที่แสดงว่ามีปัญหาจากการดื่มสุราแล้ว เช่น มีรอยแผลจากอุบัติเหตุ หรือการทะเลาะวิวาทจากการดื่มสุรา ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ แพทย์ควรจะถามผู้ป่วยเกี่ยวกับปัญหาทางร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการดื่มสุรา เช่น blackouts (จำสิ่งที่เกิดขึ้นขณะดื่มสุราไม่ได้) ปวดท้องเรื้อรัง ซึมเศร้า ความดันเลือดสูง อุบัติเหตุ การทำงานของตับผิดปกติ สมรรถภาพทางเพศผิดปกติ หรือมีปัญหาในการหลับนอน 2.3 ผู้ที่น่าจะติดสุราแล้ว เป็นผู้ที่มีลักษณะตามหลักเกณฑ์การวินิจฉัยภาวะติดสุรา สำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ เช่น ไม่สามารถจะหยุดดื่มได้เมื่อได้เริ่มต้นดื่มไปแล้วต้องดื่มเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้รู้สึกดีเท่าเดิม เคยมีความต้องการอย่างรุนแรงที่จะต้องดื่มสุราให้ได้ เคยต้องเปลี่ยนแปลงแผนการทำงานหรือกิจกรรมต่างๆ เพื่อจะได้ดื่มสุราเคยต้องดื่มตอนเช้าเพื่อที่จะแก้อาการมือสั่น 3 .ให้คำแนะนำวิธีการปฏิบัติตนที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วย (ADVICE) ด้วยท่าทีที่อบอุ่น เป็นมิตร และเข้าใจผู้ป่วย เริ่มต้นจากการบอกผู้ป่วยว่าแพทย์รู้สึกเป็นห่วงเรื่องการดื่มสุราของเขา พยายามพูดให้จำเพาะเจาะจงถึงลักษณะการดื่มของผู้ป่วยและปัญหาต่อสุขภาพของ เขา อาจจะชี้ให้ผู้ป่วยเห็นว่าการดื่มสุราของเขาอาจจะมีส่วนให้เขามีอาการทาง ร่างกายต่างๆ เช่น ความดันเลือดสูง รวมทั้งถามด้วยว่าผู้ป่วยรู้สึกอย่างไรกับการดื่มของเขา เพื่อประเมินความรู้สึกและการรับรู้ของผู้ป่วยต่อปัญหาของตนเอง รวมทั้งความคิดที่จะลดหรือเลิกดื่ม แพทย์ควรตกลงร่วมกับผู้ป่วยถึงแผนการปฏิบัติตนของผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยกำหนดเป้าหมายการปฏิบัติตนของตัวเอง โดยเน้นเรื่องการดูแลสุขภาพ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ป่วยเอง ไม่ใช่ของแพทย์ผู้รักษา รวมทั้งเสนอแนะมาตรการต่างๆ ให้ผู้ป่วยใช้ในการควบคุมการดื่ม เรียนรู้ที่จะจัดการกับปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวันโดยวิธีการอื่นๆ ที่ไม่พึ่งการดื่มสุรา สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะติดสุรา และมีประวัติว่าพยายามจะลดการดื่มลงหลายครั้งแล้วแต่ไม่สำเร็จ หรือผู้ที่กำลังตั้งครรภ์หรือกำลังวางแผนจะมีบุตร หรือมีข้อห้ามทางสุขภาพหรือใช้ยาอื่นที่ทำให้ดื่มสุราไมได้ แพทย์ควรจะแนะนำให้หยุดหรือเลิกดื่มเลย ส่วนผู้ที่ดื่มในระดับ hazardous หรือ harmful drinking และยังไม่มีภาวะติดสุรา แพทย์อาจจะแนะนำให้ลดปริมาณการดื่มลงให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย หรือ responsible drinking อาจจะไม่จำเป็นต้องเลิกดื่มโดยเด็ดขาดก็ได้ สำหรับผู้ติดสุราที่ยังไม่พร้อมจะเลิกดื่ม อาจจะแนะนำให้ผู้ป่วยปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง แนะนำให้ผู้ป่วยคุยกับครอบครัวของเขาเกี่ยวกับคำแนะนำต่างๆ ที่แพทย์ให้ไป และนัดให้เขามาพบอีกพร้อมกับสมาชิกในครอบครัวของเขา 4.ดูแลติดตามการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยทุกครั้งที่ผู้ป่วยมาพบ แพทย์(MONITOR) บอกให้ผู้ป่วยทราบถึงแผนการดูแลติดตามรักษา ย้ำว่าแพทย์พร้อมเสมอที่จะให้คำแนะนำและ ความช่วยเหลือผู้ป่วยเสมอ ชมผู้ป่วยในความพยายามที่ได้ทำไป ชี้ให้ผู้ป่วยเห็นว่าเขามีการเปลี่ยนแปลงทางด้านดีขึ้น เช่น สุขภาพดีขึ้น หน้าตาสดชื่นแจ่มใส การทำงานและหน้าที่ต่างๆ ได้ดีขึ้น รวมทั้งครอบครัวก็มีความสุขมากขึ้น เป็นต้น และประเมินความตั้งใจของผู้ป่วยที่จะลดหรือเลิกดื่มต่อไป อาจจะต้องนัดผู้ป่วยบางรายที่ต้องการการดูแลรักษาเพิ่มขึ้นหรือใช้เวลานาน ขึ้นเป็นกรณีพิเศษ และอาจจะพิจารณาส่งต่อผู้ป่วยบางรายไปรับการรักษาเฉพาะทาง หากจำเป็นต้องรับการดูแลรักษาที่มากเกินกว่าที่แพทย์จะทำได้ในคลินิกเวช ปฏิบัติทั่วไป

วันพุธที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2560

เรือเล็กควรออกจากฝั่ง [ก้าวคนละก้าว#ก้าวแรกที่อีสาน]

ก้าวคนละก้าว [ก้อง ห้วยไร่] ก้าวแรกที่อีสาน ขอขอบคุณ เพลง : เรือเล็กควรออกจากฝั่ง ศิลปิน : Bodyslam สังกัด : genie records === ขอขอบคุณ ตูน + ก้อง ห้วยไร่ [และทีมงาน] พี่น้องชาวจังหวัดสกลนคร และทุกท่านที่มีส่วนสนับสนุนโครงการ "ก้าวคนละก้าว"


วันพุธที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2560

เยี่ยมผู้ประสบภัยน้ำท่วม [คุ้มนาแลน บ้านด่านพัฒนา หมู่ 10 ต.แร่]

วันนี้ ทีมเจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านแร่  พร้อมด้วยประธาน อสม.ตำบลแร่ และประธาน อสม.หมู่ 10 ต.แร่ อ.พังโคน จ.สกลนคร ได้ออกเยี่ยมผู้ประสบภัยน้ำท่วม แจกยาสามัญประจำบ้าน ยาทารักษาอาการน้ำกัดเท้า ยาแก้แพ้ ยาลดไข้ เกลือแร่ โดยพื้นที่น้ำท่วมอยู่ในเขต หมู่ 10 ต.แร่ อ.พังโคน จ.สกลนคร 







วันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ร่วมพิธีฯ วันเฉลิมพระชนมพรรษา ในหลวง รัชกาลที่ 10

28 กรกฎาคม 2560  เวลาประมาณ 08.00 น. นางสุพรรณี หน่อแก้ว ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแร่  ต.แร่ อ.พังโคน จ.สกลนคร และคณะเจ้าหน้าที่  ได้ไปร่วมพิธีเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร  เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 65 พรรษา (ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอพังโคน)




รพ.สต.แร่ ร่วมกับ อสม. ร่วมใจปลูกดาวเรือง ถวายในหลวง รัชกาลที่ 9

28 กรกฎาคม 2560 เวลา 06.30 - 08.00 น.  รพ.สต.แร่ ร่วมกับ อสม. ร่วมใจปลูกดาวเรือง ถวายในหลวง รัชกาลที่ 9





วันพฤหัสบดีที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ต้อนรับคณะศึกษาดูงาน รพ.สต.ลดโลกร้อน (คณะศึกษาดูงานจาก สสจ.เชียงราย)

วันนี้ (6 ก.ค.2560) รพ.สต.บ้านแร่ ได้รับเกียรติในการต้อนรับคณะศึกษาดูงานจาก สสจ.เชียงราย ในการศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่อง รพ.สต.ลดโลกร้อน

วันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560

โครงการส่งเสริมความประพฤติเด็ก เพิ่มความเข้มแข็งให้ครอบครัวฯ

โครงการส่งเสริมความประพฤติเด็ก เพิ่มความเข้มแข็งให้ครอบครัว
โดยการมีส่วนร่วมจากชุมชนในพื้นที่กลุ่มหมู่บ้านแร่ (หมู่ 1, 5, 10 และ 14)
ตำบลแร่ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร


(อบรมเชิงปฏิบัติการ เข้าค่าย 4 วัน 3 คืน)

วันที่ 29 มิถุนายน - 2 กรกฎาคม 2560 
ณ โรงเรียนบ้านแร่


กลุ่มเป้าหมายในการอบรม
- นักเรียน ชั้น ป.4 - ป.6 โรงเรียนบ้านแร่ จำนวน 89 คน

ทีมวิทยากร
- คณะครูโรงเรียนบ้านแร่
- คณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียนบ้านแร่
- คณะเจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านแร่
- คณะ อสม.ตำบลแร่
- คณะผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำชุมชน
- เทศบาลตำบลแร่

ผู้สนับสนุนงบประมาณ
 - ชมรมส่งเสริมคนดีเมืองสกล
 - รศ.(พิเศษ) ทพ.ดร.สุขสมัย สมพงษ์


ตารางกิจกรรมการอบรม



กิจกรรมวันที่ 1 (29 มิ.ย.2560)
- ลงทะเบียน / ตรวจสุขภาพ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง



 - ละลายพฤติกรรม แบ่งกลุ่ม (ทีมวิทยากร : คณะครู และ จนท.รพ.สต.)


 - พ่อแม่ อสม. ร่วมเป็นวิทยากร : สอนร้องเพลง ลำเดินสุขบัญญัติ 10 ประการ  (คุณสุพัฒ ฮ้อเถาว์ / คุณฐิติพร ชาติชำนิ)





 - บริการน้ำดื่ม โดย พี่ๆ สภานักเรียน โรงเรียนบ้านแร่


- สร้างความตระหนักรู้ (โดย ผอ.โรงเรียนบ้านแร่ : นายเรืองฤทธิ์ สุวรรณชัยรบ) โดยสื่อ เพลงหน้าที่เด็ก / เพลงค่านิยม 12 ประการ



- ให้ความรู้สุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ (โดยคณะครู และ จนท.รพ.สต.) โดยสื่อเพลงลำเดินสุขบัญญัติ 10 ประการ / บัตรคำสุขบัญญัติ 10 ประการ




- สรุป / วิเคราะห์ ผลการเรียนรู้ : ตระหนักและเห็นความสำคัญของสุขบัญญัติแห่งชาติ / สื่อกิจกรรม : ให้นักเรียนเขียนแผนผังความคิด พฤติกรรมที่เราควรปฏิบัติเพื่อสุขภาพที่ดี













- กิจกรรมออกกำลังกาย / เล่น / อาบน้ำ / กิน / นอน











กิจกรรมวันที่ 2 (30 มิ.ย.2560)
 - ออกกำลังกาย (นำโดย ทีม อสม./ผู้ปกครองนักเรียน)
 - จัดระเบียบแถว
 - อาบน้ำ  / แปรงฟัน
 - รับประทานอาหารเช้า
 - เข้าแถว เคารพธงชาติ
 - ลงทะเบียน (ตรวจสุขภาพประจำวัน)
 - กิจกรรมสันทนาการ (ละลายพฤติกรรม)
 - สรุปกิจกรรมในวันที่ผ่านมา (ปัญหาการนอน/ การตื่นนอน / การเก็บที่นอน / การทิ้งขยะไม่ถูกที่ / การอาบน้ำไม่ทัน... ดังนั้น พวกเราต้องปรับปรุงความประพฤติ การอยู่ร่วมกันต้องรู้จักเห็นอกเห็นใจกัน ช่วยเหลือกัน มีจิตสาธารณะ) 

 - การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (อัคคีภัย) โดย คณะวิทยากรจากเทศบาลตำบลแร่






 - เรื่องเพศ..คุยได้นะเด็กๆ (โดย นางณิชนันท์ ป้องกัน  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ)


 - โรคในช่องปาก และการป้องกัน (การแปรงฟัน)  โดย น.ส.อ้อมใจ ศรีสร้อย และ น.ส.ชบาไพร สุวรรณชัยรบ (จพ.ทันตสาธารณสุข)






 - รับประทานอาหารเที่ยง (ล้างมือ / รับประทานอาหาร / ล้างถ้วย จาน ช้อน / แปรงฟัน และล้างมือ)








 - การป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย (การล้างมือ) โดย นางวรรณวิมล  คำลือฤทธิ์  (พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ)





 - การส่งเสริมสุขภาพด้วยหลัก 3 อ. 2ส. 1ฟ.  โดย น.ส.พรรณทิภา แสนศรีแก้ว (นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ)





- การออกกำลังกายแบบแอโรบิค (รำไม้พลอง) โดย ทีม อสม.ตำบลแร่  และคณะ จนท.รพ.สต.แร่

- อาบน้ำ แปรงฟัน ล้างมือ รับประทานอาหารเย็น

- กิจกรรมระดมความคิด..โลกกว้างทางอาชีพ "โตขึ้นหนูอยากเป็นอะไร" (1.ทำไมถึงอยากเป็นอาชีพนี้ 2.พวกเธอต้องปฏิบัติตัวอย่างไรจึงจะได้ประกอบอาชีพนี้ 3.เธอจะให้พ่อแม่ปฏิบัติต่อเธออย่างไรจึงจะได้ประกอบอาชีพนี้  4.เธอจะให้คุณครูปฏิบัติต่อเธออย่างไรจึงจะได้ประกอบอาชีพนี้) 
 โดย รศ.(พิเศษ) ทพ.ดร.สุขสมัย สมพงษ์







 - สวดมนต์ ไหว้พระ เข้านอน

-----

 กิจกรรมวันที่ 3 (1 ก.ค.2560)
  - ออกกำลังกายทางเลือก : รำไม้พลอง (โดยวิทยากร ทีม อสม.ตำบลแร่)




  - จัดระเบียบแถว (คุณครูชัยวัฒน์    อินทรพาณิชย์)

โรงเรียนบ้านแร่



  - อาบน้ำ แปรงฟัน ล้างมือ รับประทานอาหารเช้า


โรงเรียนบ้านแร่



  - เข้าแถว เคารพธงชาติ สวดมนต์ไหว้พระ กล่าวคำปฏิญาณตน


โรงเรียนบ้านแร่


  - การเรียนรู้ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ





  - รับประทานอาหารเที่ยง (ล้างมือ / รับประทานอาหาร / ล้างถ้วย จาน ช้อน / แปรงฟัน และล้างมือ)

  - ศึกษาดูงานที่ตึกผู้ป่วย โรงพยาบาลพังโคน




  - สร้างความตระหนักในการส่งเสริมสุขภาพโดยบุคคลต้นแบบสร้างแรงบันดาลใจในการดูแลสุขภาพ "คนดีเมืองสกล"





   - วาดภาพสร้างฝัน "หมู่บ้านของฉัน"






 กิจกรรมวันที่ 4 (2 ก.ค.2560)

   - ออกกำลังกายตอนเช้า





   - รับประทานอาหารเช้า




   - บำเพ็ญประโยชน์พร้อมผู้ปกครอง / จิตสาธารณะ







   - อาบน้ำ แปรงฟัน ล้างมือ  แต่งกายชุดนักเรียน เข้าแถว เคารพธงชาติ สวดมนต์ไหว้พระ กล่าวคำปฏิญาณตนของนักเรียน




   - แบ่งกลุ่มตามความสนใจ... และมอบหมายภารกิจ (กิจกรรม/โครงงานต่อเนื่อง)
          1. กลุ่มแปรรูปอาหาร
          2. กลุ่มรักษ์สิ่งแวดล้อม
          3. กลุ่มดอกไม้สวยด้วยมือเรา
          4. กลุ่ม อย.น้อย
          5. กลุ่มหมอน้อยเยี่ยมบ้าน
          6. กลุ่มเกษตรกรน้อยรักษ์สมุนไพร
          7. กลุ่มวิ่งวันละนิดพิชิตโรค
          8. กลุ่มน้ำพริกสมุนไพร
          9. กลุ่มหมอนวดน้อย

   - การเสริมกำลังใจ (ใจเดียวกัน / บายศรีสู่ขวัญ)

   - การบ้านเมื่อกลับไป (กิจกรรมจิตสาธารณะ-รณรงค์ทำความสะอาดหมู่บ้านร่วมกับผู้ปกครอง เดือนละ 1 ครั้ง)