จำนวนการดูหน้าเว็บรวม (เริ่มนับ พฤศจิกายน 2553)

วันพุธที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การประชุมเชิงปฏิบัติการ ก้าวต่อไปในการขับเคลื่อนชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีน ปี 2557

การประชุมเชิงปฏิบัติการ ก้าวต่อไปในการขับเคลื่อนชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีน ปี 2557 (25-26 ธันวาคม 2556) ณ โรงแรมทีเคพาเลช หลักสี่ กทม.

จังหวัดที่ร่วมจัดบูทนิทรรศการ (ตัวแทนของแต่ละเขต จำนวน 12 เขต)

 1. ปทุมธานี
 2.
 3. ตราด
 4. สุพรรณบุรี
 5. นครราชสีมา
 6. อุดรธานี
 7. สกลนคร
 8. นครสวรรค์
 9. พิษณุโลก
 10. น่าน
 11.
 12. ตรัง

---------------------------------------------------------------------

 









------------------------
ข้อมูลเพิ่มเติม ข่าวกรมอนามัย http://www.anamai.moph.go.th/ewt_news.php?nid=5963&filename=index

วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556

หมู่บ้านไอโอดีน (บ้านสมสะอาด ต.แร่ อ.พังโคน จ.สกลนคร)

เรื่องเล่า ชุมชน / หมู่บ้านไอโอดีน (บ้านสมสะอาด ต.แร่ อ.พังโคน จ.สกลนคร)





๑) ชื่อเรื่องเล่า
: การเสริมความรู้และสร้างความตระหนักในการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนในครัวเรือน
          ๑.๑) ชื่อผู้ส่งประกวด  นางสุพรรณี หน่อแก้ว   หน่วยงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแร่
                 ที่อยู่ที่ติดต่อได้สะดวก รพ.สต.แร่  อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร
                 โทรศัพท์
………………………………………………อีเมล์…………………………………
          ๑.๒) ส่งเข้าประกวดในกลุ่มที่
                 (    ) ๑
: นโยบาย
                 (
P) ๒ : กระบวนการขับเคลื่อน
                 (    ) ๓
: นวัตกรรม/ผลิตภัณฑ์      
๒) แรงบันดาลใจหรือสิ่งผลักดันให้ทำงานชิ้นนี้
          ปัญหา ความ
ครอบคลุมการกระจายเกลือเสริมไอโอดีนระดับครัวเรือนของหมู่บ้านสมสะอาด  น้อยกว่าร้อยละ 90  ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับเกลือเสริมไอโอดีนยังไม่ครบถ้วน ทำให้ขาดความตระหนักในการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีน
๓) วิธีการดำเนินงาน

          ๓.๑) จัดการประชุมชาวบ้าน (เน้นแกนนำหมู่บ้าน เจ้าของร้านขายของชำ ร้านขายก๋วยเตี๋ยวและร้านขายอาหารปรุงสำเร็จในหมู่บ้าน อสม.ทุกคน ตัวแทนครัวเรือนทุกครัวเรือน)
          ๓.๒) แบ่งกลุ่มชาวบ้านเพื่อการเรียนรู้และปฏิบัติร่วมกัน ๔ กลุ่ม
          ๓.๓) ประเมินความรู้ของชาวบ้าน โดยวิทยากรการถาม ๒ คำถาม (คำถามที่ ๑ ประโยชน์ของเกลือเสริมไอโอดีนมีอะไรบ้าง
 คำถามที่ ๓ ทำไมชาวบ้านไม่อยากใช้เกลือเสริมไอโอดีน) ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันตอบคำถามทั้ง ๓ คำถาม และออกมานำเสนอให้ทุกกลุ่มทราบ
           ๓.๔) วิทยากรสรุปคำตอบ เรื่อง ประโยชน์ของเกลือเสริมไอโอดีน พร้อมทั้งให้ความรู้เสริมในส่วนที่ยังไม่รู้ และให้ข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องในกรณีที่รู้ไม่ถูกต้อง
           ๓.๕) วิทยากรสรุปคำตอบ เรื่อง สาเหตุที่ชาวบ้านไม่อยากใช้เกลือเสริมไอโอดีน พร้อมทั้งหาแนวทางแก้ไขร่วมกันกับชาวบ้าน
 
           ๓.๖) วิทยากรสอบถามความต้องการความรู้เพิ่มเติมของชาวบ้านว่าอยากรู้เรื่องอะไรเพิ่มเติมอีก และยังมีข้อสงสัยอะไรอีกหรือไม่เกี่ยวกับเรื่องเกลือเสริมไอโอดีน
  วิทยากรให้ความรู้เพิ่มเติมตามความต้องการของชาวบ้าน ทั้งนี้จะต้องแก้ไขข้อสงสัยให้ชาวบ้านหายสงสัยทุกประเด็นที่สำคัญและสอดคล้องกับวิถีการกินและการใช้เกลือในชีวิตประจำวันของชาวบ้าน เช่น สงสัยว่าหรือเชื่อว่า เกลือธรรมดาอร่อยกว่าเกลือเสริมไอโอดีน เป็นต้น วิทยากรต้องแก้ไขข้อสงสัยโดยอ้างอิงข้อมูลทางวิชาการ หรือหากจำเป็นก็อาจทำการพิสูจน์ให้ดูโดยการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เช่น ให้ชาวบ้านที่ร่วมประชุมทุกคนชิมเกลือเสริมไอโอดีนเปรียบเทียบกับเกลือธรรมดา โดยไม่ให้รู้ว่าเกลือไดเป็นเกลือที่เสริมไอโอดีนและเกลือไดเป็นเกลือธรรมดา เมื่อชิมเปรียบเทียบกันแล้วให้ลงคะแนนว่าเกลืออันไหนอร่อยกว่ากัน  เมื่อลงคะแนนเสร็จแล้วให้นับคะแนนและสรุปผลการทดลองให้ทราบ การทดลองนำเกลือเสริมไอโอดีนไปทำปลาร้า เป็นต้น
            ๓.๗)
 จัดทำแผนสุขภาพหมู่บ้าน  และมอบหมายภารกิจแก่ผู้นำชุมชน / อสม. ในการส่งเสริมให้ชาวบ้านมีและใช้เกลือเสริมไอโอดีนทุกครัวเรือนตามแผนที่จัดทำขึ้น
๔) นโยบาย / สื่อ / นวัตกรรม
          มีนโยบายจังหวัด อำเภอ ตำบลในการสนับสนุนให้ประชาชนได้รับสารไอโอดีนในปริมาณที่เหมาะสม ต่อเนื่อง และครอบคลุม ใช้สื่อหอกระจายข่าวหมู่บ้านเป็นสื่อหลักในการประชาสัมพันธ์ โดยมีนวัตกรรมที่เกิดจากการดำเนินงานคือ ไอโอดีนดีลิเวอรี่ (
Iodine Delivery) ซึ่งได้รับสนับสนุนงบประมาณจาก กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลแร่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๘ อุดรธานี สำหรับกิจกรรมการดำเนินงานไอโอดีนดีลิเวอรี่ มีดังนี้
                ๑. จัดตั้งกองทุนเกลือเสริมไอโอดีนในชุมชน จำหน่ายเกลือเสริมไอโอดีนที่มีคุณภาพ ราคาประหยัด โดยมีจุดจำหน่ายเกลือ คือ บ้าน อสม.ทุกหลัง
          ๒. กรณีที่ชาวบ้านไม่สะดวกไปซื้อด้วยตนเอง สามารถสั่งซื้อทางโทรศัพท์มือถือ โดย อสม.บริการส่งตรงถึงครัวเรือน
          ๓. สำรวจความครอบคลุมการมีและใช้เกลือเสริมไอโอดีนในชุมชน (บูรณาการกิจกรรมร่วมกับการสำรวจลูกน้ำประจำเดือน) และให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของเกลือเสริมไอโอดีน
          ๔. บริการตรวจสอบคุณภาพเกลือเสริมไอโอดีนทุกหลังคาเรือน ปีละ
2 ครั้ง โดยใช้ชุดตรวจ I-Kit
๕) ผลลัพธ์ที่ได้
          ทุกครัวเรือนมีและใช้เกลือเสริมไอโอดีนที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน (ร้อยละ 100) และสามารถเข้าถึงแหล่งจำหน่ายเกลือในชุมชนได้สะดวก แต่ก็ยังพบว่ามีบางครัวเรือนที่ยังคงมีการใช้เกลือธรรมดา ควบคู่กับการใช้เกลือเสริมไอโอดีน เช่น ใช้เกลือธรรมดาในการล้างเมือกคาวปลา ใช้ทำปลาร้า ส่วนเกลือเสริมไอโอดีนใช้ปรุงอาหาร เป็นต้น
๖) ปัจจัยสู่ความสำเร็จ
          การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในท้องถิ่น ประกอบด้วยภาคการเมือง (อบต.แร่) ภาคประชาชน (ผู้นำหมู่บ้าน อสม. พระ  ร้านค้าในหมู่บ้าน ร้านขายก๋วยเตี๋ยว) และ ภาครัฐ (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแร่  โรงเรียนบ้านสมสะอาด โรงพยาบาลพังโคน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอพังโคน และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร)

๗) การพัฒนาต่อยอด หรือการขยายผลสู่พื้นที่อื่นๆ เพื่อการพัฒนาที่ยังยืน โดยมีการดำเนินการดังนี้คือ
          ๗.๑) มีการประชุม ถอดบทเรียน  และนำรูปแบบกิจกรรมไปปรับใช้ในทุกหมู่บ้าน ของอำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร
          ๗.๒) มีการนำเสนอในรูปแบบการจัดนิทรรศการ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ของจังหวัดสกลนคร และขยายผลรูปแบบการดำเนินกิจกรรมครอบคลุมทุกอำเภอในจังหวัดสกลนคร
          ๗.๓) การเผยแพร่ทางสื่อสารมวลชน (สถานีโทรทัศน์ช่อง
9 อสมท.ได้มาถ่ายทำรายการเผยแพร่ หมู่บ้านไอโอดีน)

วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ประชุมการจัดทำมาตรฐาน PCA ปี 2557

ประชุมการจัดทำมาตรฐาน PCA ปี 2557

แพทย์พบผู้ป่วยประจำปี 2557

แพทย์พบผู้ป่วยประจำปี 2557

ผู้ป่วยเรื้อรังเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง
รับฟังผลการตรวจเลือดประจำปี
------------------------------------------------------------------------
บ่าย 20 ธันวาคม 2556

ผลงานการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Z713) การให้คำปรึกษาและการเฝ้าระวังด้านอาหาร

ผลงานการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Z713) การให้คำปรึกษาและการเฝ้าระวังด้านอาหาร

กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน  ทั้งหมด ......................คน
กลุ่มเสี่ยงเบาหวานที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม.....................คน   (ร้อยละ..........)


-----------------------------------------------------------------------------------------
ที่มา : JHCIS  วันที่  20 ธันวาคม 2556

รายงานการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม (โครงการสืบสานพระราชปณิธานต้านมะเร็งเต้านม)

รายงานการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม (โครงการสืบสานพระราชปณิธานต้านมะเร็งเต้านม)

ประชากรกลุ่มเป้าหมาย  ปี 2556  จำนวน..............คน

ผลงานการตรวจคัดกรอง

ม.ค.56    จำนวน............คน   (ร้อยละ...........)
ก.พ.56    จำนวน............คน (ร้อยละ...........)
มี.ค.56    จำนวน............คน (ร้อยละ...........)
เม.ย.56   จำนวน............คน (ร้อยละ...........)
พ.ค.56   จำนวน............คน (ร้อยละ...........)
มิ.ย.56    จำนวน............คน (ร้อยละ...........)
ก.ค.56    จำนวน............คน (ร้อยละ...........)
ส.ค.56    จำนวน............คน (ร้อยละ...........)
ก.ย.56    จำนวน............คน (ร้อยละ...........)
ต.ค.56    จำนวน............คน (ร้อยละ...........)
พ.ย.56    จำนวน............คน (ร้อยละ...........)
ธ.ค.56     จำนวน............คน (ร้อยละ...........)
--------------------------------------------------------
ประชากรกลุ่มเป้าหมาย ปี 2557  จำนวน..............คน
ม.ค.57    จำนวน............คน (ร้อยละ...........)
ก.พ.57    จำนวน............คน (ร้อยละ...........)
มี.ค.57    จำนวน............คน (ร้อยละ...........)
เม.ย.57   จำนวน............คน (ร้อยละ...........)
พ.ค.57   จำนวน............คน (ร้อยละ...........)
มิ.ย.57    จำนวน............คน (ร้อยละ...........)
ก.ค.57    จำนวน............คน (ร้อยละ...........)
ส.ค.57    จำนวน............คน (ร้อยละ...........)
ก.ย.57    จำนวน............คน (ร้อยละ...........)
ต.ค.57    จำนวน............คน (ร้อยละ...........)
พ.ย.57    จำนวน............คน (ร้อยละ...........)
ธ.ค.57     จำนวน............คน (ร้อยละ...........)
--------------------------------------------------------

ที่มา : JHCIS  และข้อมูลที่ upload ในเว็บไซต์ฐานข้อมูลของมูลนิธิถันยรักษ์

Link โปรแกรมสำหรับ upload ข้อมูลและตรวจสอบผลงาน http://hpc4.go.th/bse/

รายงานการตรวจคัดกรองภาวะซึมเศร้า (ผู้ใหญ่อายุ 30-60 ปี)

รายงานการตรวจคัดกรองภาวะซึมเศร้า
(ผู้ใหญ่อายุ 30-60 ปี) ปี 2557


จำนวนประชากรกลุ่มเป้าหมาย ..................คน

ผลงานการคัดกรอง ณ วันที่ 20 ธันวาคม 2556

จำนวน   0    คน    (ร้อยละ 0)


--------------------------------------------------------------------------------------
ที่มา : JHCIS  วันที่ 20 ธันวาคม 2556

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

จำนวนประชากรกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ปี 2557


กลุ่มเป้าหมาย 15-65 ปี
(GISJHCIS 17 ธันวาคม 2556)
ลำดับที่ ชื่อหมู่บ้าน เพศชาย เพศหญิง รวม
1 1 แร่ 1 156 170 326
2 2 สมสะอาด 1 263 272 535
3 4 หนองบัว 262 280 542
4 5 บะแต้ 75 92 167
5 10 ด่านพัฒนา 150 199 349
6 11 หนองบัวหลวง 128 152 280
7 12 สมสะอาด 2 223 246 469
8 13 เจริญสุข 70 82 152
9 14 แร่ 2 136 180 316
รวม 1463 1673 3136

หมายเหตุ
                  อายุ  15 ปีขึ้นไป 3553 คน
                  อายุ  15-65 ปี 3136 คน
                  อายุ  66 ปีขึ้นไป = 3553-3136= 417 คน
----------------------------------------------------------------

กลุ่มเป้าหมายตรวจคัดกรอง เบาหวาน-ความดันฯ ณ ตุลาคม 2556
รพ.สต.แร่ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร
กลุ่มเป้าหมาย                 ชาย หญิง รวม
15 ปีขึ้นไป 1661 1940 3601
35 ปีขึ้นไป 1129 1289 2418
ที่มา : งานส่งเสริมสุขภาพ โรคไม่ติดต่อ สสจ.สกลนคร
----------------------------------------------------------------------------

รายงานผลการตรวจคัดกรองเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง รพ.สต.แร่ ปี2557

รายงานผลการตรวจคัดกรองเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง รพ.สต.แร่ ปี2557

 เป้าหมาย (15-65 ปี)  3132  คน (GISHCIS 17 ธ.ค.56)
 ผลงานการคัดกรองเบาหวาน 3070 คน (ร้อยละ 98.77)
ปกติ 2904 คน (ร้อยละ 94.59)
เสี่ยงสูง 2 คน (ร้อยละ.......)
สงสัยผู้ป่วยรายใหม่ 13 คน (ร้อยละ........)
ผู้ป่วยรายเก่า 95 คน (ร้อยละ........)
จำนวนผู้ป่วยรายเก่ามีภาวะแทรกซ้อน 1 คน ไม่มีภาวะแทรกซ้อน 94 คน
--------------------------------------------------
 เป้าหมาย (15-65 ปี) 3132  คน  (GISHCIS 17 ธ.ค.56)
ผลงานการคัดกรองความดันโลหิตสูง  3082 คน (ร้อยละ 98.77)
ปกติ 2873 คน (ร้อยละ 93.22)
เสี่ยงสูง 93 คน (ร้อยละ.......)
สงสัยผู้ป่วยรายใหม่ 26 คน (ร้อยละ........)
ผู้ป่วยรายเก่า 86 คน (ร้อยละ........)
 จำนวนผู้ป่วยรายเก่ามีภาวะแทรกซ้อน 2 คน (ตา1 ไต1) ไม่มีภาวะแทรกซ้อน 84 คน
----------------------------------------------------
ทีมา : JHCIS วันที่ 17 ธันวาคม 2556

อสม.ดีเด่น สาขา การจัดการสุขภาพชุมชน อำเภอพังโคน ปี 2557

อสม.ดีเด่น สาขา การจัดการสุขภาพชุมชน อำเภอพังโคน ปี 2557 นายประสิทธิ์ บุตรแสน