จำนวนการดูหน้าเว็บรวม (เริ่มนับ พฤศจิกายน 2553)

วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โปรแกรม JHCIS_OP/PP_Audit 2011 ตรวจสอบปริมาณข้อมูล วิเคราะห์ Utilization Rate

ดาวน์โหลด
โปรแกรม JHCIS Audit 2011
ตรวจสอบปริมาณข้อมูล วิเคราะห์ Utilization Rate


บทความจากเว็บบอร์ด สปสช. (http://op.nhso.go.th/op/)
สืบค้น 29 มิถุนายน 2554

ห่างหายไปนานกับการเขียนเรื่องต่างๆ ในเว็บนี้ ทั้งนี้เนื่องจากภาระกิจที่ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการลงไปในพื้นที่ร่วมกับสปสช. เขต ซึ่งปัจจุบันก็ยังไม่เสร็จสิ้น แต่ก็คิดว่าได้ประเด็นพอสมควรที่จะนำมาบอกเล่าเก้าสิบกัน ก่อนอื่นต้องคงต้องบอกถึงสาเหตุในการลงไปตรวจเยี่ยมเพื่อหาข้อมูลในครั้งนี้ เนื่องจากก่อนหน้าที่ผ่านมาหลายปี สปสช. เองก็มุ่งเรื่องการนำข้อมูลผู้ป่วยนอกและสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค หรือที่พวกเราเรียกกันติดปากว่า OP/PP Individual Data มาใช้ประโยชน์ แต่ทั้งนี้สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือ "การพัฒนาระบบเพื่อรองรับข้อมูล" ซึ่งอาจรวมไปถึงการพัฒนามาตรฐานต่างๆ เช่น โครงสร้างข้อมูล มาตรฐานรหัสต่างๆ เป็นต้น ควบคู่กันไป จนถึงปัจจุบันนับว่าได้พัฒนามาถึงจุดที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง มีการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น ในส่วนของระบบที่พัฒนาขึ้นหลายท่านที่ทำเรื่องนี้มาคงเห็นความเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมาก รวมไปถึงหน่วยบริการและผู้เกี่ยวข้องก็มีการพัฒนาตนเองในการบันทึก รับส่งข้อมูล เมื่อระบบต่างๆมีความนิ่งมากขึ้น ก็ถึงเวลาที่ต้องหันมาดูตัวข้อมูลว่าสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริงมากน้อยแค่ไหน ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด

ทีมงานเริ่มต้นจาก "อัตราการใช้บริการ" หรือ Utilization Rate ของหน่วยบริการแต่ละแห่ง เพราะอาจเป็นตัวบ่งบอกได้ถึงความเหมาะสมของการให้บริการในแต่ละพื้นที่ ซึ่งเมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เราก็พบว่ามีหน่วยบริการบางส่วนที่มีอัตราการใช้บริการสูง เช่น บางแห่งในระดับสถานีอนามัย หรือ รพ.สต. ในปัจจุบัน มีอัตราการใช้บริการสูงถึง 40 ครั้ง/คน/ปี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราก็ไม่สามารถฟันธงได้ว่า สิ่งที่หน่วยบริการบันทึกเข้ามานั้นถูกหรือผิดอย่างไร การลงพื้นที่เพื่อหาคำตอบและเก็บข้อมูล จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับทีมงาน เพื่อนำข้อมูลที่ได้เหล่านั้นมาวางแผนการดำเนินงานต่อไป


เมื่อลงไปในพื้นที่เราพบอะไรบ้าง ติดตามต่อไปนะครับ





ในการลงตรวจเยี่ยมหน่วยบริการปีนี้ ทีมงานมุ่งเน้นไปที่ สอ. หรือ รพ.สต. ทั้งนี้เนื่องจากข้อมูลส่วนใหญ่ของ OP/PP Individual Data จะมาจากหน่วยบริการในระดับนี้ ดังนั้นผลจากการบันทึกข้อมูลของหน่วยบริการในระดับนี้จึงมีผลต่อการวิเคราะห์ข้อมูลในภาพรวมเป็นอย่างมาก ประเด็นสำคัญเราพบอัตราการใช้บริการ (Utilization Rate) ค่อนข้างสูงในกลุ่มนี้ อย่างวที่ได้เขียนไว้ใตอนแรก

ในการวิเคราะห์ข้อมูลก่อนลงไปตรวจเยี่ยม เราได้มีการเปรียบเทียบอัตราการใช้บริการของแต่ละแห่งกับค่าเฉลี่ยระดับประเทศ ทำให้เห็นว่าหน่วยบริการแห่งใดมีอัตราการใช้บริการสูงหรือต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศมากน้อยเพียงใด ซึ่งเราก็สนใจทั้ง 2 กลุ่ม อย่างไรก็ตาม เนื่องจากจำนวนหน่วยบริการมีจำนวนมาก เราจึงต้องมุ่งเน้นไปที่หน่วยบริการที่มีอัตราการใช้บริการสูงมากๆ ก่อน นอกจากนี้เรายังได้มีการแยกระหว่างข้อมูลบริการที่ส่งมาทั้งหมดกับบริการที่เป็นผู้บ่วยนอก (OP) จริงๆ โดยตัดรหัสการวินิจฉัยที่เป็น Z บางตัวที่เป็นงานส่งเสริมป้องกันฯ (PP) ออก เพื่อดูสัดส่วนข้อมูลที่เข้ามาด้วย


สำหรับการลงตรวจเยี่ยมครั้งนี้เราได้เชิญ สปสช. เขตฯ สสจ. และ สสอ. ที่รับผิดชอบพื้นที่ที่เราลงไปตรวจด้วย ปัญหาอย่างหนึ่งที่เราพบก่อนจะไปพูดถึงการบันทึกข้อมูล ก็คือ เรื่องของการนำเอาข้อมูลไปใช้ จากทุกที่ๆ ผมและทีมงานไปมา พบว่า ไม่ว่าจะเป็น หน่วยบริการเอง สสอ. หรือจังหวัด ยังขาดเรื่องการนำข้อมูลไปใช้ ทำให้มองไม่เห็นถึงความผิดปกติของข้อมูล ดังนั้น ไม่แปลกใจที่เมื่อลงไปดูการบันทึกข้อมูลของหน่วยบริการ บาง สสอ. หรือบางจังหวัด จึงบอกว่า "ไม่กล้าใช้ข้อมูล" ดังนั้น การที่ข้อมูลจะดีหรือไม่ดี "การใช้ข้อมูล" จึงเป็นปัจจัยข้อหนึ่งที่ควรจะต้องทำ (ข้ออื่นๆ ลองหาอ่านในบทความเก่าๆ นะครับ)


ตอนหน้าผมจะเขียนถึงวิธีการบันทึกข้อมูลที่ไม่ถูกต้องของหน่วยบริการที่ไปพบว่าครับ







จากการได้ลงไปตรวจเยี่ยมหน่วยบริการระดับ สอ. หรือ รพ.สต. เรายังพบว่าปัญหาอย่างหนึ่งที่เราพบคือเรื่องของความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณและการบันทึกข้อมูล OP/PP Individual Data ทำให้วิธีการบันทึกข้อมูลเกิดความไม่ถูกต้องตามไปด้วย เกือบทุกแห่งที่ไปมาไม่รู้จัก Web OP/PP Individual Data ทำให้ไม่ทราบสถานการณ์ของข้อมูลตนเองที่ส่งไป บางท่านเข้าใจว่างบประมาณ OP/PP ในพื้นที่มาจากการบันทึกข้อมูลดังกล่าว (เงิน OP/PP จ่ายตามประชากรที่ลงทะเบียน) สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การบันทึกข้อมูลคลาดเคลื่อนหรือไม่ถูกต้อง

อีกเรื่องที่น่ากังวลคือ การบอกต่อหรือการพูดคุยกันเอง ในเรื่องที่อาจไม่ถูกต้อง (ขณะเขียนมีโทรศัพท์เข้ามาว่าถ้าบันทึกแบบนี้จะตัด point ใช่หรือไม่ เพราะวิทยากรที่อบรมบอก) ยกตัวอย่างที่ไปเจอมา มีการแจ้งกันว่าการจะได้ Point จะต้องบันทึกทั้งยาและหัตถการเข้ามา จึงมีการใส่ยามาทุกครั้งที่บันทึก เช่น จ่ายยาPARACETAMOL 2 TAB หรือให้หัตถการรหัส 9999 (NON OP-PROCEDURES) เข้ามาทุกครั้ง สิ่งเหล่านี้หากบันทึกเข้ามาระบบคอมพิวเตอร์ก็จะให้ผ่าน เพราะระบบไม่สามารถตัดสินได้ว่าอะไรเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม ผมจึงย้อนกลับไปเรื่องการใช้ข้อมูล หากหน่วยบริการเองใช้ข้อมูล หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ใช้ข้อมูล ก็สามารถเห็นความผิดปกติเหล่านี้ได้ตั้งแต่แรก


ปัจจัยเรื่องของโปรแกรมที่ใช้ก็มีผลอย่างยิ่ง เท่าที่ไปดูโปรแกรมที่หน่วยบริการใช้มักจะมีระบบอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยให้ผู้บันทึกทำงานได้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม เราพบว่ามีทั้งข้อดีและข้อเสีย เช่น การให้รหัสโรค (ICD10) โดยอัตโนมัติ ทำให้ผู้บันทึกละเลยการให้รหัสโรคที่ถูกต้องไป เพราะโปรแกรมลงรหัสบางตัวให้แล้ว เป็นต้น


การลงพื้นที่ครั้งนี้เราไม่ได้ลงไปเพื่อการจับผิดหรือหาคนผิด เป็นการไปหาข้อมูลและให้คำแนะนำเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น เจ้าหน้ามี่ทุกท่านที่เราไปเจอมา จึงให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เราอยากทราบอะไรก็บอกมาหมด จึงต้องขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกท่านที่ไปเจอมา ณ ทีนี้


ยังไม่จบนะครับ ตอนหน้าจะยกตัวอย่างการบันทึกข้อมูลที่ไปพบมาอีกครับ











จากหลายปีที่ผ่านมาการจัดสรรงบประมาณ OP/PP Individual Data มุ้งเน้นไปในเรื่องของปริมาณเป็นหลัก ขาดการตรวจสอบเรื่องคุณภาพเกี่ยวกับความถูกต้องอย่างจริงจัง (ซึ่งหมายถึงการบันทึกตามข้อเท้จจริงตามการให้บริการ) ทำให้หน่วยบริการหรือผู้บันทึกข้อมูลพยายามที่จะบันทึกข้อมูลเข้ามาปริมาณมากๆ บวกกับปัจจัยดังนี้

๑) เจ้าหน้าที่ขาดความเข้าใจในระบบการจัดสรรงบ UC โดยเฉพาะงบ OP/PP ที่จัดสรรแบบเหมาจ่ายรายหัว (Capitation) ลงไปในพื้นที่

๒) จำนวนประชาการที่รับผิดชอบมีน้อย หากบันทึกตามจริงก็จะได้งบประมาณจาก OP/PP Individual Data น้อย (ขอย้ำนะครับว่า งบ OP/PP Individual Data เป็นคนละส่วนกับงบ OP/PP ที่จัดสรรตาม
Capitation)
๓) การจัดสรรงบ OP/PP Individual Data เป็น Global Budget คือ มีเงินเ้ท่าเดิมแต่หารด้วยจำนวน Point ที่ได้ ดังนั้น หากมีที่ใกล้เคียงทำข้อมูลไม่ถูกต้องเข้ามา อีกที่ก็ต้องทำตามกันไป ไม่อย่างนั้นก็จะได้เงินน้อย



การบันทึกข้อมูลโดยคำนึงถึงเฉพาะปริมาณบางแห่ง มากจนกระทั่งตัวเองก็ไม่กล้าใช้ข้อมูลในการทำงาน นอกจากนี้เรายังพบว่าบางครั้งโปรแกรมที่หน่วยบริการใช้ก็พยายามที่จะเพิ่ม Function ให้หน่วยบริการสามารถบันทึกข้อมูลเข้ามามากๆ ได้อย่างสะดวก โดยให้ผู้บันทึกพิจารณาความเหมาะสมเอาเอง บางแห่งที่เราไปพบว่ามีการนำข้อมูลที่ให้ อสม. ออกไปเยี่ยมบ้าน แล้วนำคนทั้งบ้านมาบันทึก โดยที่เจ้าหน้าที่ไม่ได้ไปเยี่ยมเอง หรือ การนำคนที่มารับบริการ ๑ วัน มาแยกบันทึกเป็น ๓ วัน เป็นต้น ซึ่งวิธีการเหล่านี้เมื่อสอบถามเจ้าหน้าที่ ก็บอกว่ามีการบอกต่อวิธีการกันมา


ส่วนใหญ่ผู้บันทึกข้อมูลมักจะเข้าใจว่า ข้อมูลที่ส่งเข้าไปมีจำนวนมากไม่มีทางตรวจสอบได้ว่าถูกต้องหรือไม่ถูกต้องอย่างไร (ถูกต้อง หมายถึง บันทึกตามข้อเท็จจริง) โดยอาจลืมไปว่า เมื่อข้อมูลเข้ามาที่ระบบกลาง ข้อมูลทั้งหมดสามารถนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลต่างๆ ได้ เช่น จำนวนประชากร หน่วยบริการในระดับเดียวกัน ซึ่งการเปรียบเทียบเหล่านี้จะนำไปสู่การเห็นข้อมูลที่ผิดปกติ เช่น รพ.สต. บางแห่งบันทึกข้อมูลเข้ามาเป็นการให้บริการวันเดียวถึง ๗,๐๐๐ รายเป็นต้น


ยังมีประเด็นอื่นๆ อีกในตอนต่อไปครับ







เรียน อ.คิดคม
จากกระทู้ตรวจเยี่ยมหน่วยบริการ(
1)
ทีมงานเริ่มต้นจาก "อัตราการใช้บริการ" หรือ Utilization Rate ของหน่วยบริการแต่ละแห่ง เพราะอาจเป็นตัวบ่งบอกได้ถึงความเหมาะสมของการให้บริการในแต่ละพื้นที่ ซึ่งเมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เราก็พบว่ามีหน่วยบริการบางส่วนที่มีอัตราการใช้บริการสูง เช่น บางแห่งในระดับสถานีอนามัย หรือ รพ.สต. ในปัจจุบัน มีอัตราการใช้บริการสูงถึง 40 ครั้ง/คน/ปี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราก็ไม่สามารถฟันธงได้ว่า สิ่งที่หน่วยบริการบันทึกเข้ามานั้นถูกหรือผิดอย่างไร การลงพื้นที่เพื่อหาคำตอบและเก็บข้อมูล จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับทีมงาน เพื่อนำข้อมูลที่ได้เหล่านั้นมาวางแผนการดำเนินงานต่อไป

ขอเรียนสอบถามดังนี้

1.
ค่าเฉลี่ยการรับบริการ /คน/ปี ควรจะไม่เกินกี่ครั้ง (รับบริการที่ รพ.สต.)

2.
หน่วยบริการจะทราบหรือไม่ว่า สปสช.เห็นความผิดปกติของข้อมูล

3.
สปสช.มีแนวทางการดำเนินงานอย่างไรกับหน่วยบริการที่มีข้อมูลผิดปกติ


ตอบ....
1. ข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการ Utilization Rate ค่าเฉลี่ยการรับบริการประมาณ 3 ครั้ง /คน/ปี
2.
สปสช.จะทราบสถานะของข้อมูลที่หน่วยบริการส่งมาทุกแห่ง แต่หน่วยบริการจะทราบหรือไม่นั้นต้องขึ้นอยู่กับการให้ความสนใจของหน่วยบริการเองครับ

3.
ในปี 2554 จะดำเนินการรายงานสถานะของข้อมูลให้ สปสช.เขตรับทราบ และแจ้งให้ สสจ.ทราบต่อไป ทั้งนี้ สปสช.เขต จะมีคณะกรรมการตรวจสอบที่มาจากตัวแทนของ สสจ.ในเขตนั้นๆ คณะกรรมการ ฯ ก็จะลงไปตรวจสอบในหน่วยบริการ หรือ รพ.สต.ที่เป็นปัญหามาก ๆ เพื่อให้มีการปรับปรุงแก้ไขให้ทำให้ถูกต้อง หรือทบทวนกระบวนการจัดสรรเงินให้เหมาะสมต่อไปโดยที่ไม่ขัดกับระเบียบหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้แต่เดิม

...
ทิศทางในปี 2555 หน่วยงานที่ทำข้อมูลผิดปกติ ต้องรับผิดชอบในการดำเนินงานของตนเองครับ ทั้งในเชิงบวก และลบ


วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แนวการส่อ (คำถาม) และคำตอบการจัดกิจกรรมการออกกำลังกายในชุมชน

แนวการส่อ (คำถาม) และคำตอบการจัดกิจกรรมการออกกำลังกายในชุมชน
เวทีโสเหล่  ณ วัดธาตุ  บ้านแร่ ต.แร่ อ.พังโคน จังหวัดสกลนคร
21 กุมภาพันธ์ 2554 

รศ.(พิเศษ) ทพ.ดร.สุขสมัย สมพงษ์


1.       รู้ได้อย่างไรว่ามีคนออกกำลังกายสม่ำเสมอ จำนวนมากน้อยเพียงใด มีใครบ้าง

- ทำบัญชีรายชื่อ (ทะเบียนสมาชิก)

2.       ใครเป็นผู้ทำบัญชีรายชื่อ

3.       จะทำอย่างไรให้คนในข้อ 1 ออกกำลังกายต่อเนื่อง

ü      กำหนดวันเวลา สถานที่ ประเภทการออกกำลังกาย และกลุ่มเป้าหมาย

ü      จัดกลุ่มการออกกำลังกายตามประเภทที่ชอบ (กำหนดผู้รับผิดชอบแต่ละกลุ่ม)

ü      แนวทางการจัดกิจกรรม เลือกระหว่าง

·   แต่ละกลุ่มจัดให้มีการออกกำลังกายตามที่ใจชอบ แล้วนัดหมายมาออกกำลังกายร่วมกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

·   จัดชุดออกกำลังกายทั้งหมดรวมกัน ทุกกลุ่ม ทุกคน มาออกกำลังกายรวมกัน

·   ** หากเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วไม่ชอบ ให้มีโอกาสเปลี่ยนทางเลือกใหม่

4.       รู้ได้อย่างไรว่ามีการออกกำลังการ (ประเมินผลอย่างไร)

5.       รู้ได้อย่างไรว่าทำตามข้อ 1-4 แล้ว มีผลสัมฤทธิ์ หัวใจ ปอดทนทาน

ü      มีการประเมินผล โดยชาวบ้าน...  ชั่งน้ำหนัก, วัดรอบเอว, วัดความดันโลหิตสูง

ü      มีการประเมินผล โดยเจ้าหน้าที่...  ประเมินผล วิ่งทดสอบสมรรถภาพ 2.4 กิโลเมตร

6.       ทำอย่างไรจึงจะทำให้คนไม่ออกกำลังกายเข้าร่วมออกกำลังกายกันมากขึ้น

7.       จะมีวิธีการเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ออกกำลังกายอย่างไร

ü      ลำดับที่ 1 คนใกล้ชิด คุ้นเคย (คนในครอบครัว)

ü      ลำดับที่ 2 เพื่อนบ้าน ญาติสนิท และคนที่มีความเสี่ยง

ü      ลำดับที่ 3 คนอื่นๆ ในหมู่บ้าน

ü      ** ใช้ระบบขยายผลแบบลูกโซ่ (แบบธุรกิจขายตรง)

8.       ควรมีระบบในการสร้างขวัญกำลังใจให้คนทำงานขยายผล

ü      ยกย่องเชิดชูเกียรติ, การเลี้ยงสังสรรค์

9.       จะมีวิธีการอย่างไรที่จะทำกิจกรรมออกกำลังกายไม่น่าเบื่อหน่าย

ü      จัดหาวิธีการออกกำลังกายแบบใหม่

ü      การเพิ่มองค์ความรู้

ü      การประกวด / สังสรรค์

ü      การร่วมกิจกรรมกับหมู่บ้านอื่นๆ การดูงานต่างพื้นที่