จำนวนการดูหน้าเว็บรวม (เริ่มนับ พฤศจิกายน 2553)

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

โปรแกรม JHCIS – BaanRae Health Information


ดาวน์โหลดโปรแกรม


โปรแกรม JHCIS – BaanRae Health Information  เวอร์ชั่น 25551202.0
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ  (Management Information System : MIS)
สำหรับหน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (นำเข้าข้อมูลจากฐานข้อมูล
JHCIS)

วัตถุประสงค์ของโปรแกรม

         
1. ไม่มีวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลในฐานข้อมูล JHCIS
         
2. ประมวลผลข้อมูลจากระบบฐานข้อมูล JHCIS  เพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศสำหรับเจ้าหน้าที่ในหน่วยบริการปฐมภูมิ หรือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจวางแผนการดำเนินงานบริการสาธารณสุขให้บรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอำนวยความสะดวกในการจัดทำรายงานต่างๆ ของหน่วยงาน
รูปแบบ
-กระบวนการหลักในการทำงานของโปรแกรม
         
1. นำเข้าข้อมูลจากระบบฐานข้อมูล JHCIS
          2. จัดทำรายงานทะเบียนรายชื่อกลุ่มเป้าหมายรายหมู่บ้าน และ/หรือจำแนกกลุ่มเป้าหมายตามรายชื่อ อสม.ที่รับผิดชอบ รวมทั้งจัดทำรายงานสรุปจำนวนกลุ่มเป้าหมายรายหมู่บ้าน
         
3. จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานกับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เช่น การตรวจคัดกรอง NCD  เป็นต้น ทำการเปรียบเทียบผลงานกับเป้าหมาย โดยใช้สถิติเบื้องต้น จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย

การติดตั้งโปรแกรม
         
1. ดาวน์โหลดโปรแกรม  ชื่อไฟล์ที่ดาวน์โหลด  HEALTH_THAI.zip
          2. ทำการแตกไฟล์ จะได้โฟลเดอร์ชื่อ HEALTH_THAI  นำโฟลเดอร์นี้ไปไว้ในไดร์ฟ  C (ในโฟลเดอร์ HEALTH_THAI จะมีไฟล์โปรแกรม 1 ไฟล์ ชื่อ JHCIS_BaanRae_2013.mdb)
          3. เปิดใช้งานโปรแกรมโดยเข้าไปดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์โปรแกรม  JHCIS_BaanRae_2013.mdb
การตั้งค่าเริ่มต้น-กรอกข้อมูลพื้นฐานในการใช้โปรแกรมครั้งแรก
          เปิดใช้งานโปรแกรมโดยเข้าไปดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์โปรแกรม 
JHCIS_BaanRae_2013.mdb เข้าไปคลิกที่แทบ (Tab) “System Configuration & Maintenance”  เลือกคลิกที่ปุ่มคำสั่งต่างๆ เพื่อกรอกข้อมูลพื้นฐานดังนี้
                  
1. กำหนดชื่อหน่วยบริการ
                  
2. กำหนดหมู่บ้านในเขต
                  
3. ข้อมูลประชากรกลางปี
                  
4. รายชื่อเจ้าหน้าที่รับผิดชอบรายหมู่บ้าน
                  
5. รายชื่อ อสม. รับผิดชอบรายหลังคาเรือน
                  
6. แก้ไขรายชื่อ อสม.รับผิดชอบรายหลังคาเรือน (กรณีต้องการแก้ไข)

การนำเข้าข้อมูลจากระบบฐานข้อมูล JHCIS
          1. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ติดตั้งโปรแกรมนี้จะต้องมีการติดตั้งโปรแกรม JHCIS Server ไว้แล้ว
         
2. เปิดใช้งานโปรแกรมโดยเข้าไปดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์โปรแกรม  JHCIS_BaanRae_2013.mdb เข้าไปคลิกที่แทบ (Tab) “System Configuration & Maintenance”  เลือกคลิกที่ปุ่มคำสั่งตามลำดับดังนี้
                  
2.1 ลบข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในฐานข้อมูลนี้
                  
2.2 นำเข้าข้อมูลประชากร (person) และบริการ (visit)
         
3. การปรับปรุงข้อมูล (update)
                  
3.1 ในกรณีที่ติดตั้งโปรแกรมนี้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งโปรแกรม JHCIS Server (ฐานข้อมูลที่ใช้งานจริง online ในระบบเครือข่ายของหน่วยงาน)
                            
- เปิดใช้งานโปรแกรมโดยเข้าไปดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์โปรแกรม  JHCIS_BaanRae_2013.mdb เข้าไปคลิกที่แทบ (Tab) “System Configuration & Maintenance”  เลือกคลิกที่ปุ่มคำสั่งตามลำดับดังนี้  > ลบข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในฐานข้อมูลนี้   > นำเข้าข้อมูลประชากร (person) และบริการ (visit)
                  
3.2 ในกรณีที่ติดตั้งโปรแกรมนี้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งโปรแกรม JHCIS Server (ฐานข้อมูลที่ใช้งานสำหรับการประมวลผลโดยไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของหน่วยงาน)
                            
- ทำการ Backup ไฟล์โปรแกรมฐานข้อมูล JHCIS (ฐานข้อมูลที่ใช้งานจริง online ในระบบเครือข่ายของหน่วยงาน)
                            
- นำไฟล์ Backup มาทำการ Restore  ในโปรแกรม JHCIS Server (ฐานข้อมูลที่ใช้งานสำหรับการประมวลผลโดยไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของหน่วยงาน)
                            
- เปิดใช้งานโปรแกรมโดยเข้าไปดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์โปรแกรม  JHCIS_BaanRae_2013.mdb เข้าไปคลิกที่แทบ (Tab) “System Configuration & Maintenance”  เลือกคลิกที่ปุ่มคำสั่งตามลำดับดังนี้  > ลบข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในฐานข้อมูลนี้   > นำเข้าข้อมูลประชากร (person) และบริการ (visit)
 การประมวลผลข้อมูล
-จัดทำรายงาน
         
1. คลิกที่ปุ่มคำสั่งต่างๆ ซึ่งจัดแยกเป็นหมวดหมู่ ดังนี้
                  
1.1 ประชากร-กลุ่มเป้าหมาย  อัตราการใช้บริการ Utilization Rate
                  
2.2 สถิติชีพ
                  
2.3 EPI
                   2.4 คัดกรอง NCD
                   2.5 เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
                  
2.6 ผู้สูงอายุ ผู้พิการ จิตเวช
                  
2.7 แยกกลุ่มโรค (504)
                  
2.8 รง.506
                   2.9 มะเร็ง
                  
2.10 ทันตสาธารณสุข
                  
2.11 แพทย์แผนไทย
                  
2.12 โรงเรียน
ผู้พัฒนาโปรแกรม
          นายมงคล  โชตแสง  (นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ)

          โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแร่
         
mc20079@gmail.com

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สืบค้นรหัสครุภัณฑ์ ในระบบงานฐานข้อมูลพัสดุ กระทรวงสาธารณสุข



เป็นระบบที่จัดทำขึ้นเพื่อจัดเก็บข้อมูลพัสดุ ของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง
สาธารณสุข เพื่อง่ายต่อการใช้งานข้อมูล
อีกทั้งเพื่อที่จะให้เจ้าหน้าที่หรือพนักงานพัสดุและ/หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารงานพัสดุ
ใช้เป็นหลักเกณฑ์ และแนวทางในการกำหนดหมายเลขพัสดุให้เป็นระบบและมาตรฐานเดียวกัน
ทุกหน่วยงาน
โดยเจ้าหน้าที่หรือพนักงานพัสดุและ/หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารงานพัสดุ สามารถเข้ามาสอบถามถึงหลักเกณฑ์การกำหนดหมายเลขพัสดุตามตามระบบ FSN (Federal Stock Number) อีกทั้งเจ้าหน้าที่หรือพนักงานพัสดุและ/หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารงานพัสดุ สามารถสอบถามหมายเลขพัสดุ ที่จะกำหนดให้แก่พัสดุทั้งหมายเลขกลุ่ม , หมายเลขประเภท , หมายเลขชนิด เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดหมายเลขพัสดุต่อไป
โดยข้อมูลทั้งหมดรวมถึงการกำหนดหมายเลขพัสดุตามตามระบบ FSN (Federal Stock Number)
อ้างอิงและนำเข้ามาจาก คู่มือการกำหนดหมายเลขพัสดุ ของสำนักพัฒนาระบบงานและบุคลากร สำนักงบประมาณ พ.ศ. 2543



วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

หน่วยบริการตรวจคัดกรองความเสี่ยงด้านสุขภาพประชาชน ปี 2556

ภาพกิจกรรมของหน่วยบริการตรวจคัดกรองความเสี่ยงด้านสุขภาพประชาชน ปีงบประมาณ 2556
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแร่ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร















ข้อมูล อสม. ปี2556 (Health volunteer 2013)

จำนวน อสม. รายหมู่บ้าน



รายงานผลการคัดเลือก อสม.ดีเด่น (ระดับหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ)
ของ อสม.ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแร่ ปี 2555
ลำดับ สาขา ชื่อ - สกุล อสม.ดีเด่น อสม.ดีเด่น ระดับ
1 การเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ นางจันทร์หอม สัพโส หมู่บ้าน
2 การส่งเสริมสุขภาพ นางสมบัติ พันโสรี หมู่บ้าน
3 สุขภาพจิตชุมชน
4 การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน นางนภาพร มีศักดิ์ หมู่บ้าน
5 การบริการในศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน
(ศสมช.)และการสร้างหลักประกันสุขภาพ
6 การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ นางจะราพร พานพินิจ หมู่บ้าน
นางสมจิต สุจริต หมู่บ้าน
7 ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ นางบุดสดา ยงพรหม อำเภอ
8 การป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในชุมชน
9 การจัดการสุขภาพชุมชน นายสุพัฒ ฮ้อเถาว์ ตำบล
นายประนอม หอมมี หมู่บ้าน
10 นมแม่ สายใยรักแห่งครอบครัว นางวัลย์เพ็ญ ลีทอง หมู่บ้าน

วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประชาสัมพันธ์การเฝ้าระวังโรคคอตีบ และการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ


                                                                                           29   ตุลาคม  2555 เรื่อง       ประชาสัมพันธ์การเฝ้าระวังโรคคอตีบ และการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ
 เรียน       นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแร่, กำนันตำบลแร่, ผู้ใหญ่บ้าน และประธาน อสม. ทุกหมู่บ้าน สิ่งที่ส่งมาด้วย  เอกสารความรู้เรื่องโรคคอตีบ                     จำนวน  1 ชุด

                                ด้วย ได้รับแจ้งจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร ว่าพบผู้ป่วยสงสัยโรคคอตีบ 1 ราย และให้มีการประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องโรคคอตีบให้ประชาชนทราบ รวมทั้งให้มีการเฝ้าระวังโรคโดย อสม. ทุกวัน หากประชาชนในหมู่บ้านมีอาการสงสัย 2 ใน 4 อาการต่อไปนี้ ให้รีบแจ้ง อสม. หรือรีบไปพบหมอที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อตรวจรักษาต่อไป   โดยอาการสงสัยโรคคอตีบ  4 อาการประกอบด้วย 1) มีไข้  2) เจ็บคอ  3)คอแดง  4) มีฝ้าขาวปนเทา บริเวณทอลซิล ช่องคอ และ/หรือโพลงจมูก/กล่องเสียง
                                อนึ่ง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร ให้ อสม. ดำเนินการสำรวจประวัติการได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ในกลุ่มประชาชนอายุต่ำกว่า 15 ปี  เพื่อพิจารณาดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบในกรณีได้รับวัคซีนไม่ครบ  ดังนั้นหากผู้ปกครองของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีท่านใดทราบว่าบุตร หลาน ของตนไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ หรือได้รับวัคซีนไม่ครบตามที่หมอนัด ให้แจ้ง อสม. หรือหมอที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2555
                                ในการนี้ จึงขอความร่วมมือจากท่านในการประชาสัมพันธ์ให้ให้ความรู้แก่ประชาชนในตำบลแร่ทราบโดยทั่วกัน (ขอความอนุเคราะห์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้โรคคอตีบ ตามเอกสารที่แนบมาพร้อมนี้ อย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย 5 วัน)
                                จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ  และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความร่วมมือจากท่านเป็นอย่างดี  จึงขอขอบคุณ มา ณ โอกาสนี้

วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เฝ้าระวังโรคคอตีบ


เฝ้าระวังโรคคอตีบ

" ไข้ เจ็บคอ มีฝ้าขาวในคอ ให้สงสัยโรคคอตีบ รีบปรึกษาแพทย์ "
จังหวัดสกลนครพบผู้ป่วยสงสัยโรคคอตีบ จำนวน ๑ ราย จึงขอความร่วมมือจากสถานบริการทุกแห่งประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องโรคคอตีบแก่ประชาชนในพื้นที่เพื่อเตรียมรับการระบาดของโรคดังกล่าว  (ข่าวประชาสัมพันธ์ สสจ.สกลนคร)

----------------------------------------------------------

โรคคอตีบ (Diphtheria) : โรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โรคคอตีบ หรือ ดิพทีเรีย เป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจ ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบ มีแผ่นเยื่อเกิดขึ้นในลำคอ ในรายที่รุนแรงจะมีการตีบตันของทางเดินหายใจ จึงได้ชื่อว่าโรคคอตีบ ซึ่งอาจทำให้ถึงตายได้ และจากพิษ (exotoxin) ของเชื้อจะทำให้มีอันตรายต่อกล้ามเนื้อหัวใจ และเส้นประสาทส่วนปลาย
สาเหตุ
โรคคอตีบเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Corynebacterium diphtheriae (C. diphtheriae) ซึ่งมี รูปทรงแท่งและย้อมติดสีแกรมบวก มีสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดพิษ (toxogenic) และไม่ทำให้เกิดพิษ (nontoxogenic) พิษที่ถูกขับออกมาจะชอบไปที่กล้ามเนื้อหัวใจและปลายประสาท ทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งถ้าเป็นรุนแรงจะทำให้ถึงตาย

ระบาดวิทยา
โรคติดต่อชนิดนี้ เชื้อจะพบอยู่ในคนเท่านั้นโดยจะพบอยู่ในจมูกหรือลำคอของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ โดยไม่มีอาการ (carrier) ติดต่อกันได้ง่ายโดยการได้รับเชื้อโดยตรงจากการไอ จามรดกัน หรือพูดคุยกันในระยะใกล้ชิด เชื้อจะเข้าสู่ผู้สัมผัสทางปากหรือทางการหายใจ บางครั้งอาจติดต่อกันได้โดยการใช้ภาชนะร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ ช้อน หรือ การดูดอมของเล่นร่วมกันในเด็กเล็ก ผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการเป็นแหล่งแพร่เชื้อที่สำคัญในชุมชน ส่วนใหญ่จะพบผู้ป่วยโรคคอตีบในชุมชนแออัด ในกลุ่มชนที่มีเศรษฐานะไม่ดี เด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนจะติดเชื้อได้ตั้งแต่เล็กหลังจากภูมิต้านทานจากแม่หมดลง ในประเทศที่ยังพบโรคนี้ได้ชุกชุมส่วนใหญ่จะพบในเด็กอายุระหว่าง 1-6 ปี สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วและมีระดับการได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบสูง โรคนี้จะหมดไปหรือพบได้น้อยมาก ในประเทศไทยอุบัติการณ์ของโรคได้ลดลงมาก ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่พบจะอยู่ในชนบทหรือในชุมชนแออัด เป็นเด็กที่ยังไม่ได้รับวัคซีนหรือได้รับไม่ครบ และพบในเด็กโตได้มากขึ้น
ถึงแม้อุบัติการณ์ของโรคจะลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจนทุกแห่ง แต่อัตราป่วยตาย (case-fatality rate) อยู่ในระดับที่ค่อนข้างคงที่ คือ ประมาณร้อยละ 10
ระยะฟักตัวของโรคอยู่ระหว่าง 2-5 วัน อาจจะนานกว่านี้ได้ เชื้อจะอยู่ในลำคอของผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาได้ประมาณ 2 สัปดาห์ แต่บางครั้งอาจนานถึงหลายเดือนได้ ผู้ที่ได้รับการรักษาเต็มที่เชื้อจะหมดไป ภายใน 1 สัปดาห์

อาการและอาการแสดง
หลังระยะฟักตัวจะเริ่มมีอาการไข้ต่ำๆ มีอาการคล้ายหวัดในระยะแรก มีอาการไอเสียงก้อง เจ็บคอ เบื่ออาหาร ในเด็กโตอาจจะบ่นเจ็บคอคล้ายกับคออักเสบ บางรายอาจจะพบต่อมน้ำเหลืองที่คอโตด้วย เมื่อตรวจดูในคอพบแผ่นเยื่อสีขาวปนเทาติดแน่นอยู่บริเวณทอนซิล และบริเวณลิ้นไก่ แผ่นเยื่อนี้เกิดจากพิษที่ออกมาทำให้มีการทำลายเนื้อเยื่อ และทำให้มีการตายของเนื้อเยื่อทับซ้อนกันเกิดเป็นแผ่นเยื่อ (membrane) ติดแน่นกับเยื่อบุในลำคอ

ตำแหน่งที่จะพบมีการอักเสบและมีแผ่นเยื่อได้ คือ
- ในจมูก ทำให้มีน้ำมูกปนเลือดเรื้อรัง มีกลิ่นเหม็น
- ในลำคอและที่ทอนซิล ซึ่งแผ่นเยื่ออาจจะเลยลงไปในหลอดคอ จะทำให้ทางเดินหายใจตีบตันหายใจลำบาก ถึงตายได้
- ตำแหน่งอื่นๆ ได้แก่ ที่ผิวหนัง เยื่อบุตา ในช่องหู

โรคแทรกซ้อน
1) ทางเดินหายใจตีบตัน
2) กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
3) ปลายประสาทอักเสบ ทำให้มีอัมพาตของกล้ามเนื้อ

การวินิจฉัยโรค
อาศัยอาการทางคลินิก มีไอเสียงก้อง เจ็บคอ ตรวจพบแผ่นเยื่อในลำคอ บริเวณทอนซิลและลิ้นไก่ (uvula) มีอาการของทางเดินหายใจตีบตัน การวินิจฉัยที่แน่นอนคือการเพาะเชื้อ C. diphtheriae โดยใช้ throat swab เชื้อบริเวณแผ่นเยื่อหรือใต้แผ่นเยื่อ หรือจากแผ่นเยื่อที่หลุดออกมา เนื่องจากต้องใช้มีเดียพิเศษในการเพาะเชื้อ จึงควรจะต้องติดต่อแจ้งห้องปฏิบัติการเมื่อนำส่ง specimen เมื่อเพาะได้เชื้อ C. diphtheriae จะต้องทดสอบต่อไปว่าเป็นสายพันธุ์ที่สร้าง exotoxin

การรักษา
เมื่อพบผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคคอตีบ ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที เพราะแพทย์จะต้องรีบให้การรักษาโดยเร็ว ผลการรักษาจะได้ผลหรือไม่ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เป็นมาก่อนได้รับการรักษา
1) การให้ diphtheria antitoxin (DAT)* เมื่อแพทย์ตรวจและสงสัยว่าเป็นคอตีบ จะต้องรีบให้ DAT โดยเร็วที่สุด เพื่อให้ไปทำลาย exotoxin ก่อนที่จะเกิดอันตรายต่อกล้ามเนื้อหัวใจและปลายประสาท ทั้งนี้ โดยไม่ต้องรอผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ขนาดของ DAT ที่ให้อยู่ระหว่าง 10,000-20,000 หน่วย โดยพิจารณาตามความรุนแรงของโรค
หมายเหตุ *การให้ antitoxin ต้องทำ skin test
2) ให้ยาปฎิชีวนะ เพนนิซิลิน ฉีดเข้ากล้ามเป็นเวลา 14 วัน ถ้าแพ้เพนนิซิลิน ให้ erythromycin แทน ยาปฏิชีวนะจะไปทำลายเชื้อ C. diphtheriae
3) เด็กที่มีโรคแทรกซ้อนจากการอุดกลั้นของทางเดินหายใจ จะต้องได้รับการเจาะคอเพื่อช่วยให้หายใจได้ ส่วนโรคแทรกซ้อนทางหัวใจและทางเส้นประสาท ให้การรักษาประคับประคองตามอาการโรคแทรกซ้อนทางหัวใจนับเป็นสาเหตุสำคัญของการตายในโรคคอตีบ
4) เด็กที่เป็นโรคคอตีบจะต้องพักเต็มที่ อย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนทางหัวใจ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นปลายสัปดาห์ที่ 2

การป้องกัน
1) ผู้ที่มีอาการของโรคจะมีเชื้ออยู่ในจมูก ลำคอ เป็นระยะเวลา 2-3 สัปดาห์ ดังนั้น จึงต้องแยกผู้ป่วยจากผู้อื่นอย่างน้อย 3 สัปดาห์ หลังเริ่มมีอาการ หรือตรวจเพาะเชื้อไม่พบเชื้อแล้ว 2 ครั้ง ผู้ป่วยที่หายจากโรคคอตีบแล้ว อาจไม่มีภูมิคุ้มกันโรคเกิดขึ้นเต็มที่ จึงอาจเป็นโรคคอตีบซ้ำอีกได้ ดังนั้นจึงต้องให้วัคซีนป้องกันโรค (DTP หรือ dT) แก่ผู้ป่วยที่หายแล้วทุกคน
2) ผู้ใกล้ชิดผู้ป่วย เนื่องจากโรคคอตีบติดต่อกันได้ง่าย ดังนั้นผู้สัมผัสโรคที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคจะติดเชื้อได้ง่าย จึงควรได้รับการติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิด โดยทำการเพาะเชื้อจากลำคอ และติดตามดูอาการ 7 วัน ในผู้ที่สัมผัสโรคอย่างใกล้ชิดที่ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคมาก่อน หรือได้ไม่ครบ ควรให้ยาปฏิชีวนะ benzathine penicillin 1.2 ล้านหน่วย ฉีดเข้ากล้าม หรือให้กินยา erythromycin 50 มก./กก/วัน เป็นเวลา 7 วัน พร้อมทั้งเริ่มให้วัคซีน เมื่อติดตามดูพบว่ามีอาการ และ/หรือตรวจพบเชื้อ ให้ยาปฏิชีวนะดังกล่าว พร้อมกับให้ diphtheria antitoxin เช่นเดียวกับผู้ป่วย
3) ในเด็กทั่วไป การป้องกันนับว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด โดยการให้วัคซีนป้องกันคอตีบ 5 ครั้ง เมื่ออายุ 2, 4, 6 และ 18 เดือน และกระตุ้นอีกครั้งหนึ่งเมื่ออายุ 4 ปี

---------------------------------------------------------------------------
บทความคัดมาจาก http://blog.eduzones.com/pingpong/3441




วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2555

แผนงานการตรวจคัดกรองสุขภาพประชาชน ปีงบประมาณ 2556

แผนงานการตรวจคัดกรองสุขภาพประชาชน ปีงบประมาณ 2556

ผลงานการตรวจคัดกรองสุขภาพฯ
หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน ผลงาน  ตั้งแต่ 1 ต.ค.55  ถึง 25 ต.ค.55
เป้าหมาย คัดกรอง ร้อยละ เสี่ยง (DM) ร้อยละ
(คน) (คน) (%) (คน) (คน)
1 แร่1 626 36 5.75 14 39
2 สมสะอาด1 826 0 0.00 0 0
4 หนองบัว 1,114 0 0.00 0 0
5 บะแต้ 330 0 0.00 0 0
10 ด่านพัฒนา 662 11 1.66 2 18
11 หนองบัวหลวง 540 0 0.00 0 0
12 สมสะอาด2 642 0 0.00 0 0
13 เจริญสุข 329 0 0.00 0 0
14 แร่2 515 23 4.47 5 22
  รวม 5,584 70 1.25 21 30
วันที่ 25 ตุลาคม 2555
เจ้าหน้าที่ออกปฏิบัิติงาน 3 คน (นางณัฐวิภา หมั่นกุล, นางพิอินทนา ลีทอง, นายมงคล โชตแสง)
เวลาปฏิบัติงาน 06.00 - 09.00 น.
ผลงานการคัดกรอง 70 ราย
มี อสม.ร่วมปฏิบัติงาน รวม 3 หมู่บ้าน (หมู่ 1, 10, 14)
---------------------------------------------------------------------------------------




วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ต้อนรับคณะศึกษาดูงานเรื่องโรงเรียน อสม.ตำบลแร่ สไตล์ ดร.สุขสมัย

วันที่ 10 ตุลาคม 2555 โรงเรียน อสม.ตำบลแร่ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแร่ ได้ต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเหล่าเสือโก้ก ซึ่งเดินทางมาศึกษาดูงานในประเด็น "โรงเรียน อสม.ตำบลแร่ สไตล์ ดร.สุขสมัย และ Healthy Village Sakon Nakhon" คณะศึกษาดูงานประกอบด้วยทีมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อบต. และ อสม. จำนวน 128 คน



 





 
 
 
 
 
 

วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555

กำหนดการโรงเรียน อสม.ตำบลแร่ ต้อนรับคณะศึกษาดูงาน


กำหนดการโรงเรียน อสม.ตำบลแร่ ต้อนรับคณะศึกษาดูงาน
จาก รพ.สต.เหล่าเสือโก้ก  
/ อบต.เหล่าเสือโก้ก
อำเภอเหล่าเสือโก้ก จังหวัดอุบลราชธานี

วันที่ 10 ตุลาคม 2555
-------

                เวลา 08.00 น.  อสม.ตำบลแร่ พร้อมกันที่โรงเรียน อสม.ตำบลแร่ / ช่วยกันจัดเตรียมสถานที่

                เวลา 08.30 น.  ชี้แจง- ซ้อมขั้นตอนการต้อนรับ (นายชาญ คุยบุตร  ประธาน อสม.ตำบลแร่)

เวลา 10.30 น. คณะศึกษาดูงาน เดินทางมาถึง รพ.สต.แร่  ตำบลแร่

1.             กล่าวต้อนรับคณะศึกษาดูงาน  (นายชาญ คุยบุตร  ประธาน อสม.ตำบลแร่)

2.             ร้องเพลงมาร์ช อสม. และแสดงบทบาท อสม. (นางอำไพ ชาติชำนิ, นายสมานชัย ลีทอง)

3.             บรรยายสรุป - นำเสนอการดำเนินงานโรงเรียน อสม.ตำบลแร่ (นาย สุพัฒ  ฮ้อเถาว์)

4.             ชมวีดีโอ กิจกรรมโรงเรียน อสม.ตำบลแร่ / กิจกรรมประกอบเพลงค่ายโหด

(นายมงคล โชตแสง  นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ)

5.             ผู้แทนของคณะศึกษาดูงาน : แนะนำคณะที่มาศึกษาดูงาน

6.             ซักถามข้อสงสัย- แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เรียนรู้ร่วมกัน

7.             แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว (นายมงคล โชตแสง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ)

-          เขื่อนน้ำอูน  ตำบลแร่ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร

-          วัดป่าอุดมสมพร (พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร) อ.พรรณานิคม

-          วัดหลวงปู่มั่น

                เวลา 12.00 น. รับประทานอาหารเที่ยงร่วมกัน
                เวลา 13.00 น. คณะศึกษาดูงานเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ
                                         อสม.ตำบลแร่ ช่วยกันเก็บกวาดสถานที่และแยกย้ายกลับบ้าน