จำนวนการดูหน้าเว็บรวม (เริ่มนับ พฤศจิกายน 2553)

วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2558

กิจกรรมโรงเรียน อสม.ตำบลแร่ จังหวัดสกลนคร [15 ธันวาคม 2558]

กิจกรรมโรงเรียน อสม.ตำบลแร่ จังหวัดสกลนคร [15 ธันวาคม 2558]






สาระสำคัญการประชุม
1. แจ้งการชำระเงินสมาชิกชมรมฌาปนกิจสงเคราะห์ อสม.อำเภอพังโคน
2. แจ้งระเบียบกองทุนพัฒนา อสม.เขต รพ.สต.แร่ (แก้ไขปรับปรุง ปีงบประมาณ 2559)
3. การจัดตั้งชมรมสมุนไพรเพื่อสุขภาพตำบลแร่

4. แจ้งผลการคัดเลือก อสม.ดีเด่นระดับอำเภอพังโคน (ประจำปีงบประมาณ 2559) สาขา การดูแลผู้พิการและผู้สูงอายุ คือ นางเลื่อน แสงศร  (อสม. บ้านเจริญสุข หมู่ที่ 13 ตำบลแร่)
5. การจัดทำแผนงานโครงการพัฒนาสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2559
6. การจัดทำเอกสารสรุปโครงการพัฒนาสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2558
7. หารือการจัดกิจกรรมตุ้มโฮมปีใหม่ 2559 (มติ จัดกิจกรรมวันที่ 10 มกราคม 2559 มีการแลกเปลี่ยนของขวัญรางวัล รับประทานอาหารร่วมกันพาแลง)
8. หารือการจัดกิจกรรมทำบุญเพื่อระดมทุนพัฒนางานสาธารณสุข (มติ ไม่จัดกิจกรรม)
9. แจ้งเรื่อง อธิบดีกรมอนามัย นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ และคณะ จะมาปฏิบัติราชการในเขตพื้นที่จังหวัดสกลนคร ในวันที่ 19 ธันวาคม 2558  (ณ เทศบาลตำบลพังโคน)
10. อื่นๆ

.................






วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ระบบการบันทึกข้อมูลและรายงานโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม (การให้รหัสโรครอง Y96, Y97)

ระบบการบันทึกข้อมูลและรายงานโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแร่  อำเภอพังโคน  จังหวัดสกลนคร

          มงคล โชตแสง
นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

บทนำ
การบันทึกข้อมูลการวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวเนื่องจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม (รหัสโรค Y96, Y97) ของ รพ.สต.แร่ ในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปี 2557 ยังขาดการเก็บบันทึกข้อมูลการวินิจฉัยโรคฯ ในโปรแกรม JHCIS เนื่องจากผู้ปฏิบัติยังขาดความรู้และความเข้าใจในการบันทึกข้อมูล นอกจากนี้ยังพบว่าระบบฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานอาชีวอนามัยยังไม่มีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ
          ในปี 2558 จึงได้เริ่มทำการจัดเก็บและบันทึกข้อมูลฯ ของผู้ป่วยรายบุคคลในโปรแกรม JHCIS เพิ่มเติม (มีการวินิจฉัยโรคหลักพร้อมกับการให้รหัสโรคร่วม Y96, Y97 ในกรณีที่พบผู้ป่วยที่มีผลจากการซักประวัติเป็นโรคที่เกี่ยวเกี่ยวเนื่องจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม)  พร้อมทั้งมีการจัดทำระบบฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานอาชีวอนามัยให้เป็นระบบ โดยได้รับการให้คำปรึกษาและการสนับสนุนวิชาการจากอาจารย์ศศินัดดา สุวรรณโณ หัวหน้าศูนย์โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 อุบลราชธานี และคณะ ประกอบกับการสนับสนุนวิชาการและงบประมาณจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร โดยนายแพทย์ปรเมษฐ์ กิ่งโก้ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสกลนคร ได้กำหนดให้งานอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของจังหวัดสกลนคร
          จากการจัดเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องในปีงบประมาณ 2558 ทำให้ รพ.สต.แร่ มีข้อมูลจำนวนหนึ่งที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้อย่างสมเหตุสมผล สามารถนำไปจัดทำข้อมูลสารสนเทศ ทำให้ทราบสถานการณ์ของโรคที่พบในพื้นที่ และสามารถนำไปใช้ประกอบการวางแผนพัฒนาและแก้ไขปัญหางานอาชีวอนามัยในพื้นที่ได้
          ระบบการบันทึกข้อมูลและรายงานที่พึงประสงค์นั้น จะต้องไม่สร้างภาระในการจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลใหม่ แต่ควรเป็นการนำเอาข้อมูลในฐานข้อมูลที่มีอยู่ตามปกติมาประมวลผลให้ได้ข้อมูลสารสนเทศที่ใช้สนับสนุนการทำงาน
          โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแร่ เชื่อมั่นว่าระบบการบันทึกข้อมูลและรายงานที่ได้ดำเนินการใน รพ.สต.แร่ น่าจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ใน รพ.สต.อื่นๆ ได้  จึงได้จัดทำเอกสารฉบับนี้ขึ้น เพื่อเป็นแนวทางสำหรับ รพ.สต.ที่สนใจ  อนึ่ง หากพบข้อบกพร่องของเอกสารฉบับนี้ หรือมีข้อเสนอแนะในการปรับปรุงเอกสาร หรือปรับปรุงกระบวนการทำงานของเราให้ดีขึ้น กรุณาให้คำแนะนำได้ที่ mc20079@gmail.com หรือ  ไลน์ไอดี mongkolsoft


กรอบแนวปฏิบัติในการจัดการข้อมูลในงานอาชีวอนามัย ใน รพ.สต.แร่1.       สำรวจและจัดทำข้อมูลพื้นฐาน (ประชากรกลุ่มเป้าหมาย มีกลุ่มอาชีพใดบ้าง แต่ละกลุ่มอาชีพมีสภาพการทำงานและลักษณะการทำงานเป็นอย่างไร บันทึกตำแหน่งที่ตั้งครอบครัวของกลุ่มเป้าหมายและสถานที่ประกอบการ ลงในแผนที่ชุมชน)2.       ใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลที่เป็นระบบที่มีอยู่แล้ว  (โปรแกรม JHCIS / HosXP) ไม่ต้องลงทุนเพิ่ม ประหยัดทรัพยากร (ข้อมูลหลังคาเรือน, ประชากร, สถิติชีพ, สาเหตุการป่วย, สาเหตุการตาย, การวินิจฉัยโรค Z10.0, Y96, Y97)
3.       บันทึก-ปรับปรุงข้อมูลในระบบที่มีอยู่แล้วให้เป็นปัจจุบัน ครบถ้วน
   ดำเนินการตรวจประเมินความเสี่ยง นบก.1-56 และบันทึกผลการตรวจประเมินในโปรแกรม JHCIS  ให้รหัสวินิจฉัยโรค Z10.0
  การตรวจรักษาโรค มีการให้รหัส ICD 10 ในโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม (วินิจฉัยโรคหลัก + โรคเสริม Y96, Y97)
4.       ส่งข้อมูลรายงานตามมาตรฐาน 43 แฟ้ม อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง (หรือตามนโยบายของแต่ละจังหวัด)
5.       จัดทำฐานข้อมูลใหม่เพิ่มเติม (กรณีที่ไม่มีข้อมูลใน JHCIS)
6.       พัฒนาโปรแกรมเชื่อมโยง หรืออ่านข้อมูลจากฐานข้อมูล JHCIS ตามความต้องการใช้ข้อมูลรายงานของผู้ใช้ข้อมูลใน รพ.สต.  (โดยไม่ปรับแก้ข้อมูลและโครงสร้างของฐานข้อมูลเดิม แต่เป็นการเชื่อมโยงข้อมูลมาประมวลผลเท่านั้น)
7.       นำข้อมูลรายงาน 43 แฟ้ม ไปวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เครื่องมือที่ใช้ในการจัดเก็บ-บันทึก-ประมวลผลข้อมูล          คู่มือที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
                   คู่มือการจัดบริการอาชีวอนามัยสำหรับ จนท.สธ. คลินิกสุขภาพเกษตรกร                   แนวทางการวินิจฉัยโรคและภัยจากการประกอบอาชีพเบื้องต้นสำหรับหน่วยบริการสาธารณสุข                   คู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเรื่องอันตรายและสิ่งคุกคามสุขภาพในเกษตรกร                   เอกสารวิชาการเกี่ยวกับสารเคมีทางการเกษตรที่มีอันตรายร้ายแรง                   แนวทางการจัดการปัญหาด้านสภาพการทำงาน และข้อแนะนำในการยืดเหยียดกล้ามเนื้อให้แก่เกษตรกรเพื่อป้องกันการบาดเจ็บระบบโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อจากการทำงาน                   คู่มือการลงรหัส ICD-10 สำหรับโรคจากการประกอบอาชีพ (วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์)                   ความรู้จากเว็บไซต์สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
จัดทำฐานข้อมูล/แบบฟอร์มจัดเก็บข้อมูล (Hard Copy และ อิเลคทรอนิกไฟล์)
                   ฐานข้อมูลเกษตรกร
                   ฐานข้อมูลสารเคมีในการเกษตร
                   ฐานข้อมูลกลุ่มอาชีพเกษตรกร (แยกชนิดพืชที่ปลูก)
                   ฐานข้อมูลกลุ่มอาชีพอื่นๆดำเนินงานจัดบริการเชิงรุกในชุมชน-หมู่บ้าน
                   ประเมินความเสี่ยงเกษตรกร (นบก.1-56)
                   ประเมินความเสี่ยงกลุ่มอาชีพอื่นๆ (ประเมินสภาพการทำงาน, ความเสี่ยง)
                   ประเมินความเสี่ยงสถานที่ทำงานภาคเกษตร (แบบประเมิน WIND)
                   ประเมินความเสี่ยงสถานที่ทำงานกลุ่มอาชีพอื่นๆบันทึกข้อมูลและประมวลผลรายงานในโปรแกรมคอมพิวเตอร์                   โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับบันทึก-ประมวลผลข้อมูล JHCIS / Hos-XP
                   แนวทางการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลโรคที่เกี่ยวเนื่องจากการประกอบอาชีพ (Y96) และสิ่งแวดล้อม (Y97)
                   แนวทางการบันทึกข้อมูลการตรวจคัดกรองประเมินความเสี่ยง (นบก.1-56) ใน JHCIS
                   แนวทางการวินิจฉัยโรคหลัก  (01-Principle Diagnosis) และการวินิจฉัยโรครอง
ที่เกี่ยวเนื่องจากการประกอบอาชีพ (
Y96) และสิ่งแวดล้อม (Y97)
ที่เกี่ยวเนื่องจากการประกอบอาชีพ (Y96) และสิ่งแวดล้อม (Y97) ที่เกี่ยวเนื่องจากการประกอบอาชีพ (Y96) และสิ่งแวดล้อม (Y97)การดำเนินกิจกรรมของคลินิกสุขภาพเกษตรกร เชิงรุก และ เชิงรับ1.       สำรวจกลุ่มแรงงานและสภาพปัญหาสุขภาพ (ฐานข้อมูลกลุ่มแรงงาน, ฐานข้อมูลโรงงาน, โรงสีข้าว, โรงผลิตน้ำดื่ม, ฐานข้อมูลสารเคมีกำจัดศัตรูพืช, สภาพปัญหาของแรงงานแต่ละกลุ่ม)2.       ผู้ป่วย : ซักประวัติการเจ็บป่วย (แบบซักประวัติโรคจากอาชีพ) (เชิงรับ)3.       กลุ่มแรงงานภาคเกษตร ประเมินความเสี่ยงด้วยแบบ นบก.1-56 (เชิงรุก, แก้ไขปัญหาตามสภาพความเสี่ยงในชุมชนโดยการมีส่วนร่วม)4.       วินิจฉัย-รักษาเบื้องต้น / ส่งต่อเพื่อรักษาที่เหมาะสม5.       บันทึกและรายงานโรคลงในระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ (รหัสโรคY96, Y97 ในโปรแกรม JHCIS หรือ Hos XP)6.       การสื่อสารความเสี่ยง เช่น การให้อาชีวสุขศึกษา, คืนข้อมูลให้ชุมชน หรือประสานขอสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการปัญหา

การจัดทำรายงาน ประมวลผล-วิเคราะห์ข้อมูล และการคืนข้อมูลให้ชุมชน
1.   ทำการประเมินตนเองตามแบบประเมินตนเองตามมาตรฐานการจัดบริการอาชีวอนามัยสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (เพื่อทราบสถานการณ์ของตนเองว่ามีผลการประเมินอยู่ในระดับใด จากนั้นจึงพัฒนาตนเองโดยใช้เกณฑ์ประเมินเป็นแนวทางในการพัฒนา)
2.   ส่งรายงาน 43 แฟ้มข้อมูล สัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือตามแนวทางของแต่ละจงหวัด (ส่งออกข้อมูลและอัพโหลดเข้าเว็บไซต์ฐานข้อมูล HDC ตามระบบปกติของแต่ละจังหวัด)
3.   รายงานผลการดำเนินงานตามแบบรายงานการดำเนินงานจัดบริการอาชีวอนามัยฯ (OCC-นบ 01 Rev.58)  ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม ของทุกปี
4.   จัดทำเอกสารสรุปผลการดำเนินงานประจำปี โดยนำข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลของหน่วยงานที่ได้บันทึกไว้ (โปรแกรม JHCIS / Hos-XP) ไปทำการประมวลผลข้อมูลทำให้สามารถทราบสถานการณ์ของโรคที่พบในพื้นที่ เพื่อทราบการเกิดของโรคจากการประกอบอาชีพ (สรุปจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคหลักที่มีการให้รหัสโรคร่วมเป็น Y96, Y97 จำแนกรายโรค หรือรายกลุ่มโรค) ทำการสรุปวิเคราะห์เชิงพรรณนาตามลักษณะของบุคคล (Person) พื้นที่ (Place) เวลา (Time) นำผลการวิเคราะห์ข้อมูลไปแปลผลและคืนข้อมูลให้แก่ชุมชนในเวทีการประชุม อสม., รวมทั้งการเสนอต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรับทราบสถานการณ์หรือความรุนแรงของโรคร่วมกัน และนำข้อมูลเสนอต่อที่ประชุม (โรงเรียน อสม., เวทีรับฟังปัญหาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, เวทีประชาคมหมู่บ้านเกี่ยวกับการจัดทำโครงการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขประจำปี) เพื่อเป็นการเตือนภัยและหาแนวทางหรือมาตรการแก้ไขหรือป้องกันปัญหาร่วมกัน






วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ทดสอบคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำ ระบบประปาของเทศบาลตำบลแร่

วันนี้ (3 ธันวาคม 2558) ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอพังโคน (นายเทอดศักดิ์ จุลนีย์) พร้อมทีมนักวิชาการสาธารณสุข ออกตรวจทดสอบคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำ  ที่โรงผลิตน้ำประปาของเทศบาลตำบลแร่  ตั้งอยู่ที่บ้านหนองบัว หมู่ที่ 11 ต.แร่ อ.พังโคน จังหวัดสกลนคร ทั้งนี้เพื่อเตรียมการพัฒนาระบบประปาให้เป็นประปาดื่มได้









ประชุมประธาน อสม.ประจำเดือนธันวาคม 2558

สรุปสาระสำคัญการประชุม อสม.ประจำเดือนธันวาคม 2558 (3ธ.ค.2558) ณ ห้องประชุม รพ.สต.แร่
1. จัดตั้งชมรมสมุนไพรและสุขภาพ มติที่ประชุม รับทราบและมีการจัดตั้งชมรมฯ
2. แจ้งระเบียบกองทุนพัฒนา อสม. (ชมรม อสม.) ปี 2559 (ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมจากระเบียบปี 2558) มติที่ประชุม รับทราบ
3.แจ้งสรุปผลการดำเนินงานประจำปี 2558 ของกองทุนพัฒนา อสม. มติที่ประชุม รับทราบ  (จะจัดทำเอกสารสรุปให้ที่ประชุมอีกครั้งในการประชุมเดือนมกราคม 2559)
4. แจ้งหารือการคัดเลือก อสม. ดีเด่น ระดับตำบล 12 สาขา  มติที่ประชุม เห็นชอบให้เจ้าหน้าที่พิจารณาคัดเลือกตามที่เห็นสมควร
5. ปรึกษาหารือการกำหนดวันเปิดโรงเรียน อสม. ประจำเดือนธันวาคม 2558 มติที่ประชุม กำหนดวันเปิดโรงเรียน อสม. ประจำเดือนธันวาคม 2558 ในวันที่ 15 ธันวาคม 2558
5. ปรึกษาหารือการจัดกิจกรรมตุ้มโฮมปีใหม่  มติที่ประชุม รับทราบ แต่ขอหารือที่ประชุมใหญ่ในโรงเรียน อสม. วันที่ 15 ธันวาคม 2558 เพื่อลงมติว่าจะจัดหรือไม่จัด
6. ปรึกษาหารือการจัดกิจกรรมจัดหาทุน-งบประมาณพัฒนาโรงเรียน อสม.  มติที่ประชุม รับทราบ แต่ขอหารือที่ประชุมใหญ่ในโรงเรียน อสม. วันที่ 15 ธันวาคม 2558 เพื่อลงมติว่าจะจัดหรือไม่จัด
****เลิกประชุมเวลา  12.25 น.***


วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558

คลินิกเบาหวานบ้านไกล เดือนธันวาคม 2558

คลินิกเบาหวานบ้านไกล เดือนธันวาคม 2558
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 (หมู่ 2 และหมู่ 12)
วันที่ 1 ธันวาคม 2558 (หมู่ที่ 4, 11 และหมู่ 13)
วันที่ 2 ธันวาคม 2558 (หมู่ที่ 1, 10 และหมู่ 14)
วันที่ 3 ธันวาคม 2558 (หมู่ 5)




1 ธันวาคม วันเอดส์โลก

ประวัติวันเอดส์โลก

ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกา มีผู้ป่วยโรคเอดส์เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ ทั้งๆที่เมื่อก่อนโรคเอดส์ ก่อตัวขึ้นในบางส่วนของโลกและเป็นอยู่ในหมู่ชนบางกลุ่มเท่านั้นแต่ในปัจจุบันมีการตรวจพบโรคนี้ทั่วโลก ซึ่งโรคเอดส์เริ่มเป็นที่รู้จักครั้งแรกในปี พ.ศ.2524

จำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคเอดส์มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่เริ่มมีโรคเอดส์เกิดขึ้นในประเทศไทยปี พ.ศ.2527 จนถึงปี พ.ศ.2533 แม้รัฐบาลจะประกาศเจตนารมณ์ที่จะแก้ไขปัญหาโรคเอดส์แต่ก็ยังมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมาก โดยมอบให้กระทรวงสาธารณสุขรับผิดชอบและให้มีคณะกรรมการประสานงานเกี่ยวกับโรคเอดส์แห่งชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2528 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน

ซึ่งย้อนไปเมื่อ ปี พ.ศ.2524 มีการพบโรคเอดส์พบครั้งแรกในเดือนมิถุนายน ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ป่วยเป็นชายรักร่วมเพศป่วยเป็นปอดบวมจากเชื้อ นิวโมซีสตีส แครินิอาย ทั้งที่เป็นคนแข็งแรงมากมาก่อน และไม่เคยใช้ยากดภูมิต้านทาน ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติ พบว่าเซลล์ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง กับภูมิต้านทานไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ และทำให้เสียชีวิตในที่สุด และหากมีโรคแทรกซ้อน ก็จะทำให้เสียชีวิตเร็วขึ้น

สำหรับผู้ป่วยเอดส์รายแรกในประเทศไทย มีพฤติกรรมรักร่วมเพศเป็นชายอายุ 28 ปี เดินทางไปศึกษาต่อที่อเมริกา เริ่มมีอาการในปี พ.ศ.2526ได้รับการตรวจและรักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในอเมริกา พบว่าปอดอักเสบ แพทย์ลงความเห็นว่าเป็นโรคเอดส์ จึงกลับมารักษาตัวที่ประเทศไทย และเสียชีวิตในเวลาต่อมา ทำให้มีการตื่นตัวเรื่องโรคเอดส์ และจากนั้นก็มีการแพร่เชื้อมาอีกหลายต่อหลายคน ด้วยวิธีการต่างๆ  ซึ่งแม้จะมีผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์ให้เห็น จนกระทั่งผลร้ายแรง และไม่มียาที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่กระนั้น ก็ยังมีผู้คนยอมเสี่ยงแบบตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ จนกระทั่งได้รับเชื้อนี้


วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เฝ้าระวังอีสุกอีใสในหน้าหนาว...!!!

เฝ้าระวังอีสุกอีใสในหน้าหนาว...!!!

สคร.7 เตือนประชาชนเฝ้าระวังการระบาดของโรคอีสุกอีใสช่วงหน้าหนาว แนะกลุ่มที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คือ เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี และผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เนื่องจากมีภูมิต้านทานโรคต่ำ
          นพ.ศรายุธ อุตตมางคพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี (สคร.7) เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2557 ข้อมูลจากกลุ่มระบาดวิทยา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 พบผู้ป่วยโรคอีสุกอีใสในพื้นที่รับผิดชอบ 7 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 6087ราย ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต กลุ่มอายุที่ป่วยมากที่สุดคือกลุ่มอายุ 5 - 9 ปี เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2556 พบมีผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น จึงต้องเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคมากยิ่งขึ้น   อ่านต่อ
          โดยเฉพาะในหน้าหนาว เนื่องจากโรคสุกใสเกิดจากเชื้อไวรัส ติดต่อโดยการหายใจเอาละอองเสมหะ น้ำมูก และน้ำลายของผู้ป่วยเข้าไปเช่นเดียวกับไข้หวัด การใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้ป่วย หรือการสัมผัสน้ำเหลืองจากตุ่มพองใสที่ผิวหนังของผู้ป่วย ประชาชนที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคทุกวัย มีโอกาสป่วยได้ กลุ่มที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี และผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี มะเร็ง เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น เนื่องจากมีภูมิต้านทานโรคต่ำ หากติดเชื้อแล้ว อาจมีความเสี่ยงอาการรุนแรงกว่ากลุ่มอื่น          โรคอีสุกอีใส มักเกิดในเด็กโดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี เนื่องจากมีภูมิต้านทานโรคต่ำ อาการจะเริ่มด้วยไข้ต่ำๆ ต่อมามีผื่นขึ้นที่หนังศีรษะ หน้า ตามตัว โดยเริ่มเป็นผื่นแดง ตุ่มนูน แล้วเปลี่ยนเป็นตุ่มพองใสในวันที่ 2-3 นับตั้งแต่เริ่มมีไข้ เริ่มแห้งตกสะเก็ดและร่วงในเวลา 5-20 วัน ผื่นอาจขึ้นในคอ ตา และในปากด้วย ผู้ป่วยควรพักผ่อนให้เพียงพอและให้ร่างกายได้รับความอบอุ่นอยู่เสมอ หากมีไข้ควรรับประทานยาลดไข้ ประเภทพาราเซตามอล หากมีอาการเจ็บคอหรือไอควรปรึกษาแพทย์ เด็กนักเรียนที่ป่วย ควรให้หยุดเรียนประมารณ 1 สัปดาห์ ผู้ป่วยที่มีอาการคันมากอาจใช้ยาทา โดยปรึกษาแพทย์ก่อน ดูแลรักษาผิวหนังให้สะอาด ไม่ควรแกะตุ่มหนอง จะทำให้อักเสบ และควรตัดเล็บให้สั้น สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง เมื่อต้องปฏิบัติงาน และคลุกคลีกับผู้อื่น หากเป็นไปได้ผู้ป่วยต้องหยุดอยู่บ้านเป็นเวลา 3-7 วัน หรือจนกว่าจะหาย
          นพ.ศรายุธ กล่าวเพิ่มเติมว่า การป้องกันโรคอีสุกอีใสโดยทั่วไปเหมือนกับโรคไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัด และโรคหัด โดยการหมั่นดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วย ไม่ใช้แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดมือ ของเล่น ร่วมกับผู้ป่วย ใช้กระดาษทิชชูหรือผ้าเช็ดหน้า ปิดปาก ปิดจมูกทุกครั้ง เวลาไอ จาม ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือใช้แอลกอฮอล์เจล ทำความสะอาดมือ เช็ดทำความสะอาดพื้นผิวและสิ่งของที่มีคนสัมผัสบ่อยๆ เพื่อช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ หลักเลี่ยงสถานที่มีคนพลุกพล่าน อากาศถ่ายเทไม่สะดวก เช่น ห้างสรรพสินค้า สวนสนุก เป็นต้น และหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการป้องกันโรคอีสุกอีใสสามารถโทรศัพท์สอบถามได้ ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422

 ที่มา : สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 อุบลราชธานี

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

คลินิกเบาหวานบ้านไกล @ศาลาประชาคมบ้านบะแต้ หมู่ที่ 5 ต.แร่ [5 พ.ย. 2558]

คลินิกเบาหวานบ้านไกล @ศาลาประชาคมบ้านบะแต้ หมู่ที่ 5 ต.แร่ [5 พ.ย. 2558]

บริการเชิงรุก ส่งเสริมสุขภาพ-จ่ายยาตามแผนการรักษาของแพทย์ โดยทีมสหวิชาชีพและทีมหมอครอบครัว



วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

นโยบายนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสกลนคร ปี 2559









ดาวน์โหลดไฟล์ได้ที่นี่

งานศพปลอดเหล้า @ บ้านหนองบัว [4 พ.ย.2558]

รพ.สต.แร่ ร่วมกับชมรม อสม. ตำบลแร่ ร่วมกิจกรรม งานศพปลอดเหล้า @ บ้านหนองบัว [4 พ.ย.2558] 





มาตรฐานการให้บริการ คลินิกเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง รพ.สต.แร่ (CPG)

มาตรฐานการให้บริการ คลินิกเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง รพ.สต.แร่ (CPG)

Clinical Practice Guidelines 

กิจกรรมเชิงรับ
- คลินิกในหน่วยบริการ


กิจกรรมเชิงรุก
- คลินิกนอกหน่วยบริการ (เบาหวานบ้านไกล)

แผนงานการให้บริการคลินิกเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง รพ.สต.แร่ ปีงบประมาณ 2559

แผนงานการให้บริการคลินิกเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง รพ.สต.แร่  ปีงบประมาณ 2559


เดือนตุลาคม 2558



เดือนพฤศจิกายน 2558




เดือนธันวาคม 2558


วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

คลินิกเบาหวานบ้านไกล @ศาลาประชาคมบ้านหนองบัว หมู่ที่ 4 ต.แร่ [3 พ.ย. 2558]

คลินิกเบาหวานบ้านไกล @ศาลาประชาคมบ้านหนองบัว หมู่ที่ 4 ต.แร่ [3 พ.ย. 2558]

บริการเชิงรุก ส่งเสริมสุขภาพ-จ่ายยาตามแผนการรักษาของแพทย์ โดยทีมสหวิชาชีพและทีมหมอครอบครัวหมู่บ้าน

ประชากรกลุ่มเป้าหมาย
ประกอบด้วย ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง บ้านหนองบัว บ้านหนองบัวหลวง และบ้านเจริญสุข

เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบหมู่บ้าน  1. นางณัฐวิภา หมั่นกุล  2. นายมงคล โชตแสง
เจ้าหน้าที่ทีมสนับสนุน 1. นายศาสตรา คำมุลตรี  2.นางจิราภรณ์ ศรีสร้อย  3. นายประสิทธิ์ บุตรแสน 4. นางพิอินทนา ลีทอง

หมอครอบครัวหมู่บ้าน 1. นายขจรศักดิ์ ผาลิชัย (กำนันตำบลแร่)  2. นายชาญ คุยบุตร (ผู้ใหญ่บ้านหนองบัวหลวง) 3. นายเชษฐา พันโสรี (ผู้ใหญ่บ้านเจริญสุข)  และ ทีม อสม. 

--------------------------------------------------------------







วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

คลินิกเบาหวานบ้านไกล @บ้านสมสะอาด [2 พ.ย. 2558]

คลินิกเบาหวานบ้านไกล @บ้านสมสะอาด [2 พ.ย. 2558]

บริการเชิงรุก ส่งเสริมสุขภาพ-จ่ายยาตามแผนการรักษาของแพทย์ โดยทีมสหวิชาชีพและทีมหมอครอบครัวหมู่บ้าน




เป้าหมาย - เกณฑ์การพัฒนา รพ.สต.แร่ ปีงบประมาณ 2559

เป้าหมาย - เกณฑ์การพัฒนา รพ.สต.แร่ ปีงบประมาณ 2559 

ส่วนที่ 1 งานบริหาร
ลำดับ กิจกรรม
1 การปรับปรุงสภาพสิ่งแวดล้อมภายนอกอาคาร
1. เสาธงและธงชาติ สวย สง่างาม เหมาะสม
2. การจัดภูมิทัศน์สวยงาม รวมสถานที่ทำงานและบ้านพัก
3. ป้ายชื่อสำนักงานมาตรฐาน ดูสวยงาม
4. มีรั้วทุกด้าน มั่นคงแข็งแรง
5. มีวิธีการจัดการขยะที่ถูกวิธี (การแยกขยะ,ทำลายขยะ)
8. มีป้ายแนะนำสถานที่ดูสวยงาม
7. มีสถานทีจอดรถยนต์ รถจักรยานยนต์ จัดระบบกฎจารจร
ของผู้ให้และผู้รับบริการ เข้าออกสถานบริการ 
2 การปรับปรุงสภาพสิ่งแวดล้อมภายในอาคารสำนักงาน
1. ห้องทำงานแยกเป็นสัดส่วนจากงานบริหาร
2. มีห้อง / มุมพักผ่อนของเจ้าหน้าที่และผู้มาติดต่อ
3. มีห้องประชุม (โปรเจ๊คเตอร์,เครื่องขยายเสียง)
4. มีมุมจัดเก็บเอกสารแฟ้มงานสารบรรณ
5. แผนที่ตำบลแสดงอาณาเขตติดต่อ/ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
6. มีผังการแบ่งงานรับผิดชอบ/อัตรากำลัง/ป้ายวิสัยทัศน์
/พันธกิจ/ยุทธศาสตร์
7. มีห้องน้ำแยกชาย/หญิง/ผู้พิการ เป็นสัดส่วน ผ่านเกณฑ์ HAS
8. มีห้องเก็บพัสดุ  และเวชภัณฑ์ยา
3 งานสารบรรณตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ.2526
 การจัดทำ การรับ การส่งหนังสือราชการ
1. มีรูปแบบหนังสือ  ชนิดหนังสือ ถูกต้อง
2. มีการใช้ตราครุฑถูกต้อง
3. การจัดทำสำเนาหนังสือถูกต้อง
4.การเสนอหนังสือถูกต้อง
5.มีทะเบียนรับและส่งหนังสือถูกต้อง
6.มีระบบรับ-ส่งหนังสือทางอิเล็คทรอนิกส์
4 การเก็บรักษาและการทำลายหนังสือ
1. แฟ้มแยกหนังสือตามหมวดสีกลุ่มงานถูกต้อง
2. มีสถานที่จัดเก็บแฟ้มหนังสือแยกหมวดหมู่ชัดเจน
ตามระเบียบสารบรรณ
3. มีบัญชีควบคุมแฟ้ม
4. มีคณะกรรมการทำลายหนังสือ
5. มีบัญชีหนังสือขอทำลาย
6. มีบันทึกของคณะกรรมการทำลายหนังสือ
5 การเงินและบัญชี
1. มีคำสั่งคณะกรรมการเก็บรักษาเงินของหน่วยงาน และเจ้าหน้าที่รับผิดชอบการเบิกจ่ายเงินถอนเงิน และเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานการเงิน
2. มีแผนการใช้เงินงบประมาณและเงินบำรุง
3. มีบัญชีควบคุมการรับ-จ่ายเงินเป็นปัจจุบันถูกต้อง(404/407)
4. มีแฟ้มการจัดทำบัญชีเกณฑ์คงค้าง
5. สมุดคุมการใช้ใบเสร็จรับเงิน และสรุปผลการใช้ประจำปี
6. มีแฟ้มการดำเนินการจัดซื้อ/จ้าง เป็นปัจจุบัน
7. มีสมุดคุมเงินฝากธนาคารที่เป็นปัจจุบัน (พรัอมสมุดเงินฝากธนาคาร)
8.ได้รับการตรวจสอบจากคณะกรรมการตรวจสอบภายในปีละ 2 ครั้ง
6 งานพัสดุ
1. มีคำสั่งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่พัสดุตามระเบียบโดยผู้ที่ได้รับ
รับมอบอำนาจลงนาม
2. มีคณะกรรมการกำหนดรายการและความต้องการใช้
วัสดุตามระยะเวลา
3. มีแผนการจัดซื้อ/จัดจ้าง และจัดซื้อ/จัดจ้างตามแผน
4. มีบัญชีรับ-จ่าย วัสดุที่ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน
5. มีทะเบียนครุภัณฑ์ถูกต้อง เป็นปัจุจบัน
6. มีรายงานการสำรวจพัสดุประจำปี ถูกต้อง ทันเวลาที่กำหนด
7.ได้รับการตรวจสอบจากคณะกรรมการตรวจสอบภายใน ปีละ 2 ครั้ง
7 การบริหารงานพัสดุ 
 งานยานพาหนะ
1. มีทะเบียนยานพาหนะ
2. มีแผนการใช้ยานพาหนะ
3. การขออนุญาตใช้ยานพาหนะ
4. มีทะเบียนการใช้ยานพาหนะ
5. มีทะบียนซ่อมบำรุงยานพาหนะ
6. มีคำสั่งผู้รับผิดชอบงานยานพาหนะ
7. มีแฟ้มแยกเรื่องเป็นหมวดหมู่
8 การรักษาความปลอดภัยส่วนราชการ
1. มีคำสั่งอยู่ เวร - ยาม
2. มีบัญชีลงชื่อปฏิบัติงานและมีการบันทึกเหตุการณ์
3.มีคำสั่งผู้ตรวจ เวร - ยามและมีการตรวจเวรยาม
4. มีแผนงานโครงการแก้ไขปัญหาความปลอดภัยหน่วยงาน
5. มีระบบรักษาความปลอดภัยในหน่วยงาน
6.มีการเตรียมความพร้อมรองรับในกรณีมีเหตุการณ์ผิดปกติหรือฉุกเฉิน
9 การบริหารงานบุคคล
1. มีสำเนา กพ.7  ของเจ้าหน้าที่เป็นปัจจุบันทุกคน
2. มีคำสั่งมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ
3. มีแฟ้มงานคำสั่งจังหวัด/อำเภอ/ตำบล
4. มีสมุดบันทึกการตรวจเยี่ยม
5. มีผังโครงสร้างสายงาน/การควบคุมกำกับภายใน รพ.สต.
6. มีบอร์ดรายชื่อผู้ปฏิบัติงานประจำวัน
7. มีทะเบียนคุมใบลาและสำเนาใบลา
8. มีสำเนาบันทึกขออนุญาตไปราชการ

ส่วนที่ 2 งานวิชาการและพัฒนาคุณภาพ
ลำดับ กิจกรรม
10 ข้อมูลการดำเนินงานด้านสาธารณสุข
1. มีข้อมูลพื้นฐานแยกรายหมู่บ้านย้อนหลัง 3 ปี
2. มีสรุปผลการดำเนินงานงานสาธารณสุขที่สำคัญย้อนหลัง 3 ปี ได้แก่
3. สรุปผลการดำเนินงานงานระบาดวิทยา ย้อนหลังไม่น้อยกว่า 3 ปี
4. สรุปผลการดำเนินงาน ความเจ็บป่วย 10 อันดับโรค ย้อนหลังไม่น้อยกว่า 3 ปี
5. สรุปผลการดำเนินงานต้นทุนต่อหน่วยบริการสุขภาพ ย้อนหลังไม่น้อยกว่า 3 ปี
6. สรุปผลการดำเนินงานการจัดสรรเงิน ย้อนหลังไม่น้อยกว่า 3 ปี
7. มีการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสุขภาพของประชาชน ย้อนหลังไม่น้อยกว่า 3 ปี
8. มีการจัดเรียงลำดับปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ ย้อนหลังไม่น้อยกว่า 3 ปี
11 การจัดทำแผนงานประจำปี
1. มีแผนงบลงทุนประจำปี
2. มีแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพตำบล
3. มีแผนสุขภาพตำบล
4. มีแผนปฏิบัติการสาธารณสุขประจำปี
5. มีโครงการรองรับแผนปฏิบัติการครบถ้วน
12 งานระบาดวิทยา
  1.มีคำสั่งทีม SRRT ระดับตำบล
  2. มีโครงการแก้ไขปัญหางานระบาด
  3.มีผลรายงาน 506 ทันเวลา  อย่างน้อยร้อยละ 80
  4. มีการวิเคราะห์ข้อมูลโรคติดต่อที่เป็นปัญหาของพื้นที่  แยกสถิติรายโรค
  5.มีการสอบสวนโรคและควบคุมโรคที่เป็นปัญหาในพื้นที่
  6. มีการจัดทำ Spot  Map
  7. มีแฟ้มงานแยกกิจกรรม
13 การสื่อสารภายในหน่วยงาน
1. มีการพูดคุยก่อนการปฏิบัติงานถึงเรื่องงานที่จะทำในวันดังกล่าว
2. มีการบันทึกประชุมเสวนาเจ้าหน้าที่ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
3. มีการแจกจ่ายหนังสือราชการที่รวดเร็ว ถูกต้องกับผู้รับผิดชอบ
4. มีสรุปผลของผู้ปฏิบัติที่ได้รับมอบหมายงานทุกสัปดาห์
5. แผนงานโครงการแก้ไขปัญหา
14 ความเชื่อมโยงของข้อมูล
1. ระบบ Network ภายในและภายนอกหน่วยงาน
2. มีระบบข้อมูลผ่านเครือข่าย INTERNET 
3. มี WEBSITE สำนักงาน สามารถตรวจสอบข้อมูลหน่วยงานได้
4. มีเอกสาร หรือจดหมายข่าวเผยแพร่และเป็นสื่อกลาง
5. มีบอร์ดประชาสัมพันธ์ข่าวสาร
15 การดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายภาคประชาชน
1. มีโครงการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายภาคประชาชน
2. มีแผนปฏิบัติงาน ติดตาม นิเทศงานภาคีเครือข่ายภาคประชาชน
3. มีคณะกรรมการพัฒนาสถานบริการร่วมกับภาคีเครือข่ายภาคประชาชน
4. มีการประชุมของคณะกรรมการพัฒนาสถานบริการ อย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง
5. มีผลงานร่วมกันเป็นที่ประจักษ์ของภาคีเครือข่ายภาคประชาชน
16 งานพัฒนาวิชาการ
1. มีห้องวิชาการแยกเป็นสัดส่วน
2. มีหนังสือและคู่มือการปฏิบัติงานเพียงพอ
3. มีการจัดเก็บเอกสารวิชาการเป็นหมวดหมู่
4. มีผลงานวิจัย อย่างน้อย 2 เรื่อง
5. มีทะเบียนประวัติการพัฒนาด้านวิชาการของบุคลากร
6.มีแผนพัฒนาความรู้ด้านวิชาการให้กับอาสาสมัครสาธารณสุข
7.มีหลักฐานการถ่ายทอดความรู้ด้านวิชาการให้กับอาสาสมัครสาธารณสุข

ส่วนที่ 3 งานสนับสนุนบริการและเวชปฏิบัติ  + งานยุทธศาสตร์กระทรวง
17 งานส่งเสริมสุขภาพ
1.1 ด้านงานอนามัยแม่และเด็ก
1. มีแผนงานสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ในพื้นที่
2.มีโครงการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนางานอนามัยแม่และเด็ก
3. ทะเบียนหญิงวัยเจริญพันธ์
4. มีทะเบียนรายชื่อหญิงตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบ
5. ทะเบียนหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี/กลุ่มเสี่ยงอื่นๆ
6. ทะเบียนเด็กเกิดใหม่
7. ทะเบียนแม่ตัวอย่าง/ปราชญ์นมแม่
8. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์คุณภาพและเยี่ยมหลังคลอดครบตามเกณฑ์
9. มีการสรุปผลการดำเนินงาน สถิติเปรียบเทียบย้อนหลัง 3 ปี
18 1.2 งานอนามัยโรงเรียน
1. มีแผนงานสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ การแก้ไขปัญหาในพื้นที่
2.มีโครงการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนางานอนามัยโรงเรียน
3.แผนปฏิบัติงานอนามัยโรงเรียน
4. ข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย
5. มีการตรวจสุขภาพนักเรียน
6. มีการให้วัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตามเกณฑ์
7.มีการติดตามภาวะโภชนาการ
8. มีการเฝ้าระวังทันตสุขภาพ
9. มีการสรุปผลการดำเนินงาน สถิติเปรียบเทียบย้อนหลัง 3 ปี
10.มีโรงเรียนระดับเพชรหรือร้อยละ 100 เป็นระดับทอง
19 1.3 งานสุขภาพจิต
1. มีแผนงานสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ การแก้ไขปัญหาในพื้นที่
2.มีโครงการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนางานสุขภาพจิต
3.มีทะเบียนคัดกรองโรคซึมเศร้า
4.มีทะเบียนคัดกรองภาวะสุขภาพจิต
5.มีทะเบียนผู้ป่วย
6.มีทะเบียนการให้บริการ (ดูแลติดตาม)
7. มีการสรุปผลการดำเนินงาน สถิติเปรียบเทียบย้อนหลัง 3 ปี
20 1.4 งานยาเสพติด 
1. มีแผนงาน  ยุทธศาสตร์ แก้ไขปัญหาในพื้นที่
2.มีโครงการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนางานยาเสพติด
3. มีข้อมูลผู้รับการบำบัดยาเสพติดในระบบสมัครใจใน รพ.สต.
4. มีข้อมูลการติดตามหลังบำบัดรักษาทุกระบบ
5. มีการดำเนินงานของชมรม TO BE NUMBER ONE ในระดับตำบล
6. มีการดำเนินงานของชมรม TO BE NUMBER ONE ประเภทชุมชน
7. มีการดำเนินงานของชมรม TO BE NUMBER ONE ประเภทสถานศึกษา
8. มีการดำเนินงานของชมรม TO BE NUMBER ONE ประเภทสถานประกอบการ
21 1.5 การพัฒนาระบบข้อมูลการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว
1. มีแผนงาน ยุทธศาสตร์ ของพื้นที่
2.มีโครงการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนางานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว
3.ข้อมูลตามกลุ่มศักยภาพตามความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน
(Barthel Activities of Daily Living : ADL)(ติดบ้าน ติดเตียง ติดสังคม)
4.ข้อมูลตามกลุ่มป่วย กลุ่มเสี่ยง 
5.ชมรมผู้สูงอายุผ่านเกณฑ์คุณภาพระดับดีเด่น   
6.มีคำสั่งแต่งตั้งและกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของ อผส. 
ในการดูแลผู้สูงอายุที่ชัดเจน เป็นลายลักษณ์อักษร
7.อผส./อสม. สามารถคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุเบื้องต้น
8.มีการกำหนดข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ ด้วยการประชาคม ระดับหมู่บ้าน 
ระดับตำบล รวมทั้งจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรที่รับผิดชอบการดูแลผู้สูงอายุ
ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ บุคลากรจากภาครัฐและภาคประชาชน
22 1.6 งานเฝ้าระวังภาวะทางโภชนาการ 0-5 ปี
1. มีแผนงานสอดคล้องกับยุทธศาสตร ในการแก้ไขปัญหาของพื้นที่
2.มีโครงการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนางานเฝ้าระวังภาวะทางโภชนาการ 0-5 ปี
3.มีข้อมูลตามกลุ่มเป้าหมายเด็ก 0-5 ปี
4.มีสรุปผลงานการดำเนินงาน รายงวด
5.ร้อยละ  85 ของเด็ก 0-5 ปีมีภาวะโภชนาการสมส่วนตามเกณฑ์
23 1.7 งานวางแผนครอบครัว
1. มีแผนงานสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ ในการแก้ไขปัญหาของพื้นที่
2.มีโครงการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนางานวางแผนครอบครัว
3.มีข้อมูลกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์
4.ร้อยละ  95 ของหญิงวัยเจริญพันธ์มีการวางแผนครอบครัวโดยการคุมกำเนิดทุกวิธี
5.มีคลินิกให้คำปรึกษาด้านการแวงแผนครอบครัว
6.มีทะเบียนให้คำปรึกษาการวางแผนครอบครัว
24    1.9 งานดูแลผู้พิการ
1. มีแผนงานสอดคล้องกับยุทธศาสตร์
2.มีโครงการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนางานผู้พิการ
3.มีข้อมูลผู้พิการ
4.ร้อยละ 100 ของผู้พิการได้รับการดูแลติดตามเยี่ยมบ้าน
5.ร้อยละ 100 ของผู้พิการได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพสามารถช่วยเหลือตนเองได้
6. อปท. สนับสนุน ร่วมดำเนินการ
25      1.10 งานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
    1. มีแผนงานและยุทธศาสตร์สอดคล้องกับพื้นที่
2.มีโครงการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนางานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
    3.แผนปฏิบัติงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
    4. มีการตรวจสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียน
5.เด็กก่อนวัยเรียนมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 
6.ศูนย์พัฒนาเด็กผ่านเกณฑ์คุณภาพระดับดีมาก ร้อยละ 70
7.ศูนย์พัฒนาเด็กผ่านเกณฑ์ศูนย์เด็กเล็กปลอดโรค ร้อยละ 100
26 งานแพทย์แผนไทย
    1.มีแผนงานสอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาในพื้นที่
2.มีโครงการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนางานแพทย์แผนไทย
3.มีห้องบริการแพทย์แผนไทยตามเกณฑ์
4.ทะเบียนผู้รับบริการ
5.อุปกรณ์การสนับสนุนการนวดตามเกณฑ์ขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ
6.มีผลิตภัณฑ์สมุนไพรใช้การรักษาพยาบาล
7.มีนวตกรรมงานแพทย์แผนไทย
8.มีเจ้าหน้าที่แพทย์แผนไทยหรือแพทย์แผนไทยประยุกต์ ที่มีใบประกอบโรคศิลปะ
9. มีสวนสมุนไพร สาธิต ไม่น้อยกว่า 10 ชนิด
27 หมอครอบครัว
    1.มีทะเบียน แฟ้มงาน เอกสาร หมอครอบครัว
2.มีคำสั่งหรือคณะทำงาน รพ.สต
3.มีคำสั่งทีมหรือคณะทำงานชุมชนหรือหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ
4.มีแผนงาน โครงการการดำเนินงานหมอครอบครัว
5.คำสั่งคณะกรรมการ ทีมงานสหวิชาชีพในการประสานงานการดูแลผู้ป่วย
28 งานคุ้มครองผู้บริโภค
1. มีแผนงานประจำปี
2. มีโครงการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภค
3 .มีทะเบียนร้านค้า/ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร/ตลาด/รถเร่จำหน่ายอาหาร
4 .มีการผลการตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหาร 5 ชนิด (บอแรกซ์, สารฟอกขาว,
 สารกันรา, ยาฆ่าแมลงและฟอร์มาลีน) ทุกร้าน
5. มีการตรวจประเมินร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร ทุกร้าน
6.มีการตรวจตลาดทุกประเภท/รถเร่จำหน่ายอาหาร ทุกแห่ง
7.เจ้าหน้าที่มีบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพรบ.อาหาร พ.ศ.2522
8. มีการสรุปผลการดำเนินงาน สถิติเปรียบเทียบย้อนหลัง 3 ปี
29 งานอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย
1. มีแผนงานดำเนินการพื้นที่
2.มีโครงการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนางานอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย
3. มีข้อมูลพื้นฐานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย 
4. ทะเบียนผู้รับบริการตรวจสารเคมีตกค้างในเกษตรกร
5. ส้วมสาธารณะใน รพ.สต. ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน(HAS)
6.มีการคัดแยกขยะตามประเภทที่ถูกต้อง (อันตราย ติดเชื้อ ทั่วไป Recycle)
7.มีการกำจัดขยะแต่ละประเภทที่ถูกต้อง
8.มีการกำจัดน้ำเสียอย่างถูกวิธี
9.การมีส่วนร่วมของ อปท.ในการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
30 งานทันตสาธารณสุข
1. มีห้องบริการทันตกรรมเป็นสัดส่วนแยกเฉพาะ
2.มียูนิตทำฟันที่ได้มาตรฐาน
3. มีทันตภิบาลอยู่ประจำ
4.มีทะเบียนกลุ่มเป้าหมายจำแนกตามกลุ่มวัย
5.หญิงตั้งครรภ์ที่ฝากครรภ์ครั้งแรกได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 100
6.ร้อยละของเด็กนักเรียนประถมศึกษาที่ 1 ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก
 ไม่น้อยกว่า85
7.ตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปากในกลุ่มกลุ่มเด็ก 3-5ปี ร้อยละ 70
8.ตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ ร้อยละ 100
31 งานควบคุมโรคไม่ติดต่อ
6.1 งานควบคุมและป้องกันมะเร็งเต้านม
1. มีแผนงานสอดคล้องกับยุทธศาสตร์กระทรวง
2.มีโครงการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนางานควบคุมและป้องกันมะเร็งเต้านม
3. มีข้อมูลกลุ่มเป้าหมายสตรีอายุ 30-60 ปี
4. กลุ่มเป้าหมายมีการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง ร้อยละ 80
5. กลุ่มเป้าหมายที่มีผลการตรวจผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อวินิจฉัย ร้อยละ 100 
6. มีการสรุปผลการดำเนินงาน สถิติเปรียบเทียบย้อนหลัง 3 ปี
32 6.2 การควบคุมและป้องกันมะเร็งปากมดลูก
1. มีแผนงานสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ดำเนินการในพื้นที่
2.มีโครงการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนางานควบคุมและป้องกันมะเร็งปากมดลูก
3. มีข้อมูลกลุ่มเป้าหมายสตรีอายุ 30-60 ปี
4. กลุ่มเป้าหมายมีการตรวจมะเร็งปากมดลูกโดยวิธี pap smear ร้อยละ 60
5. กลุ่มเป้าหมายที่มีผลการตรวจผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อรักษา ร้อยละ 100 
6. มีการสรุปผลการดำเนินงาน สถิติเปรียบเทียบย้อนหลัง 3 ปี
33 6.3 การควบคุมและป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
1. มีแผนงานสอดคล้องกับยุทธศาสตร์กระทรวง
2.มีโครงการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนางานโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
3. มีข้อมูลกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป
4. กลุ่มเป้าหมายมีการตรวจคัดกรองโรค ร้อยละ 90
5. มีการบันทึกผลการตรวจคัดกรองในโปรแกรมคอมพิวเตอร์
6. กลุ่มเสี่ยงตามเกณฑ์(ปิงปอง7สี)ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 50 
7.กลุ่มป่วยตามเกณฑ์(ปิงปอง7สี)ได้รับการส่งต่อเพื่อวินิจฉัย/รักษา ร้อยละ 100 
8. มีการสรุปผลการดำเนินงาน สถิติเปรียบเทียบย้อนหลัง 3 ปี
34 งานควบคุมโรคติดต่อ
7.1 งานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
1. มีข้อมูลสถานการณ์โรค 5 ปีย้อนหลัง(ปี 2552 -2557 )
2. แผนงาน/โครงการดำเนินงานในรอบปีปัจจุบัน
3. มีทีมเฝ้าระวังการสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว(SRRT)ดูจากคำสั่งแต่งตั้ง
     พร้อมผลการปฏิบัติงาน
4. อปท.มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
5. มีการสรุปและวิเคราะห์ปัญหา
6. อัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง ร้อยละ20 ของค่ามัธยฐานย้อนหลัง5 ปีปฏิทิน
 7. ร้อยละ 80 ของชุมชน/หมู่บ้าน มีค่าเฉลี่ยดัชนีลูกน้ำยุงลาย ( HI<10)
35 7.2งานควบคุมและป้องกันโรควัณโรค
1. มีการขึ้นทะเบียนผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ที่เป็นปัจจุบัน
2. มีแผนงาน/โครงการดำเนินงานในรอบปีปัจจุบัน
3. มีผลการดำเนินงานติดตามกำกับการกินยาและเยี่ยมบ้านตามเกณฑ์
4. ผลการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยรายใหม่กลุ่มเสี่ยงวัณโรค/ผู้สัมผัสร่วมบ้านร้อยละ 75 
5. สรุปวิเคราะห์ข้อมูล  ปัญหา ย้อนหลัง 3 ปี
6. อัตราความสำเร็จของการรักษาวัณโรค(Success Rate) ตามเกณฑ์
36 7.3 งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค 
1. มีแฟ้มงานทะเบียนกลุ่มเป้าหมายแยกประเภท
2. มีทะเบียนการรับ - จ่ายวัคซีน
3. มีแผนงานประจำเดือน / ปี
4. ร้อยละ 95 ของเด็กอายุ ครบ 1 ปี ได้รับวัคซีนMMR
5. ร้อยละ 90 ของเด็กอายุ ครบ 1 ปี ได้รับวัคซีนครบชุด 
(BCG,HB3,DTP-OPV3,M)
6. ร้อยละ 90 ของเด็กอายุ ครบ 2 ปี ได้รับวัคซีนครบชุด 
(BCG,HB3,DTP-OPV3,M,JE2)
7. ร้อยละ 90 ของเด็กอายุ ครบ 3 ปี ได้รับวัคซีนครบชุด 
 (BCG,HB3,DTP-OPV4,M,JE3)
8. ร้อยละ 90 ของเด็กอายุ ครบ 5 ปี ได้รับวัคซีนครบชุด 
(BCG,HB3,DTP-OPV5,M,JE3)
9. ร้อยละ 90 ของนักเรียนชั้น ป.1 ได้รับวัคซีน BCG และ DT
10. ร้อยละ 90 ของนักเรียนชั้น ป.6 ได้รับวัคซีน  DT
11. ร้อยละ 90 ของหญิงตั้งครรภ์ได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยักครบชุดตามเกณฑ์
12. มีการสรุปผลการปฏิบัติงานแยกรายไตรมาส
13. มีการสรุปวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบเป้าหมาย
14. มีการดูแลเฝ้าระวังระบบลูกโช่ความเย็นอย่างต่อเนื่อง
36 ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัย
37 ยุทธศาสตร์และนโยบายกระทรวง ข้อ 37 - 51
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัย
กลุ่มเด็กปฐมวัย ( 0-5 ) ปี / สตรี
  อัตราส่วนการตายมารดาไม่เกิน 15 ต่อการเกิดมีชีพแสนคน
เกณฑ์การให้คะแนน
  อัตราส่วนการตายมารดาน้อยกว่าหรือเท่ากับ 15 
ต่อการเกิดมีชีพแสนคน
  อัตราส่วนการตายมารดามากกว่า 15 ต่อการเกิดมีชีพแสนคน
38 ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัย
กลุ่มเด็กปฐมวัย ( 0-5 ) ปี / สตรี
  อัตราเด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 85
เกณฑ์การให้คะแนน
  อัตราเด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัยมากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 85
 อัตราเด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัยน้อยกว่า ร้อยละ 85
39 ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียน ( 5-14 ) ปี
  เด็กนักเรียนเริ่มอ้วนและอ้วน ไม่เกินร้อยละ 10
เกณฑ์การให้คะแนน
  เด็กนักเรียนเริ่มอ้วนและอ้วน ไม่เกินร้อยละ 10
  เด็กนักเรียนเริ่มอ้วนและอ้วน เกินร้อยละ 10
40 ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียน ( 5-14 ) ปี
  อัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี 
ไม่เกิน 6.5
เกณฑ์การให้คะแนน
 อัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ไม่เกิน 6.5
อัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เกิน 6.5
41 ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัย
กลุ่มเด็กวัยรุ่น / นักศึกษา (15-21 ปี )
  อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15 - 19 ปี  
ไม่เกิน 50 ต่อประชากรหญิงอายุ 15 - 19 ปี พันคน
เกณฑ์การให้คะแนน
อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15 - 19 ปี  
ไม่เกิน 50 ต่อประชากรหญิงอายุ 15 - 19 ปี พันคน
อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15 - 19 ปี  
เกิน 50 ต่อประชากรหญิงอายุ 15 - 19 ปี พันคน
42 ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัย
กลุ่มเด็กวัยรุ่น / นักศึกษา (15-21 ปี )
  ความชุกของผู้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประชากร
อายุ 15 - 19 ปี  ไม่เกินร้อยละ 13
เกณฑ์การให้คะแนน
ความชุกของผู้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประชากร
อายุ 15 - 19 ปี  ไม่เกินร้อยละ 13
ความชุกของผู้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประชากร
อายุ 15 - 19 ปี  ไม่เกินร้อยละ 13
43 ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัย
กลุ่มวัยทำงาน ( 15 - 19 ปี ) 
  อัตราตายด้วยอุบัติเหตุทางถนนในปี 2558 
ไม่เกิน 18 ต่อ ประชากรแสนคน
เกณฑ์การให้คะแนน
อัตราตายด้วยอุบัติเหตุทางถนนในปี 2558 
ไม่เกิน 18 ต่อ ประชากรแสนคน
 อัตราตายด้วยอุบัติเหตุทางถนนในปี 2558 
เกิน 18 ต่อ ประชากรแสนคน
44 ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัย
กลุ่มวัยทำงาน ( 15 - 19 ปี ) 
  อัตราตายด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ลดลงร้อยละ 10 
ภายในระยะเวลา 5 ปี ( 2558 - 2562 )
เกณฑ์การให้คะแนน
อัตราตายด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ลดลงร้อยละ 10  หรือมากกว่า
ภายในระยะเวลา 5 ปี ( 2558 - 2562 )
อัตราตายด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ลดลงน้อยกว่าร้อยละ 10 
ภายในระยะเวลา 5 ปี ( 2558 - 2562 )
45 ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ ( 60 ปีขึ้นไป )และผู้พิการ
  ร้อยละของผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์  ร้อยละ 30
เกณฑ์การให้คะแนน
ร้อยละของผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ 
มากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 30
ร้อยละของผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ 
มากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 30
46 ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาและจัดระบบบริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน
ครอบคลุม ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้
ระบบบริการปฐมภูมิ
  ร้อยละของอำเภอที่มี District Health System (DHS)  ที่เชื่อมโยง
ระบบบริการปฐมภูมิกับชุมชนและท้องถิ่นอย่างมีคุณภาพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
เกณฑ์การให้คะแนน
ร้อยละของอำเภอที่มี DHS ที่เชื่อมโยงระบบบริการปฐมภูมิกับชุมชน
และท้องถิ่นอย่างมีคุณภาพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
ร้อยละของอำเภอที่มี DHS ที่เชื่อมโยงระบบบริการปฐมภูมิกับชุมชน
และท้องถิ่นอย่างมีคุณภาพ น้อยกว่าร้อยละ 80
47 ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาและจัดระบบบริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน
ครอบคลุม ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้
ระบบควบคุมโรค
  ร้อยละ 50 ของอำเภอสามารถควบคุมโรคติดต่อสำคัญของพื้นที่ได้
เกณฑ์การให้คะแนน
อำเภอสามารถควบคุมโรคติดต่อสำคัญของพื้นที่ได้
มากว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 50
อำเภอสามารถควบคุมโรคติดต่อสำคัญของพื้นที่ได้
น้อยว่า ร้อยละ 50
48 ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาและจัดระบบบริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน
ครอบคลุม ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้
ระบบการคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการ อาหาร 
และผลิตภัณฑ์สุขภาพ
  ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์
เกณฑ์การให้คะแนน
49 ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาและจัดระบบบริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน
ครอบคลุม ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้
การป้องกันและบำบัดรักษายาเสพติด
  อัตราการหยุดเสพ ( remission rate ) ร้อยละ 50
เกณฑ์การให้คะแนน
อัตราการหยุดเสพ ( remission rate ) มากกว่าหรือ เท่ากับร้อยละ 50
อัตราการหยุดเสพ ( remission rate ) น้อยกว่า ร้อยละ 50
50 ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อสนับสนุน
การจัดบริการ
การบังคับใช้กฎหมาย
  มีเครือข่ายนักกฎหมายที่เข้มแข้งและบังคับใช้กฎหมาย
ในเรื่องที่สำคัญ
เกณฑ์การให้คะแนน
51 ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อสนับสนุน
การจัดบริการ
สิ่งแวดล้อม
  มีระบบฐานข้อมูล และสถานการณ์สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
ระบบเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
เกณฑ์การให้คะแนน

ส่วนที่ 4 ผลงานวิจัย หรือ นวัตกรรม(Innovation) หรือผลงานยอดเยี่ยม(Best Practice)
ลำดับ กิจกรรม
ผลการวิจัย/งานวิจัยสู่งานประจำ(R2R)
1 การนำเสนอ
1. การนำเสนอ ใช้เวลาไม่เกิน 12 นาที ซักถาม 3 นาที
( ถ้าเกิน หัก นาทีละ 1 คะแนน)
2. ประเด็น/เนื้อหาและการลำดับเรื่องการนำเสนอ
3. วิธีการ/เทคนิค/สื่อการนำเสนอและความมั่นใจในการตอบคำถาม
2 เอกสาร
1. มีรูปแบบการวิจัยที่ได้มาตรฐานทางวิชาการ
2. การจัดทำรูปเล่มมีขนาดเหมาะสม
3 คุณค่าและการนำไปใช้ประโยชน์ ที่สอดคล้องกับภาวะสุขภาพ
ของประชาชนในพื้นที่
1. เป็นผลงานที่เคยนำเสนอในระดับจังหวัด เป็นอย่างน้อย
2. เป็นผลงานวิจัย/ผลงานวิจัยที่ทำจากงานประจำ ไม่เกิน 2 ปี
3. เป็นผลงานที่สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาภาวะสุขภาพของ
ประชาชนในพื้นที่ระดับอำเภอได้จริง