จำนวนการดูหน้าเว็บรวม (เริ่มนับ พฤศจิกายน 2553)

วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

บทบาทหน้าที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล (รพ.สต.) ทำหน้าที่ในลักษณะให้บริการสาธารณสุขผสมผสาน ทั้งด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การควบคุมและป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ รวมทั้งการจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชนและสังคมในพื้นที่ที่รับผิดชอบ โดยมีจุดเน้นที่สำคัญ ๓ ประการดังนี้
) ดำเนินการเชิงรุก โดยมุ่งเข้าหาประชาชนและชุมชนเพื่อการสร้างสุขภาพเป็นหลัก รวมทั้งมุ่งจัดการกับปัจจัยเสี่ยงที่เป็นต้นเหตุของปัญหาสุขภาพ
) บริการตลอด ๒๔ ชั่วโมง โดยที่สามารถปรึกษาแพทย์ในโรงพยาบาลพี่เลี้ยง หรือส่งต่อผู้ป่วยได้ตลอดเวลา ทั้งนี้อาจมีบริการเตียงนอนเพื่อสังเกตอาการโดยไม่รับผู้ป่วยไว้นอนค้างคืน และหากมีกรณีฉุกเฉินก็สามารถประสานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในการออกไปรับผู้ป่วยและให้การปฐมพยาบาลก่อนส่งต่อ
) มีความเชื่อมโยงและมีส่วนร่วม โดยมีความเชื่อมโยงกับบริการสุขภาพในระดับอื่น ในการดูแลผู้ป่วยเฉพาะรายอย่างมีประสิทธิภาพ และมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งในการดำเนินงาน ของประชาชน ชุมชน และองค์กรปกครองท้องถิ่น

ฝึกงานหลักสูตรผู้ช่วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ปี 2553 (31 มกราคม-31 มีนาคม 2554)

รพ.สต.แร่ เป็นแหล่งฝึกงานผู้เข้าอบรมหลักสูตรผู้ช่วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ปี 2553
ระยะเวลาการอบรม (ภาคฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม) 240 ชั่วโมง
(ระหว่างวันที่ 31 มกราคม-31 มีนาคม 2554)
รายชื่อผู้เข้าอบรมฯ
 1. น.ส. นันทวรรณ ไชยรบ (ลูกจ้างชั่วคราว) PCU รพ.พังโคน อ.พังโคน
 2. นางพิสมัย ขันชะลี (ลูกจ้างชั่วคราว) PCU รพ.สต.โคกสะอาด อ.พังโคน
 3. นางหนูพร หันจางสิทธิ์ (คนงาน) รพ.สต.วัฒนา อ.ส่องดาว
 4. น.ส.ปัญญา ผึ้งศรี (ผู้ช่วยเหลือคนไข้) รพ.สต.โพธิไพศาล อ.กุสุมาลย์

วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

การประยุกต์ใช้โปรแกรม Microsoft Excel สำหรับการประมวลผลและแสดงข้อมูลปัญหาสุขภาพ

การประยุกต์ใช้โปรแกรม Microsoft Excel
สำหรับการประมวลผลและแสดงข้อมูลปัญหาสุขภาพ
ในขั้นตอนการค้นหาปัญหาสุขภาพโดยกระบวนการโสเหล่
ตามแนวปฏิบัติของ รศ.(พิเศษ) ทพ.ดร.สุขสมัย สมพงษ์

ความเป็นมา
               
กระบวนการค้นหาปัญหาสุขภาพ โดยการโสเหล่ ของ รศ.(พิเศษ) ทพ.ดร.สุขสมัย สมพงษ์ เป็นการซักถาม ส่อ และโสเหล่กับแกนนำและตัวแทนประชาชนในหมู่บ้าน ให้ได้มาซึ่ง 1.) โรคและภัยที่ชาวบ้านป่วย 2.) โรคและภัยที่เป็นสาเหตุการตายของคนในหมู่บ้าน  แล้วให้ชาวบ้านบอกสาเหตุและการป้องกันโรคและภัยนั้น  จากนั้นจึงนำชื่อโรค สาเหตุ และวิธีป้องกันไปเขียนเป็นแผนภาพโยงใยทุกข์หรือปัญหาสุขภาพ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยง ความเป็นเหตุและผลซึ่งกันและกัน ระหว่างโรค(ทุกข์หรือปัญหาสุขภาพ) สาเหตุ และวิธีป้องกัน ซึ่งแผนภาพการโยงใยปัญหานี้เป็นเครื่องมือสำคัญในการนำไปใช้ประกอบการจัดทำแผนงานแก้ไขปัญหาสุขภาพ เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการอธิบายและสื่อสารให้ชาวบ้านเห็นและเข้าใจถึงความเชื่อมโยงของปัญหาและสาเหตุรวมทั้งวิธีการป้องกันปัญหาที่พวกเขาได้ระดมความคิดเห็นกันจนเป็นที่พอใจในระดับหนึ่ง  การดำเนินการบันทึกข้อมูลตามกระบวนการดังกล่าว แต่ก่อนมีการจดบันทึกข้อมูลในกระดาษฟลิปชาร์ทและประมวลผลโดยการสังเคราะห์ข้อมูลจากข้อมูลที่บันทึกนั้นลงในกระดาษ A4 และคัดลอกลงในกระดาษฟลิปชาร์ทอีกครั้งหนึ่งเพื่อแสดงผลให้ผู้ร่วมโสเหล่ทุกคนมองเห็นข้อมูลด้วยกัน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวนี้ค่อนข้างช้าและใช้ผู้ช่วยบันทึกข้อมูล 2-3 คนสำหรับการจดบันทึกและคัดลอก เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วก็ยังต้องนำข้อมูลที่บันทึกไว้ในกระดาษไปพิมพ์สรุปลงในโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการจัดทำแผนงานต่อไป ซึ่งเป็นการทำงานซ้ำซ้อน
                ดังนั้น เพื่อลดเวลา กำลังคน และขั้นตอนการดำเนินการ  จึงได้พัฒนาแนวทางการดำเนินการโดยการประยุกต์ใช้โปรแกรม Microsoft Excel สำหรับการประมวลผลและแสดงข้อมูลปัญหาสุขภาพ ให้สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว ใช้ผู้ช่วยบันทึกข้อมูลเพียง 1 คน และสามารถพิมพ์เอกสารให้เสร็จเรียบร้อยทันทีที่ดำเนินการเสร็จสิ้นกระบวนการ
วัตถุประสงค์
1.       บันทึกข้อมูลการเจ็บป่วย การตาย
2.       ประมวลผล และแสดงผลทางหน้าจอคอมพิวเตอร์และโปรเจคเตอร์ ให้ผู้ร่วมโสเหล่สามารถเห็นข้อมูลเดียวกัน  ร่วมสังเคราะห์และสรุปผลข้อมูลไปพร้อมกันได้
3.       แบ่งโรคให้สมาชิกแต่ละกลุ่มที่ร่วมโสเหล่ เพื่อช่วยกันบอกสาเหตุและวิธีป้องกันของแต่ละโรค
4.       จัดทำเอกสารสรุปข้อมูลชื่อโรคที่เป็นสาเหตุการป่วยและตาย รวมทั้งบอกสาเหตุและวิธีป้องกันของแต่ละโรค
บุคลากรและอุปกรณ์ที่ใช้
1.       วิทยากรหลักทำหน้าที่ซักถาม ส่อ และนำการโส จำนวน 1 คน
2.       วิทยากรผู้ช่วยบันทึกและประมวลผลข้อมูลในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 1 คน
3.       คอมพิวเตอร์โน้ตบุค จำนวน 1 เครื่อง
4.       เครื่องฉายโปรเจ็คเตอร์ พร้อมจอและขาตั้ง  จำนวน 1 ชุด
5.       เครื่องขยายเสียงพร้อมลำโพง  1 ชุด
6.       ไมโครโฟน จำนวน  1 หรือ 2 ตัว
7.       กระดาษ A4 จำนวน ประมาณ  20 แผ่น (สำหรับแจกผู้ร่วมโสเหล่ รายกลุ่ม จำนวน 3-4 กลุ่ม กลุ่มละ 3-4 แผ่น)
8.       ปากกาลูกลื่น จำนวน ประมาณ 10 ด้าม (สำหรับแจกผู้ร่วมโสเหล่ รายกลุ่ม จำนวน 3-4 กลุ่ม กลุ่มละ 2 ด้าม)

ขั้นตอนการดำเนินการ
                1. สร้างโฟลเดอร์ใหม่ 1 โฟลเดอร์ และตั้งชื่อให้สื่อความหมายตามที่ต้องการ สำหรับเก็บไฟล์โปรแกรม Microsoft Excel (ในตัวอย่างนี้ สร้างโฟลเดอร์ใหม่และตั้งชื่อว่า แผนหมู่บ้าน)
               


            2. เปิดโฟลเดอร์ที่สร้างไว้ในข้อ 1 แล้วสร้างไฟล์โปรแกรม Microsoft Excel ขึ้นมาใหม่ 1 ไฟล์ และตั้งชื่อให้สื่อความหมายตามที่ต้องการ (ในตัวอย่างนี้ ตั้งชื่อไฟล์ว่า 1_ทุกข์_ปัญหาสุขภาพ)
           
            3. เปิดไฟล์เอกสารในข้อ 3 ตั้งค่าเอกสาร ดังนี้
1) สร้างแผ่นงาน (sheet) จำนวน 6 แผ่น ตั้งชื่อแต่ละแผ่นงานให้สื่อความหมาย ดังนี้
- แผ่นที่ 1 ชื่อ 1_ข้อมูลการป่วย_โรค_ภัย
- แผ่นที่ 2 ชื่อ 2_ข้อมูลโรคหรือสาเหตุการตาย
- แผ่นที่ 3 ชื่อ 3_รวมข้อมูลการป่วยและตาย
- แผ่นที่ 4 ชื่อ 4_แบ่งโรคให้แต่ละกลุ่ม
- แผ่นที่ 5 ชื่อ 5_แสดงชื่อโรคของแต่ละกลุ่ม
- แผ่นที่ 6 ชื่อ 6_บอกสาเหตุ_วิธีป้องกัน
2) แบบตัวอักษร Angsana New ขนาด 16  ตัวหนา
3) การแสดงผล ขยาย 200%
            4. การบันทึกข้อมูลชื่อโรคและภัยที่ทำให้ป่วย ในแผ่นงานที่ 1 ให้พิมพ์ชื่อโรคทุกโรค โดยไม่มีคำว่าโรคนำหน้า เช่น โรคกระเพาะอาหาร โรคท้องร่วง  ให้พิมพ์ว่า กระเพาะอาหาร ท้องร่วง เป็นต้น ทั้งนี้ให้พิมพ์ใส่ในคอลัมน์ A เรียงลงไปเรื่อยๆ (ไม่ต้องพิมพ์ชื่อหัวคอลัมน์ เช่น รายชื่อโรค)


5. การบันทึกข้อมูลชื่อโรคและภัยที่ทำให้ตาย ในแผ่นงานที่ 2 (ดำเนินการเช่นเดียวกันกับแผ่นงานที่ 1) ให้พิมพ์ชื่อโรคทุกโรค โดยไม่มีคำว่าโรคนำหน้า เช่น โรคตับโต โรคเบาหวาน  ให้พิมพ์ว่า ตับโต  เบาหวาน เป็นต้น ทั้งนี้ให้พิมพ์ใส่ในคอลัมน์ A เรียงลงไปเรื่อยๆ (ไม่ต้องพิมพ์ชื่อหัวคอลัมน์ เช่น รายชื่อโรค)

6.       การบันทึกข้อมูลการป่วยและตายในแผ่นงานที่ 3
6.1    คัดลอกข้อมูลจากแผ่นงานที่ 1 โดยการคลิกเลือกเซลล์ที่มีข้อมูลรายชื่อโรคทั้งหมด > คลิกขวา > คลิกคัดลอก > คลิกแผ่นงานที่ 3 > คลิกที่เซลล์ A1 > คลิกขวา >  คลิกวาง
6.2    คัดลอกข้อมูลจากแผ่นงานที่ 2 โดยการคลิกเลือกเซลล์ที่มีข้อมูลรายชื่อโรคทั้งหมด > คลิกขวา > คลิกคัดลอก> คลิกแผ่นงานที่ 3 > คลิกที่เซลล์ที่อยู่ล่างสุดต่อจากชื่อโรคชื่อสุดท้ายในคอลัมน์ A > คลิกขวา >  คลิกวาง

6.3    จัดการข้อมูลรายชื่อโรคทั้งหมดให้สามารถมองเห็นได้ในหน้าจอเดียว (All in Screen)  โดยดำเนินการดังนี้
-          คลิกเลือกเซลล์ที่มีชื่อโรคในคอลัมน์ A ตั้งแต่เซลล์ A11 ไปจนถึง เซลล์ A20 (หรือชื่อโรคลำดับที่ 11 ถึง 20) คลิกขวา> ตัด
-          คลิกที่เซลล์ B1> คลิกขวา>วาง
-          คลิกเลือกเซลล์ที่มีชื่อโรคในคอลัมน์ A ตั้งแต่เซลล์ A21 เป็นต้นไป  โดยดำเนินการตัด (คำสั่ง Cut )ทีละ 10 โรค และวางในเชลล์ C1, D1, E1 ตามลำดับ (คอลัมน์ละ 10 โรค) จากนั้นจัดให้พอดีแสดงผลได้ในหน้าจอเดียวกันตามความเหมาะสม

-          ลบชื่อโรคที่ซ้ำกันให้เหลือ 1 ชื่อ เช่น เบาหวานซ้ำกัน 2 ครั้ง ให้ลบออก 1 ชื่อ ให้เหลือเบาหวาน เพียงชื่อเดียว, มะเร็งตับ ซ้ำกัน 2 ครั้ง ให้ลบออก 1 ชื่อ ให้เหลือมะเร็งตับเพียงชื่อเดียว เป็นต้น  (วิธีการลบ โดยการคลิกที่ชื่อโรคที่ต้องการลบ แล้วกดปุ่ม delete ที่แป้นคีย์บอร์ด)

-          โรค/อาการ ที่มีความหมายเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน หรือพอที่จะยอมรับได้ว่าเป็นกลุ่มโรคเดียวกัน ให้พิจารณาร่วมกันกับสมาชิกที่ร่วมโสเหล่ เพื่อยุบรวมเป็นโรคหรือกลุ่มอาการเดียวกัน  แต่ทั้งนี้ต้องชี้แจงและขอมติ-ขออนุญาตที่ประชุมก่อน เพื่อให้เข้าใจความหมายไปในทิศทางเดียวกัน (ในตัวอย่างนี้ กลุ่มอาการ ปวดกล้ามเนื้อ/ข้ออักเสบ, ปวดเข่า, ปวดตามข้อ กระดูก/เกาต์  อาจยุบรวมเป็น ชื่ออาการเดียวกัน คือ ปวดกล้ามเนื้อ/ข้ออักเสบ/เก๊าต์  )
-          เมื่อตัดโรคที่ซ้ำกันออกให้เหลือเพียงโรคละ 1 ชื่อ และยุบรวมกลุ่มโรค/อาการ ที่มีความหมายเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน เป็น 1 โรค เรียบร้อยแล้ว ก็จะพบว่ามีข้อมูลชื่อโรคลดน้อยลงและกระจายกันอยู่

-          เตรียมข้อมูลเพื่อจัดเรียงชื่อโรคให้เป็นระเบียบ เรียงตามอักษร (เรียงจากน้อยไปมาก AàZ) โดยการคลิกเลือกชื่อโรคทั้งหมดในคอลัมน์ B, C, D และ E (ทำทีละ 1 คอลัมน์) คลิกขวา à ตัด, คลิกที่เซลล์ที่อยู่ล่างสุดต่อจากชื่อโรคชื่อสุดท้ายในคอลัมน์ A ,   คลิกขวา >  คลิกวาง  (ดำเนินการตามขั้นตอนนี้เหมือนกันทั้งคอลัมน์ B, C, D และ E โดยทำทีละ 1 คอลัมน์)
                       
-          เมื่อตัดข้อมูลในคอลัมน์ B, C, D และ E ไปวางเรียงต่อกันในคอลัมน์ A จนครบแล้ว ให้คลิกที่หัวคอลัมน์ A และคลิกที่ปุ่มคำสั่งเรียงข้อมูล เรียงจากน้อยไปมาก (AàZ)
7.       การบันทึกข้อมูลเพื่อการแบ่งโรคให้แต่ละกลุ่มตามความสนใจ ในแผ่นงานที่ 4
7.1    คลิกเลือกข้อมูลทั้งหมดในแผ่นงานที่ 3 (คลิกมุมซ้ายของตาราง), คลิกขวา> คัดลอก, คลิกแผ่นงานที่ 4  คลิกเลือกข้อมูลทั้งหมดในแผ่นงานที่ 4 (คลิกมุมซ้ายของตาราง), คลิกขวา> วาง

7.2    จัดการข้อมูลรายชื่อโรคทั้งหมดให้สามารถมองเห็นได้ในหน้าจอเดียว (All in Screen)  โดยดำเนินการดังนี้
-          คลิกเลือกเซลล์ที่มีชื่อโรคในคอลัมน์ A ตั้งแต่เซลล์ A11 ไปจนถึง เซลล์ A20 (หรือชื่อโรคลำดับที่ 11 ถึง 20) คลิกขวา> ตัด
-          คลิกที่เซลล์ B1> คลิกขวา>วาง
                      

-          ในกรณีที่มีชื่อโรคมากกว่า 20 โรค ก็ให้ดำเนินการตัดมาทีละ 10 โรค และวางในเซลล์ C1, D1, E1,… จนหมดทุกโรค  (แต่ในตัวอย่างนี้มีเพียง 19 โรค)










7.3    แบ่งโรคให้แต่ละกลุ่มตามความสนใจ โดยวิทยากรอ่านรายชื่อโรคทีละ 1 โรค แล้วให้แต่ละกลุ่มยกมือเพื่อรับโรคนั้นไป  เช่น ไข้หวัด ไอ ภูมิแพ้ หอบหืด กลุ่มที่ 2 ยกมือและรับไป  ก็ให้พิมพ์หมายเลขประจำกลุ่ม (เลข 2) ไว้หน้าชื่อโรคนี้ โดยเว้นระยะห่างระหว่างตัวเลขกับตัวอักษร 1 เคาะ (หรือกดแป้น Space Bar 1 ครั้ง)  ทำเช่นนี้เรื่อยไปจนครบทุกโรค
                        

7.4    เตรียมข้อมูลเพื่อจัดเรียงข้อมูลชื่อโรค เรียงตามกลุ่ม (ตามหมายเลขกำกับหน้าชื่อโรค) โดยการคลิกเลือกชื่อโรคทั้งหมดในคอลัมน์ B > คลิกขวา >  ตัด, คลิกที่เซลล์ที่อยู่ล่างสุดต่อจากชื่อโรคชื่อสุดท้ายในคอลัมน์ A ,   คลิกขวา > วาง
        

7.5    เมื่อตัดข้อมูลในคอลัมน์ B ไปวางเรียงต่อกันในคอลัมน์ A  เรียบร้อยแล้ว ให้คลิกที่หัวคอลัมน์ A และคลิกที่ปุ่มคำสั่งเรียงข้อมูล เรียงจากน้อยไปมาก (AàZ)
                     

8.       การบันทึกข้อมูลเพื่อแสดงรายชื่อโรคของแต่ละกลุ่มที่ได้รับ ในแผ่นงานที่ 5
8.1    คลิกเลือกข้อมูลทั้งหมดในแผ่นงานที่ 4 (คลิกมุมซ้ายของตาราง), คลิกขวา> คัดลอก, คลิกแผ่นงานที่ 5  คลิกเลือกข้อมูลทั้งหมดในแผ่นงานที่ 5 (คลิกมุมซ้ายของตาราง), คลิกขวา> วาง
                     
8.2    จัดการข้อมูลรายชื่อโรคทั้งหมดให้สามารถมองเห็นได้ในหน้าจอเดียว (All in Screen)  โดยดำเนินการดังนี้
-          คลิกเลือกเซลล์ที่มีชื่อโรคในคอลัมน์ A โดยดำเนินการเลือกทีละกลุ่ม (ดูจากหมายเลขกำกับหน้าชื่อโรค) คลิกขวา>ตัด (ดำเนินการตัดกลุ่มที่ 2 กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่ 4 เพื่อไปวางใน คอลัมน์ B C และ D ตามลำดับ)
-          คลิกที่เซลล์ B1> คลิกขวา>วาง   (สำหรับกลุ่มต่อๆไป ก็วาง ที่เซลล์ C1, D1 ตามลำดับ)
                    

-          ผลลัพธ์หลังดำเนินการตัดกลุ่มที่ 2 กลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 4 ไปวางใน คอลัมน์ B C และ D ตามลำดับ เรียบร้อยแล้ว


9.       การบันทึกข้อมูลสาแหตุและวิธีป้องกันของแต่ละโรค ในแผ่นงานที่ 6
9.1    สร้างตาราง โดยพิมพ์ชื่อหัวคอลัมน์ โรคภัย (ในเซลล์ A1), สาเหตุ (ในเซลล์ B1) วิธีป้องกัน (ในเซลล์ C1)
9.2    คัดลอกชื่อโรคจากแผ่นงานที่ 5 นำมาวางในคอลัมน์โรคภัย (คอลัมน์ A)
9.3    สาเหตุ ให้ระบุหนึ่งสาเหตุต่อหนึ่งแถว หากโรคใดมีมากกว่าหนึ่งสาเหตุก็ให้แทรกแถวเพื่อพิมพ์สาเหตุเรียงลงมาจนครบทุกสาเหตุ
9.4    วิธีป้องกัน ให้ระบุหนึ่งวิธีต่อหนึ่งแถว หากโรคใดมีมากกว่าหนึ่งวิธีก็ให้แทรกแถวเพื่อพิมพ์วิธีป้องกันเรียงลงมาจนครบทุกวิธี






กรอบแนวปฏิบัติสำหรับวิทยากรผู้นำการโสเหล่และเจ้าหน้าที่ช่วยบันทึกข้อมูล
ในการดำเนินการโสเหล่เพื่อค้นหาปัญหาสุขภาพของชาวบ้าน

ลำดับ
วิทยากรผู้นำการโสเหล่
เจ้าหน้าที่ช่วยบันทึกข้อมูล
1
แบ่งชาวบ้านออกเป็น 4 กลุ่ม  ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันคิด ตอบคำถามของวิทยากร

2
ในช่วง 6 เดือน หรือ 1 ปีที่ผ่านมา ถึงปัจจุบัน มีคนในครอบครัว หรือคนในหมู่บ้านป่วย หรือไปหาหมอด้วยโรคอะไรบ้าง (แต่ละกลุ่มเขียนคำตอบลงในกระดาษ A4 และออกมานำเสนอ)

- ดำเนินการบันทึกข้อมูลชื่อโรคที่แต่ละกลุ่มนำเสนอ ลงในแผ่นงานที่ 1
3
ในช่วง 6 เดือน หรือ 1 ปี หรือ 2 ปี ที่ผ่านมา ในหมู่บ้านมีคนตายด้วยโรคอะไรบ้าง (ไม่ต้องระบุชื่อคนตาย) ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันคิดและเขียนคำตอบลงในกระดาษ A4  และเมื่อตอบคำถามเสร็จแล้วให้ส่งตัวแทนออกมานำเสนอ
- ดำเนินการบันทึกข้อมูลชื่อโรคที่แต่ละกลุ่มนำเสนอ ลงในแผ่นงานที่ 2
4
วิทยากรที่รับผิดชอบการทำกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ (สันทนาการ) ดำเนินกิจกรรมคั่นเวลา ประมาณ 5 นาที
- ดำเนินการบันทึกข้อมูลในแผ่นงานที่ 3
   - รวมข้อมูลจากแผ่นงานที่ 1 และ 2  มาไว้ในแผ่นงานที่ 3
   - จัดเรียงข้อมูล (จากน้อยไปมาก)
  
- จัดการข้อมูลทั้งหมดให้สามารถมองเห็นได้ภายในหน้าจอเดียว
5
วิทยากรผู้นำการโสเหล่ สรุปโรคที่ป่วยและตายของคนในหมู่บ้านโดยอ้างอิงข้อมูลจากการประมวลผลบนหน้าจอ และดำเนินการร่วมกับสมาชิกผู้ร่วมโสเหล่ ดังนี้
  - ช่วยกันตัดชื่อโรคที่ซ้ำกันให้เหลือเพียงหนึ่งชื่อ
 - โรค/อาการ ที่มีความหมายเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน หรือพอที่จะยอมรับได้ว่าเป็นกลุ่มโรคเดียวกัน ให้พิจารณายุบรวมเป็นโรคหรือกลุ่มอาการเดียวกัน
- ดำเนินการบันทึกข้อมูลในแผ่นงานที่ 3 (ต่อ)
6
แบ่งโรคให้แต่ละกลุ่มตามความสนใจ โดยวิทยากรอ่านรายชื่อโรคทีละ 1 โรค แล้วให้แต่ละกลุ่มยกมือเพื่อรับโรคนั้นไป
- ดำเนินการบันทึกข้อมูลเพื่อการแบ่งโรคให้แต่ละกลุ่มตามความสนใจ ในแผ่นงานที่ 4  และ 5
7
มอบหมายให้แต่ละกลุ่มช่วยกันคิด บอกสาเหตุ และวิธีการป้องกันโรคตามที่กลุ่มของตนได้รับ  เขียนคำตอบลงในกระดาษ A4  แล้วให้ส่งตัวแทนออกมานำเสนอ
- ดำเนินการบันทึกข้อมูลสาแหตุและวิธีป้องกันของแต่ละโรค ในแผ่นงานที่ 6


วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

การประเมินหมู่บ้านจัดการสุขภาพ

                 ในปี 2553  การจัดระดับศักยภาพหมู่บ้านในการจัดการสุขภาพ   แบ่งเป็น 5 ระดับ  แต่จะใช้ตัวแปรในการวิเคราะห์  5 ตัวแปร  คือ
1.   การมีส่วนร่วมการจัดการสุขภาพของชุมชน  
2.   การได้รับงบประมาณสนับสนุนการพัฒนาสุขภาพ มากกว่า 10,000 บาท
3.   การมีกลุ่ม / ชมรมสุขภาพต่าง ๆ ที่ยังดำเนินงานในหมู่บ้าน ตั้งแต่ 6 กลุ่มขึ้นไป
4.   วิธีการจัดทำแผนสุขภาพของชุมชน
5.   ความเข้มแข็งของกลุ่ม อสม. / เครือข่าย
 
รายละเอียด การจัดระดับศักยภาพหมู่บ้านในการจัดการสุขภาพ มี ดังนี้
       ระดับ 1 ดาว  หมายถึง  ไม่ผ่านเกณฑ์การจัดการสุขภาพ  
                            ในปี 2552  พบว่ามีจำนวน 4,126 หมู่  (6.3%)
       ระดับ 2 ดาว  หมายถึง  มีศักยภาพเบื้องต้น คือ ผ่านเกณฑ์การจัดการสุขภาพขั้นพื้นฐาน
                            ในปี 2552  พบว่ามีจำนวน 37,152 หมู่ (56.5 %)
       ระดับ 3 ดาว  หมายถึง  มีศักยภาพปานกลาง เป็นหมู่บ้านที่มีการบริหารจัดการงานด้านสุขภาพ
                             ได้สูงกว่าขั้นพื้นฐาน ( มีตัวแปรครบ 2 ใน 3 )  
                             ในปี 2552  พบว่ามีจำนวน 18,517 หมู่ (28.1 %)
       ระดับ 4 ดาว  หมายถึง มีศักยภาพสูง เป็นหมู่บ้านที่มีการบริหารจัดการงานสุขภาพได้ดี  แต่ยัง
                            ไม่สามารถเป็นครูให้กับหมู่บ้านอื่นได้  (ตัวแปรครบ 3 ข้อ)
                            ในปี 2552  พบว่ามีจำนวน 6,005 หมู่ (9.1%)
       ระดับ 5 ดาว  หมายถึง มีศักยภาพสูงเยี่ยม เป็นหมู่บ้านที่ผ่านระดับ 4 ดาว และสามารถเป็นครูให้
                             กับหมู่บ้านอื่นได้  พบว่ามีจำนวนประมาณร้อยละ 2-3 ของหมู่บ้านระดับ 4 ดาว
ที่มา : คัดลอกจากเอกสาร "คำชี้แจงแบบประเมินหมู่บ้านจัดการสุขภาพ  ปี  2553
กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน"

ภาพสาธารณสุขอำเภอพังโคน



วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

สสส.คือ อะไร

http://www.thaihealth.or.th/
สสส. คือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นหน่วยงานของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการหรือรัฐ วิสาหกิจจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ.2544 อยู่ภายใต้การ กำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี มีรายได้จากภาษีสรรพสามิตยาสูบและสุราในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี ทำหน้าที่ จุดประกาย กระตุ้น สนับสนุน และประสานความร่วมมือกับกลุ่มบุคคล องค์กร และชุมชนทั่วไป (ภาคี สร้างเสริมสุขภาพ) โดยมุ่งหวังให้คนไทยมีสุขภาพดีครบสี่ด้าน กาย จิต ปัญญา สังคม เพื่อร่วมสร้าง ประเทศไทยให้น่าอยู่ โดยไม่จำกัดกรอบวิธีการ และยินดีเปิดรับแนวทาง ปฏิบัติการใหม่ๆ ที่เป็นความคิด สร้างสรรค์สามารถนำไปสู่การขยายค่านิยมและการสร้างพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพแก่ประชาชนได้ อย่างมีประสิทธิภาพและกว้างขวาง ซึ่งนับเป็นองค์กรด้านสุขภาพรูปแบบใหม่ที่สอดคล้องกับมติของ สมัชชาสุขภาพโลก ด้านการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (World Health Assembly Resolution 12.8 : Health Promotion and Health Life-Style)  คลิกดูรายละเอียด http://www.thaihealth.or.th/

อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตำบลแร่ ปี 2554

หลักสูตรการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวสุขบัญญัติ ของ รศ.(พิเศษ) ทพ.ดร.สุขสมัย สมพงษ์ (Dr.Suksamai’s Health behavioral Development Pattern)

แผน ข หลักสูตร 5 วัน 4 คืน (รุ่นที่ 2/2554)
ระหว่างวันที่ 18-22 มกราคม 2554
สถานที่ วัดธาตุ บ้านแร่ หมู่ 1 ตำบลแร่ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร

ผลงาน รพ.สต.แร่ ปี 2553

*** เนื่องจากมีผู้สอบถามข้อมูลผลงานของ รพ.สต.แร่ (ถามแล้วถามอีก) จึงนำมาแสดงไว้ ณ ที่นี้ เพื่อแจ้งให้ทราบโดยทั่วกัน (บางทีเจ้าของข้อมูลก็หลงลืม ตอบไม่ได้ว่ามีผลงานเด่นอะไรบ้าง ..นำมานำเสนอไว้เพื่อเตือนความจำ หรือ กันลืม)
ผลงาน รพ.สต.แร่ ปี 2553
1. รองชนะเลิศอันดับ 1 การนำเสนอผลงาน Best Practice แบบบูธ งานป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง “สุขภาพดีวิถีไทยอีสาน” จัดโดยเครือข่ายสำนักงานป้องกันควบคุมโรคภาคอีสาน (สคร.5-6-7) และสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค  ระหว่างวันที่ 10-12 พฤษภาคม 2553 ณ โรงแรมลายทอง จังหวัดอุบลราชธานี
2. รองชนะเลิศอันดับ 1 ในการนำเสนอผลงานด้านการดูแลสุขภาพของกลุ่มแรงงานนอกระบบ พื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี (ระหว่างวันที่ 15-16 กรกฎาคม 2553 ณ โรงแรมพลอยพาเลซ จ.มุกดาหาร)
3. เป็นตัวแทนจังหวัดสกลนคร นำเสนอผลงานวิชาการ หัวข้อ ชุมชนลดเสี่ยง ลดโรค บ้านสมสะอาด (โดยกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ของ Dr.Suksamai’s Health behavioral Development Pattern)ในเวทีแลกเปลี่ยน Better Practice Thailand Expo. ที่ BITEC บางนา กทม  (2-4 มีนาคม 2553)

*** ผู้บันทึก : นายมงคล โชตแสง

แบบฟอร์มกรอกข้อมูลแบบประเมินความสะอาดครัวเรือน รพ.สต.แร่ ปี 2554

คลิก เพื่อกรอกข้อมูล https://spreadsheets.google.com/viewform?hl=th&authkey=CO7_6OEO&pli=1&formkey=dE0tN1BvUmNsRFowR3RvR04waW4wN0E6MQ#gid=0

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

รายงานการคัดกรอง I-Risk ปี 2554

18 มกราคม 2554 [15:51:32] rae.tambon.hospital: ส่งพี่สุด....15 ปีขึ้นไป 4936  คัดกรอง 4669  ผลงาน offline 2102   online 0  เป้าหมายปรับเปลี่ยน 770 (ผลคัดกรอง ท้วม 614 +อ้วน 156)

วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

เป้าหมายเกษตรกร งานอาชีวอนามัย ปี 2554

เป้าหมายเกษตรกร งานอาชีวอนามัย ปี 2554
(โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแร่)
ชื่อหมู่บ้านหมู่ที่หลังคาเรือนประชากรเกษตรกรอสม.*เขตรับผิดชอบหมายเหตุ
แร่1149729373รพ.สต.แร่เคยดำเนินการปี 53
ด่านพัฒนา10169824423รพ.สต.แร่เคยดำเนินการปี 53
แร่14134636343รพ.สต.แร่เคยดำเนินการปี 53
สมสะอาด2179962443รพ.สต.แร่
หนองบัว42471295613รพ.สต.แร่
บะแต้578397193รพ.สต.แร่
หนองบัวหลวง11114625293รพ.สต.แร่
สมสะอาด12132764333รพ.สต.แร่
เจริญสุข1369348183รพ.สต.แร่
รวม1271658031727
* อสม. ผู้รับผิดชอบงานอาชีวอนามัย