จำนวนการดูหน้าเว็บรวม (เริ่มนับ พฤศจิกายน 2553)

วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การประชุมวิชาการเปิดบ้านวัตกรรม รพ.สต. เขตอีสานตอนบน We CAN DO everything

การประชุมวิชาการเปิดบ้านวัตกรรม รพ.สต. เขตอีสานตอนบน We CAN DO everything : “ระบบบริการปฐมภูมิก้าวหน้า การสาธารณสุขไทยก้าวไกล  ระหว่างวันที่ : 08/12/2553 - 09/12/2553  โรงแรมเซ็นทารา อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี

ดาวน์โหลดเอกสาร

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

รพ.สต.แร่ ร่วมจัดบูทนิทรรศการในงานตลาดนัดมหกรรมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ที่ อุบลราชธานี (2-3 ธ.ค.53)

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแร่ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร ได้รับเกียรติจาก สสจ.สกลนคร และศูนย์อนามัยที่ 7 อุบลราชธานี ให้เข้าร่วมจัดบูทนิทรรศการในงานตลาดนัดมหกรรมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ในระหว่างวันที่ 2-3 ธันวาคม 2553 ณ โรงแรมสุนีย์แกรนด์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี  (หัวข้อเรื่องนิทรรศการที่ รพ.สต.แร่ ไปร่วมจัดแสดง คือ การพัฒนารูปแบบการป้องกันภาวะขาดสารไอโอดีนแบบมีส่วนร่วมโดยชุมชน บ้านสมสะอาด  ตำบลแร่ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร ปีงบประมาณ 2553) ติดตามภาพกิจกรรม ที่นี่ เร็วๆนี้
-----------------------------------------
ศูนย์อนามัยที่ 7 อุบลราชธานี จัดงานตลาดนัดมหกรรมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ครั้งยิ่งใหญ่ (28/11/2010)
ศูนย์อนามัยที่ 7 อุบลราชธานี  จัดงานตลาดนัดมหกรรมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ครั้งยิ่งใหญ่  เพื่อสร้างเครือข่ายการส่งเสริมสุขภาพอนามัยที่ดีของประชาชน 
                นายแพทย์ดนัย  ธีวันดา  ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 7 อุบลราชธานี  กล่าวว่า  ศูนย์อนามัยที่ 7 อุบลราชธานี ร่วมกับภาคีเครือข่ายทั่วภาคอีสานจัดงานตลาดนัดมหกรรมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ครั้งยิ่งใหญ่ ในระหว่างวันที่  2 -3 ธันวาคม 2553  ณ โรงแรมสุนีย์แกรนด์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ภายใต้ชื่องาน  เพื่ออีสานพัฒนาอย่างยั่งยืน  ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม เป็นการเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการดำเนินงานหลากหลายรูปแบบ เช่น  การบรรยายทางวิชาการ การอภิปราย การแสดงนิทรรศการเรื่อง เทคนิคการจัดการมูลฝอย  การจัดการสิ่งปฏิกูล การเลี้ยงไส้เดือนดินกำจัดขยะอินทรีย์ กิจกรรมลดภาวะโลกร้อน การพัฒนาศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก การดูแลสุขภาพวัยรุ่น คนทำงาน และการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ  นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการผลงานเด่นจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายทั่วภาคอีสานทั้งภาครัฐและเอกชน กว่า 100 บูท
                ผลสำเร็จของการจัดงานตลาดนัดมหกรรมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ครั้งนี้ จะทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นทั้งระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ในการส่งเสริมสุขภาพประชาชนและแนวทางการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม จะทำให้ประชาชนมีสุขภาพดี มีการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมได้รับการประกาศเกียรติคุณและเผยแพร่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับหน่วยงานอื่น และเกิดกระแสสังคมในการขับเคลื่อนการส่งเสริมสุขภาพประชาชนและพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในทุกระดับ
****************************************
กรกช   ภูมี / สวท.อุบลฯ
สปข.2 รายงาน / 28 พ.ย. 53

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมโรงเรียน อสม. (28 พ.ย.2553)

กิจกรรมสำคัญ
     1. ออกกำลังกาย (วิ่งป่วนบ้านป่วนเมือง)


     2. กิจกรรมประชุม-แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ปรึกษาหารือ ประเด็นการจัดกิจกรรมผ้าป่าสามัคคี วัตถุประสงค์จัดสร้างศูนย์การออกกำลังกายและสร้างเสริมสุขภาพภาคประชาชนตำบลแร่ และสร้างที่ทำการชมรม อสม. ตำบลแร่)  มติที่ประชุม กำหนดจัดทำผ้าป่าสามัคคีในวันที่ 23-24 ธันวาคม 2553
          - 23 ธันวาคม 2553 กิจกรรมช่วงกลางวัน รวบรวมซองผ้าป่า ต้อนรับผู้มาร่วมทำบุญ / กิจกรรมช่วงเย็น มีกิจกรรมพาแลง มีดนตรีคบงันตามความเหมาะสม รำวงการกุศล
          - 24 ธันวาคม 2553 กิจกรรมช่วงเช้า นิมนต์พระสงฆ์ฉันอาหารเช้า ทำบุญตักบาตร พระสงฆ์อนุโมนา รวบรวมปัจจัยเพื่อทำบุญตามวัตถุประสงค์ต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมพัฒนาแกนนำนักเรียนในการส่งเสริมการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนในโรงเรียนบ้านสมสะอาด

กิจกรรมพัฒนาแกนนำนักเรียนในการส่งเสริมการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนในโรงเรียนบ้านสมสะอาด








วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสารไอโอดีนแก่นักเรียน

  2. เพื่อฝึกทักษะการทดสอบคุณภาพเกลือเสริมไอโอดีนด้วยชุดตรวจ I-kit
  3. เพื่อให้เด็กนักเรียนได้รับสารไอโอดีนที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายอย่างต่อเนื่อง
  4. เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การใช้เกลือเสริมไอโอดีนให้ครอบคลุมทุกกลุ่มวัย

กิจกรรมที่ดำเนินการ
1. ให้ความรู้เกี่ยวกับสารไอโอดีน (ความหมาย ประโยชน์ ผลที่เกิดจากการขาดสารไอโอดีน)

2. ฝึกปฏิบัติทดสอบคุณภาพเกลือเสริมไอโอดีนด้วยชุดตรวจ I-kit เพื่อรู้ชนิดของเกลือที่มีคุณภาพ





3. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์  (ป้ายประชาสัมพันธ์ในโรงเรียน / แนะนำผู้ปกครองให้ใช้เกลือเสริมไอโอดีนเป็นประจำ)
4. ส่งเสริมการใช้เกลือเสริมไอโอดีนเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหารในโรงเรียน โดยผู้ประกอบอาหาร (แม่ครัว) ที่ทำอาหารกลางวันให้นักเรียน ให้ใช้เกลือเสริมไอโอดีนทุกครั้งในการปรุงอาหาร รวมทั้งการสนับสนุนการใช้น้ำไอโอดีน สำหรับผสมในน้ำดื่ม 2 หยด ต่อน้ำ 10 ลิตร
5. พัฒนาแกนนำนักเรียนชั้น ป.4-5-6 ให้มีศักยภาพในการเป็น อย.น้อย ปฏิบัติงานร่วมกับ อสม.ในหมู่บ้าน ในการคุ้มครองผู้บริโภค โดยเฉพาะการร่วมกิจกรรมกับ อสม.ในหมู่บ้าน ในการทดสอบคุณภาพเกลือเสริมไอโอดีนด้วยชุดทดสอบ I-Kit

การประเมินผล / ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของสารไอโอดีน
  2. นักเรียนสามารถทดสอบคุณภาพเกลือเสริมไอโอดีนด้วยชุดตรวจ I-kit เพื่อรู้ชนิดของเกลือที่มีคุณภาพได้
  3. นักเรียนสามารถแนะนำผู้ปกครองให้ใช้เกลือเสริมไอโอดีนที่มีคุณภาพได้อย่างถูกต้อง
  4. ผู้ประกอบอาหาร (แม่ครัว) ที่ทำอาหารกลางวันให้นักเรียน มีการใช้เกลือเสริมไอโอดีนทุกครั้งในการปรุงอาหาร
  5. แกนนำนักเรียนชั้น ป.4-5-6 มีศักยภาพในการเป็น อย.น้อย ปฏิบัติงานร่วมกับ อสม.ในหมู่บ้าน ในการคุ้มครองผู้บริโภค โดยเฉพาะการร่วมกิจกรรมกับ อสม.ในหมู่บ้าน ในการทดสอบคุณภาพเกลือเสริมไอโอดีนด้วยชุดทดสอบ I-Kit ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กิตติกรรมประกาศ
    ขอขอบพระคุณผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสมสะอาด คณะครูโรงเรียนบ้านสมสะอาด และนักเรียนทุกคน ที่ร่วมมือร่วมใจกันในการจัดกิจกรรมนี้ร่วมกับทีมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแร่ ส่งผลให้กิจกรรมนี้ประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง

โรงเรียน อสม. ตำบลแร่ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร

โรงเรียน อสม. ตำบลแร่ (เขต รพ.สต.แร่)
อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร

วัตถุประสงค์
1.       ส่งเสริมการเรียนรู้ของ อสม.และชุมชนจากกิจกรรม
-   การวิ่งป่วนบ้านป่วนเมือง
-   การทำความสะอาดครัวเรือน
-   การโสเหล่ / แลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็น
2.       ส่งเสริมให้ อสม. กล้าคิด กล้าทำ และเป็นผู้นำด้านสุขภาพที่มีคุณภาพ
-   ส่งเสริมให้คนที่ทำงานดีแต่ไม่ค่อยกล้าพูด ได้พูด
-   ส่งเสริมให้คนที่พูดดีแต่ไม่ค่อยได้ทำงาน ได้ทำงาน
-   ส่งเสริมให้คนที่ทำดีพูดดี ได้แสดงออกโดยการถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้เรียนรู้อย่างเป็นระบบโดยมีการใช้สื่อการเรียนรู้อย่างเหมาะสม
3.       ส่งเสริมให้ อสม. ได้เพิ่มพูนความรู้และได้รับการพัฒนาศักยภาพ
-   ตามความต้องการของ อสม.
-   ตามความต้องการของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
-   ตามนโยบายของภาครัฐ
      4. ส่งเสริมการจัดทำชุดความรู้จากประสบการณ์การทำงานของ อสม. และสร้างนวัตกรรมชุมชน เพื่อถ่ายทอดสู่กลุ่มเป้าหมายได้ง่ายและครอบคลุม

ขั้นตอนการดำเนินงาน
1.       ประชุม อสม. คัดเลือกและแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโรงเรียน (ประกอบด้วยผู้แทน อสม.จากทุกหมู่บ้าน)
2.       จัดตั้งโรงเรียนและจัดหาองค์ประกอบด้านวัสดุครุภัณฑ์ที่จำเป็นตามความเหมาะสม (สถานที่เรียน ป้ายโรงเรียน กระดานดำ หรือกระดานไวท์บอร์ด เก้าอี้ ป้ายแสดงข้อมูลต่างๆ) โดย คณะกรรมการบริหารโรงเรียนและ อสม.ทุกคน โดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นพี่เลี้ยง
3.       คณะกรรมการบริหารโรงเรียน ร่วมกับ จนท.สาธารณสุข ดำเนินการประชุม อสม. เพื่อค้นหาศักยภาพและโอกาสพัฒนาของ อสม. นำข้อมูลที่ได้ไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการกำหนดแนวปฏิบัติร่วมกันในการจัดกิจกรรมในโรงเรียน อสม.
4.       ดำเนินการตามแนวปฏิบัติที่ได้กำหนดไว้ เดือนละ 1 ครั้ง
5.       สรุป ประเมินผล และวางแผนการการดำเนินกิจกรรมครั้งต่อไปโดยคณะกรรมการบริหารโรงเรียนร่วมกับ จนท.สาธารณสุข เดือนละ 1 ครั้ง
6.       คณะกรรมการบริหารโรงเรียน ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในการสกัดความรู้จากการดำเนินกิจกรรมงานสาธารณสุขในพื้นที่ของ อสม. ที่ประสบผลสำเร็จและไม่ประสบผลสำเร็จ จัดทำเป็นเอกสารสรุปสาระสำคัญเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนต่อไป (สกัดความรู้จากเวทีโสเหล่ และเวทีพูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์)
7.       อสม. แต่ละคน เสนอความต้องการที่จะเพิ่มพูนความรู้ของตนเองในด้านต่างๆ รวบรวมความต้องการที่ได้มาจัดหมวดหมู่ และจัดลำดับความสำคัญ จัดหลักสูตรเพื่อให้ความรู้ตามลำดับความสำคัญ โดย อสม. จนท.สาธารณสุข หรือบุคลากรอื่นๆ ตามความเหมาะสม
8.       เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจัดทำหลักสูตร หรือชุดความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่และต้องการให้ อสม.ได้รับความรู้เพิ่มเติม หรือมีทักษะในเรื่องดังกล่าวมากขึ้น
9.       เจ้าหน้าที่สาธารณสุขส่งเสริมและสนับสนุนการให้ความรู้แก่ อสม. ในประเด็นที่เป็นนโยบายของรัฐบาล
คณะกรรมการบริหารโรงเรียน อสม.
                คณะกรรมการที่ปรึกษา
1.       รศ.(พิเศษ) ทพ.ดร.สุขสมัย สมพงษ์ (นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ สสจ.สกลนคร)
2.       นายวรรณกร เล่าสุอังกูร (ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพังโคน)
3.       นายแสวง พิมพ์สมแดง (สาธารณสุขอำเภอพังโคน)
4.       นางครสวรรค์ สุพัฒนานนท์ (นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแร่)
5.       นางสุพรรณี  หน่อแก้ว (ผอ.รพ.สต.แร่)
คณะกรรมการบริหารโรงเรียน อสม.
1.       นายสุพัฒ  ฮ้อเถาว์   (ผู้อำนวยการโรงเรียน อสม.)
2.       นายสมานชัย  ลีทอง  (รองผู้อำนวยการโรงเรียน อสม.)
3.       นางสุภาภรณ์  หอมดี  (เลขานุการ)
4.       นายดนตรี  แสนจันทร์  (ผู้ช่วยเลขานุการ)
5.       นางลาวัลย์  สัพโส (คณะกรรมการ) ผู้แทน อสม. หมู่ 1
6.       นางอำไพ  ชาติชำนิ (คณะกรรมการ) ผู้แทน อสม. หมู่ 2
7.       นายประนอม แสนมี (คณะกรรมการ)  ผู้แทน อสม. หมู่ 4
8.       นายปอวิน  แม่จอง  (คณะกรรมการ) ผู้แทน อสม. หมู่ 5
9.       นางวัลย์เพ็ญ  ลีทอง (คณะกรรมการ) ผู้แทน อสม. หมู่ 10
10.    นายชาญ  คุยบุตร (คณะกรรมการ) ผู้แทน อสม. หมู่ 11
11.    นางนภาพร  มีศักดิ์(คณะกรรมการ) ผู้แทน อสม. หมู่ 12
12.    นางสมบัติ  พันโสรี (คณะกรรมการ) ผู้แทน อสม. หมู่ 13
13.    นางขวัญจิต  โพนทอง (คณะกรรมการ) ผู้แทน อสม. หมู่ 14

ศูนย์การออกกำลังกายและสร้างเสริมสุขภาพภาคประชาชนตำบลแร่

ศูนย์การออกกำลังกายและสร้างเสริมสุขภาพภาคประชาชนตำบลแร่

หลักการและเหตุผล / ความสำคัญและความเป็นมา
วัตถุประสงค์
ขั้นตอนการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงาน

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลแร่

*** อยู่ระหว่างการจัดทำข้อมูล*************

ประธานชมรม อสม.ตำบลแร่ (...............................................)

เยี่ยมบ้าน ดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุ แม่และเด็กหลังคลอด

เยี่ยมบ้าน ดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุ แม่และเด็กหลังคลอด









การคัดเลือกอาสาสมัครสาธารณสุขดีเด่น ประจำปี 2554

การคัดเลือกอาสาสมัครสาธารณสุขดีเด่น ประจำปี 2554 จำนวน 12 สาขา
1. สาขาการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ  2. สาขาสุขภาพจิตในชุมชน
  3. สาขาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน  4. สาขาการบริการสุขภาพใน ศสมช.  5. สาขาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ  6.สาขาการแพทย์แผนไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ  7. สาขาการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในชุมชน  8. สาขาการส่งเสริมสุขภาพ  9. สาขาการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ  10.  สาขาการจัดการสุขภาพชุมชน  11.  สาขานมแม่ สายใยรักแห่งครอบครัว 12. สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม


-----------
ให้คณะกรรมการคัดเลือก อสม.ดีเด่นระดับอำเภอ  ดำเนินการคัดเลือก อสม.ดีเด่นระดับอำเภอๆละ  12  สาขา   ให้เสร็จภายในวันที่  8 ธันวาคม  2553  และแจ้งผลการคัดเลือกให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร ภายในวันที่  9 ธันวาคม  2553

 แนวทางการสรรหาและคัดเลือกอาสาสมัครสาธารณสุขดีเด่น
จังหวัดสกลนคร  ประจำปี 2554
**********************
แบ่งการดำเนินการเป็น 9 ข้อดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประเภทและคุณสมบัติของอาสาสมัครสาธารณสุขที่จะได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขดีเด่น
                    -  เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่ 18 อำเภอ  หมายถึง อาสาสมัครสาธารณสุขที่ได้รับการอบรมตามหลักสูตรของกระทรวงสาธารณสุขและปฏิบัติหน้าที่อสม. ในหมู่บ้านหรือชุมชน ติดต่อกันเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 7 ปี
ข้อ 2 สาขาการคัดเลือกอาสาสมัครสาธารณสุขดีเด่น   จำนวน  12  สาขา ได้แก่
2.1 สาขาการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
2.2 สาขาสุขภาพจิตในชุมชน
2.3 สาขาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน
2.4 สาขาการบริการสุขภาพใน ศสมช.
2.5 สาขาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
2.6 สาขาการแพทย์แผนไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ
2.7 สาขาการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในชุมชน
2.8 สาขาการส่งเสริมสุขภาพ
2.9 สาขาการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ
2.10  สาขาการจัดการสุขภาพชุมชน
   2.11  สาขานมแม่ สายใยรักแห่งครอบครัว
   2.12  สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม
ข้อ 3 เป้าหมายการคัดเลือกอาสาสมัครสาธารณสุขดีเด่น
                 (1) กำหนดการคัดเลือกเป็น 6 ระดับๆละ 12 สาขาๆละ  1 คน  ดังนี้
                          1.1  ระดับตำบล  จำนวน   125 ตำบล อย่างน้อยตำบลละ 1  สาขา  
                          1.2 ระดับอำเภอ  จำนวน     18 อำเภอๆละ  12 สาขา
                          1.3 ระดับจังหวัด  จำนวน  12  สาขาๆละ 1  คน  
                 (2) อสม.ดีเด่นระดับจังหวัด จำนวน  12  สาขาละ 1 คน ต้องเป็นตัวแทนของจังหวัดสกลนคร เข้ารับการคัดเลือกในระดับเขต/ภาค ในช่วงเดือนมกราคม 2554
                (3) หากสาขาใดได้รับคัดเลือกให้เป็น อสม.ดีเด่น ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  จะต้องเตรียมพื้นที่และชุมชน เพื่อรอรับการคัดเลือกในระดับชาติ ต่อไป

ข้อ 4 เกณฑ์การคัดเลือกอาสาสมัครสาธารณสุขดีเด่น
                    (1) หลักเกณฑ์การคัดเลือกอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.)ดีเด่น ระดับจังหวัด โดยพิจารณาจากหลักเกณฑ์เบื้องต้น  หลักเกณฑ์ความรู้ความสามารถ รายละเอียดตามเอกสารหลักเกณฑ์การคัดเลือกประจำปี 2554
       ข้อ 5 การสรรหาอาสาสมัครสาธารณสุขดีเด่น
(1)ขอความร่วมมือจากหน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พิจารณาคัดเลือกและเสนอชื่ออาสาสมัครสาธารณสุขผู้สมควรได้รับการคัดเลือก
                ข้อ 6 คณะกรรมการการคัดเลือกอาสาสมัครสาธารณสุขดีเด่น ให้มีคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกอาสาสมัครสาธารณสุขดีเด่นในแต่ละระดับ ดังต่อไปนี้
(1) คณะกรรมการกลางพิจารณาคัดเลือก อสม.ดีเด่นระดับตำบล ประกอบด้วยหัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (นายกอบต. /เทศบาล) ประธานชมรมอสม. อสม.ดีเด่น องค์กรเอกชน องค์กรชุมชนหรือเครือข่ายภาคประชาชน หรือผู้แทน
(2) คณะกรรมการกลางพิจารณาคัดเลือก อสม.ดีเด่นระดับอำเภอ ประกอบด้วยหัวหน้า ส่วนราชการ ท้องถิ่นอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประธานชมรมอสม.ระดับอำเภอ
อสม.ดีเด่น องค์กรเอกชน องค์กรชุมชนหรือเครือข่ายภาคประชาชน หรือผู้แทน
                (3) ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการกลางพิจารณาคัดเลือกระดับจังหวัด
        ข้อ 7 การดำเนินการคัดเลือกอาสาสมัครสาธารณสุขดีเด่น
                   ให้คณะกรรมการแต่ละระดับดำเนินการคัดเลือกเสนอชื่อพร้อมรายละเอียดผลงาน ต่อสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร ตามระยะเวลาที่กำหนด ดังนี้
                ระดับตำบล       ภายในเดือนพฤศจิกายน  2553
                ระดับอำเภอ   ภายในวันที่  8  ธันวาคม  2553
ระดับจังหวัด  ระหว่างวันที่  14-17  ธันวาคม  2553   ดังนี้
วันที่ 14 ธันวาคม 2553   จำนวน  3  สาขา  ดังนี้
1.  สาขาการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
2.  สาขาสุขภาพจิตในชุมชน (สุขภาพจิตและผู้พิการ)
3.  สาขาการส่งเสริมสุขภาพ
วันที่  15  ธันวาคม  2553  จำนวน  3  สาขา  ดังนี้
1.  สาขาการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในชุมชน
2.  สาขาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน
3.   สาขาการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ
                       วันที่  16  ธันวาคม  2553  จำนวน  3  สาขา  ดังนี้
1.  สาขา การบริการสุขภาพใน ศสมช.
2.  สาขาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
3.  สาขานมแม่ สายใยรักแห่งครอบครัว
วันที่  17  ธันวาคม  2553  จำนวน  3  สาขา  ดังนี้
1.  สาขา การจัดการสุขภาพ
2.  สาขา การแพทย์แผนไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ
3.  สาขา อนามัยสิ่งแวดล้อม

ข้อ 8  รูปแบบการนำเสนอผลงานดีเด่น
เวทีนำเสนอผลงานดีเด่น เป็นเวทีแห่งการเรียนรู้ มิได้มุ่งแข่งขันเพื่อการเอาชนะเหนือคนอื่น แต่มุ่งเสนอบทเรียนที่ดีที่จะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อน อสม. และประชาชนทั่วไป ดังนั้น เวทีนี้จึงเป็นเวทีที่เปิดเผย ทุกคนสามารถเข้ารับฟังการนำเสนอผลงานได้ตลอดเวลา  การคัดเลือกจะดำเนินการเพียงรอบเดียวไม่มีการลงดูพื้นที่ การให้คะแนนจะพิจารณาจากองค์ประกอบ   4  ส่วน  ดังนี้
8.1          จากเอกสารรายงาน (30 คะแนน) โดยพิจารณาจากความถูกต้อง ครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด (ดังรายละเอียดตามเกณฑ์การให้คะแนน) ความถูกต้องทางวิชาการ การใช้ภาษา การสื่อความหมาย  ภาพประกอบผลงานเชิงประจักษ์  เอกสารรูปเล่ม สาขาละ 7 เล่ม
8.2      จากนิทรรศการ ( 20 คะแนน) โดยพิจารณาจากเนื้อหาของนิทรรศการที่แสดงถึงผลงานของ อสม.และหมู่บ้าน/ชุมชนที่ทำให้เกิดการเรียนรู้และกระบวนการพัฒนาในสาขาที่คัดเลือก มีนวัตกรรมสุขภาพตามสาขาที่คัดเลือก วิธีการนำเสนอที่น่าสนใจและถูกต้องทางวิชาการ รวมทั้งการตอบข้อซักถาม
8.3      จากการนำเสนอผลงานด้วยวาจา( 40 คะแนน) โดยพิจารณาจากผลงานและภาพกิจกรรมเชิงประจักษ์ด้วยโปรแกรม Power point  เวลานำเสนอและตอบข้อซักถาม คนละ 20 นาที (นำเสนอ 15 นาที ซักถาม 5 นาที)  โดยมีการเตือน ณ นาทีที่  13 ก่อน เมื่อครบ 15 นาที ต้องยุติการนำเสนอทันที  แล้วจะมีการซักถามอีก 5 นาที การให้คะแนนจะพิจารณาจากความเหมาะสมของสื่อที่ใช้  การนำเสนอ  ปฏิภาณไหวพริบและการตอบคำถามที่แสดงถึงความเข้าใจในกิจกรรมที่ทำ
8.4      จากตัวบุคคล(10 คะแนน)  โดยพิจารณาจากบุคลิกภาพ  การพูด  การแต่งกาย และการแสดงความคิดเห็น การครองตน ครองคน และครองงาน

ข้อ 9 รางวัล   อสม. ดีเด่น มีสิทธิ์รับรางวัลสูงสุดเพียงรางวัลเดียว
จากชมรม อสม.จังหวัดสกลนคร
(1)        เงินรางวัลแก่ อสม.ดีเด่นระดับจังหวัด สาขาละ  2,000 บาท 
จาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร
        (1 ) เงินรางวัลพร้อมโล่สำหรับหมู่บ้านจัดการสุขภาพดีที่มีนวัตกรรมด้านสาธารณสุขมูลฐานดีเด่นระดับจังหวัด  จะประกาศให้ทราบต่อไป
(2) ใบประกาศเกียรติคุณ แก่ อสม.ดีเด่น ในระดับตำบล และ อำเภอ 
(3) โล่รางวัลแก่ อสม.ดีเด่นระดับจังหวัด

จาก เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 11
(1) โล่รางวัลแก่ อสม.ดีเด่นระดับเขต

จาก กระทรวงสาธารณสุข
(1) จัดให้มีการมอบรางวัลแก่ อสม. ดีเด่น ในระดับตำบล ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด ระดับเขต และระดับชาติประจำปี 2554 โดยจะประกาศให้ทราบต่อไป
        (2) อสม.ดีเด่นระดับชาติที่จะมีสิทธิได้รับการเสนอชื่อขอรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จะต้องเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานในฐานะ อสม.ไม่ต่ำกว่า 7 ปี
        (3) พิธีรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และรับรางวัลอาสาสมัครสาธารณสุขดีเด่นประจำปี 2554  เนื่องในวันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ โดยจะประกาศให้ทราบต่อไป


************************